การศึกษาวิหารล้านนาในสมัยการปกครองของเชื้อสายตระกูลเจ้าพ่อเจ็ดตน (พ.ศ. 2317 - 2442) ในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน

Other Title:
The study of Lanna Vihara in the Period of Chao Chet Thon (1774-1899 A.D) in Chaing Mai, Lampang and Lumphun
Author:
Subject:
Date:
1997
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษางานสถาปัตยกรรรมวิหารล้านนาในสมัยการปกครองของตระกูลเจ้าเจ็ดตน มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงรูปแบบของวิหารที่ปรากฏขึ้นในวัฒนธรรมล้านนาในช่วงสมัยที่ตระกูลเจ้าเจ็ดตนได้ทำการสถาปนาอำนาจ และมีบทบาททางการเมืองการปกครอง หรือในช่วงระยะเวลาที่ล้านนาตกเป็นเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ พ. ศ. 2317-2442 ในเฉพาะพื้นที่ จ. เชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ซึ่งสายตระกูลเจ้าเจ็ดตนได้มีอำนาจการปกครอง โดยได้เลือกกำหนดตัวแบบที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้น 15 หลัง ทั้งนี้ได้พิจารณาจากอายุสมัยในการก่อสร้างหรือการเทียบเคียงจากงานศิลปกรรมที่สามารถจะคาดคะเนอายุได้ เป็นเกณฑ์ โดยศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม กล่าวคือ
1. การศึกษาถึงประวัติศาสตร์ในยุคสมัยของตระกูลเจ้าเจ็ดตน ซึ่ง ถือเป็นยุคสมัยแห่งการฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีความบริบูรณ์รุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกำหนดรูปแบบของวิหารล้านนา
2. การศึกษาถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวิหารล้านนาในอดีต
3. การศึกษาถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของวิหารล้านนาที่สร้างในสมัยการปกครองของตระกูลเจ้าเจ็ดตน
ผลของการศึกษาปรากฏรูปแบบที่เป็นลักษณะเด่นตามการกำหนดของพื้นที่เป็นสำคัญแบ่งได้เป็น
1. วิหารแบบเชียงใหม่ มีลักษณะเด่นที่ปรากฏคือ การนิยมลดความกว้างผังพื้นของอาคารเป็นช่วง ๆ ในลักษณะลดหลั่นกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ซึ่งจะสัมพันธ์กับจังหวะการซ้อนชั้นของหลังคา อาคารนิยมตั้งอยู่บนฐานสูง ทำให้รูปทรงโดยรวมสูงเพรียว อ่อนช้อย มากกว่ารูปแบบของวิหารกลุ่มอื่น ๆ
2. วิหารแบบลำปาง นิยมผังอาคารในรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีลักษณะเด่นที่เป็นการอ้างอิงจากรูปทรงของวิหารโถงแบบลำปางแต่ดั้งเดิม แต่ที่เปลี่ยนแปลงไปคือ การทำผนังเป็นเครื่องปิดล้อมอาคาร รูปทรงโดยรวมนั้นนิยมตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ อาคารจึงดูเตี้ยแจ้ หลังคาคลุมต่ำ เกิดปริมาตรของรูปทรงที่เป็นมวลหนัก-แน่น อาคารมีความกว้างของชื่อหลวง (ชื่อประธาน) มากกว่าแบบเชียงใหม่ อาคารจึงดูผายกว้างมากกว่า ส่วนรูปทรงหลังคานิยมการซ้อนชั้นเช่นเดียวกับแบบเชียงใหม่ แต่ระนาบของหลังคาเป็นเส้นตรง ไม่อ่อนโค้ง ทำให้เกิดความรู้สึกที่แข็งกระด้าง เป็นลักษณะที่แตกต่างจากแบบเชียงใหม่อย่างชัดเจน
3. วิหารแบบลำพูน มีลักษณะเฉพาะคือ ลักษณะผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า นิยมการมีพื้นที่ระเบียงทางด้านหน้า อาคารตั้งอยู่บนฐานเตี้ย ๆ การช้อนชั้นของหลังคามีจำนวนน้อยกว่าแบบเชียงใหม่และแบบลำปาง
รูปแบบที่ปรากฏทั้ง 3 แบบตามเขตพื้นที่นั้น วิหารแบบเชียงใหม่และแบบลำปางเป็นรูปแบบของวิหารที่ยังคงยึดถือรูปแบบที่เคยมีมาในอดีต แต่นำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตามความนิยม หรือเหตุปัจจัยอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น ส่วนวิหารแบบลำพูนมี ข้อกำหนดจากความนิยมของกลุ่มชาติพันธุ์ อันได้แก่ กลุ่มชาวยองที่ได้อพยพโยกย้ายเข้ามาเป็นสำคัญ This study of the 15 samples of Lanna viharas in the area of Chaing Mai, Lampang and Lumphun provinces aims to identify Lanna architecture, existing during 1774 1899 A.D when the area was being govemed by the Chao Chet Thon dynasty and concurrently, was being colonized by the Siam kingdom.
