การศึกษาเพื่ออนุรักษ์อาคารที่พักอาศัย บริเวณถนนสุขาภิบาล อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

Other Title:
The study for conservation of building on Sukaphiban street Amphoe Muang Changwat Chanthaburi
Author:
Subject:
Date:
1991
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเพื่ออนุรักษ์อาคารที่พักอาศัย บริเวณถนนสุขาภิบาล อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี นี้มีจุดหมายที่จะศึกษาถึงเรื่องราวของประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชุมชน และเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของภาคตะวันออกและจังหวัดจันทบุรี พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการอนุรักษ์ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ทางด้านต่าง ๆ โดยอาศัยวิธีการศึกษาค้นคว้าทั้งจากข้อมูลทางเอกสารประเภทต่าง ๆ และการศึกษาทางด้านกายภาพของอาคารทางด้านสถาปัตยกรรม ณ บริเวณพื้นที่โดยตรง โดยศึกษาอาคารบริเวณย่านถนนสุขาภิบาลทั้งหมด นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ อ้างอิง เพื่อนำไปสู่การสรุปสุดท้าย
จากการวิจัยพบว่า ประวัติศาสตร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่กำหนดรูปแบบทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเริ่มตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชุมชน ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อบริเวณพื้นที่และรูปแบบสถาปัตยกรรม
การตั้งถิ่นฐานของชุมชนนั้น ประกอบด้วยชนชาติจีนและญวนที่เข้ามามีบทบาทในบริเวณพื้นที่แห่งนี้ ชาวจีนได้เป็นผู้สร้างลักษณะรูปแบบของชุมชนโดยสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการค้าขายของตน พร้อมทั้งรูปแบบทางด้านสถาปัตยกรรมอาคารทรงจีนโบราณที่ได้นำเข้ามา ในขณะเดียวกันชาวญวนก็เป็นส่วนหนึ่ง โดยนำเอาศาสนาคริสต์และศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้ามาสู่บริเวณพื้นที่ ถึงแม้จะมีศาสนาพุทธนิกายหินยานอยู่บ้างก็ตาม แต่ทั้งสองศาสนาก็เป็นเสมือนบรรทัดฐานของสังคม ที่ได้หลอมรวมเอาชาวจีนและชาวญวนเข้าไว้ด้วยกันในชุมชนแห่งนี้
เหตุการณที่เกิดขึ้นทางด้านประวัติศาสตร์มีผลกระทบโดยตรงต่อบริเวณพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหตุการณ์ ร.ศ.112 ฝรั่งเศสยึดเมืองเมืองจันทบุรีเป็นระยะเวลานานถึง 11 ปีนั้น มีส่วนทำให้สถานภาพทางสังคม ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไปบ้างและมีลักษณะของอาคารแบบตะวันตกเกิดขึ้น
ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ
1. รูปแบบสถาปัตยกรรมในยุคเริ่มแรกของการตั้งถิ่นฐาน มีลักษณะเป็นอาคารชั่วคราว
2. รูปแบบอาคารทรงจีนโบราณ เกิดจากการพัฒนารูปแบบเพื่อให้เหมาะกับสภาพของครอบครัว
และสถานภาพของสังคม
3. รูปแบบอาคารฝรั่ง เกิดจากอิทธิพลของฝรั่งเศสที่เข้ามาในดินแดนนี้
4. รูปแบบอาคารเรือนไม้ ที่เกิดขึ้นในยุคหลังจนถึงปัจจุบัน
รูปแบบทางด้านสถาปัตยกรรมทั้ง 4 รูปแบบนั้น นอกจากจะมีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์แล้ว ยังมีความสัมพันธ์ต่อย่านบริเวณพื้นที่และเมือง นับได้ว่าเป็นคุณค่าของบริเวณพื้นที่หรือเป็นถนนสายประวัติศาสตร์ สายแรกของเมืองจันทบุรีที่มีความสมบูรณ์ ทั้งบริเวณถนนเก่าและคุณค่าทางด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ประกอบเป็นลักษณะของย่านหรือถนนที่มีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ เท่าที่ปรากฏเหลืออยู่และคงสภาพความสมบูรณ์ไว้มากที่สุดในระดับภาคตะวันออก ก็จะพบได้ที่เมืองจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น จึงนับได้ว่ามีคุณค่าในระดับภาคและจังหวัด ควรค่าแก่การอนุรักษ์
ในการเสนอแนวทางอนุรักษ์นั้น ได้เล็งเห็นแนวทางการพัฒนาที่จะมีผลกระทบโดยตรงในด้านการอนุรักษ์ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ จึงได้ทำการศึกษานโยบายต่าง ๆ ของท้องถิ่นที่มีผลบังคับใช้อยู่ ไม่ว่าจะเป็นเทศ-บัญญัติเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคาร หรือนโยบายการอนุรักษ์แม่น้ำจันทบุรี ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อการอนุรักษ์โดยตรง ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน ถ้าจะเล็งเห็นคุณค่าของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและย่านบริเวณถนนสุขาภิบาล ซึ่งเป็นถนนสายเริ่มแรกของจังหวัดจันทบุรี โดยการออกกฎหมายเพิ่มเติมตามที่ได้เสนอแนวทางไว้ ก็จะรักษามรดกทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติอีกแห่งหนึ่ง The study for Conservation of Residential Buildings on Sukaphiban Street, Amphoe Muang, Chanthaburi Province is aimed at studying the historical accounts about the settlement of the community and other events in its history that has had a direct impact on historic buildings existing today. These historic buildings shown a typical characteristic of Eastern Thai religion especially in the Chanthaburi Province. In addition, this study proposes possible guidelines is their conservation, in order to retain their cultural value and funtional value. The methods used in this study are based on available documentation and the field inspection on the buildings. That information is analyzed on a comparatives basis and finally the conclusion written.
The research, found that the history of the settlement is on important factor that determined the feature of architecture and the pattern of the community.
The population of the community is comprised of two majority ethnic groups. These are the Chinese and Vietnamese people which played an important role in this area. The Chinese were the people who created the characteristic of the community reflecting their culture of trade and the ancient Chinese architecture which was brought in with them. Whereas, the Vietnamese believed in Roman Catholicisism and Buddhism both the Mahayan sect and Hinayan sect. However, all religions homogeneously united the Chinese and the Vietnamese.
The events in history that had the direct impact on the area, was the conflict between Siam and French in Ratanakosin year 112. Consequently the French captured Chanthaburi Province for 11 years. The situation moderately changed the condition of the people’s way of live as well as gave rise to some degrees of variation on the western style architecture.
Thus the architectural features can be classified into 4 types.
1. The aechitecture at the beginning of the settlement which has the characteristic of
temporary buildings.
2. The Chinese type which has some degree of variation from those Classical Chinese architecture and has developed to suit the condition of living in Siam.
3. The European architecture which arose from the influence of the French in the region.
4. The wooden buildings which were built in later periods up to the present.
All the four types of architecture is important not only in its architectural and historical value but are also the value related to the building compound and the townscape. In addition the Sukaphiban street, is as valuable as the buildings is it historic value as the very first commercial street in Chanthaburi and the eastern region, which is still exited in such a good condition.
At present a drastic development which would effect the area is expectable. Therefore a conservation guideline is proposed. This is resulted from the study of local authority’s regulations on the protection of buildings and rivers and any other local policies useful for conservation. All of information is re-unified and a possible conservation policy for the area is set up without regardless to the positive development of the area.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1991)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
126