These studies of Lanna viharas have been analysed in terms of their construction periods and the comparison between the samples being studied and the identifiably – aged ancient architecture. The followings are areas under study :
1. To study the historical perlod of the Chao Chet Thon dynasty and the possible impacts to the change of Lanna vihara designing
2. To study the architecture of Lanna viharas in the past
3. To study the architecture of Lanna viharas in the reign of the Chao Chet Thon dynasty
The studies of the 15 Lanna viharas significantly reveal three planning designs in Lanna - viharas architecture :
1. Chaing Mai Viharas The reduction of floor space is the outstanding appearance in the Chiang Mai vihara design. The front and back parts of the floor space are narrowed in to yhe length of the space between the first and second poles of the same row. There is also the correlation between the reduction of the floor space width and the increase of tiers on the roofs. There are three-tiered roofs in the front of the vihara and two - tiered at the back. Chaing Mai Viharas are constructed on high bases. This gives them a lean and graceful look more than other types of viharas .
2. Lampang Viharas The Lampang viharas are usually in a rectangle shape. The design of architecture descends from the Lampang traditional open pavillion. However, the Lampang viharas are closed buildings with the thick wall all around. They are constructed on low bases, and so the appearance of the Lampang viharas is short heavy solid built. Apart from this, the beams of the Lampang viharas are generally longer than the Chaing Mai Viharas . This makes the Lampang Viharas wider than the Chaing Mai Viharas . Lampang Viharas have tiered roofs, similar to those of Chaing Mai Viharas . The roofs are straight, not curved , so the Lampang Viharas appear solid and firm, different from the Chaing Mai Viharas.
3. Lumphun Vihara Lumphun Viharas are also in a rectangle shape Lumphun Vihara are distinguishedly characterized by its fore veranda. Lumphun Viharas are usually buit on low bases . The roofs of the Lumphun Viharas have fewer tiers than those of the Chiang Mai and Lampang Viharas .
It can be indicated that, within these three Lanna vihara designs , catagorized according to their neighbouring location, the Chiang Mai and Lampang viharas were the descendants of the past architecture. However, the current trend of popularity and other contemporaneous factors also effected the architecture of the Chiang Mai and Lampang viharas . The design of Lumphun viharas was under the influence of the ethnic Yong, migrating into Lumphun area at that time.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1997)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
140
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การกินเจเดือน 9 : ความเชื่อและการดูแลสุขภาพ
Collection: Theses (Master's degree) - Sanskrit / วิทยานิพนธ์ - ภาษาสันสกฤตType: Thesisนัยนา เล็กสุธี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004) -
เสถียรธรรมสถาน : พื้นที่ทางความคิด แหล่งพึ่งพิงทางใจ สำหรับคนเมือง
Collection: Theses (Master's degree) - Sanskrit / วิทยานิพนธ์ - ภาษาสันสกฤตType: Thesisดุษฎี วิวรรธนาภิรักษ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004) -
ร่องรอยพุทธศาสนาสมัยทวารวดีบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสักศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีประเภทศิลปกรรมและจารึก
Collection: Theses (Master's degree) - Historical Archaeology / วิทยานิพนธ์ – โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์Type: Thesisพงษ์ศักดิ์ นิลวร; Pongsak Nilavorn (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่พบในเมืองโบราณสมัยทวารวดีบริเวณลุ่มแม่น้ำลพบุรี-ป่าสัก ว่าได้รับอิทธิพลมาจากแหล่งใดบ้าง ตลอดจนศึกษาถึงคติความเชื่อในพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ จากหลักฐานทางโบร ...