การศึกษารูปแบบหอไตรในวัฒนธรรมล้านนา

Other Title:
The study of the Tripitaka hall style in Lanna culture
Author:
Subject:
Date:
1999
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษางานสถาปัตยกรรมหอไตรในวัฒนธรรมล้านนา มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงรูปแบบหอไตรที่สร้างขึ้นในล้านนา ช่วงเวลาพ. ศ. 2350-2496 ซึ่งยังปรากฏหลักฐานการสร้างหอไตรในล้านนา โดยได้คัดเลือกกำหนดตัวแบบที่ใช้ในการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 62 หลัง ทั้งนี้ได้พิจารณาจากอายุสมัยในการก่อสร้าง หรือการเทียบเคียงจากศิลปกรรมที่สามารถคาดคะเนอายุได้เป็นเกณฑ์
จากการศึกษาเปรียบเทียบการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อรูปแบบหอไตรทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจสังคม ที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการรับอิทธิพลศิลปกรรมจากสกุลช่างอื่น จากการศึกษาปรากฏรูปแบบ ทางสถาปัตยกรรมหอไตรที่เด่นชัด แบ่งได้เป็น
1. หอไตรชั้นเดียว แยกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. 1 หอไตรชั้นเดียวยกใต้ถุนสูง ลักษณะแบบเครื่องไม้
1. 2 หอไตรชั้นเดียว แบบเครื่องก่อ
2. หอไตร 2 ชั้น แยกเป็น 2 แบบ ดังนี้
2. 1 หอไตร 2 ชั้น แบบหอสูง ชั้นล่างลักษณะเป็นเครื่องก่อ ส่วนชั้นบนเป็นเครื่องไม้
2. 2 หอไตร 2 ชั้น แบบอาคารโถงหรือวิหารโถง ชั้นล่างเปิดโล่ง ส่วนชั้นบนเป็นห้องเก็บคัมภีร์ใบลาน
3. หอไตรรูปแบบพิเศษ เป็นหอไตรที่ไม่สามารถจัดเข้ากลุ่มใดได้ มีความหลากหลายของรูปแบบ จากฝีมือช่าง และเทคนิค ด้านการตกแต่ง ดังเช่นหอไตรที่มีลักษณะเป็นอาคารทรงมณฑป อาคารลักษณะคล้ายวิหารหรืออุโบสถหรืออาคารรูปแบบจีน The architectural study in Tripitaka Hall aims to examine the pattern of Tripitak Hall in Lanna culture that was built during 2350-2496 B. E. period. Primary data collection of this thesis was collected from 62 case studies. Criteria of the study is considered from the year of construction and the comparison with the comparable art object.
The way of study is to analyze factors involving in Tipitaka Hall style in terms of political, economical and social issues that impact on the development of architecture. This includes the analysis of other schools’ influences. From the study, the Tipitaka Hall Style could be categorized to:
1. One-storey Tripitaka Hall can be identified into:
1. 1 One-storey Tripitaka tower type that is a wooden building
1. 2 One-storey massornary building
2. Two-storey Tripitaka Hall can be identified into:
2. 1 Two-storey tower type that is a brick and wooden building
2. 2 Two-storey Hall type that has an open ground floor and upper floor in Tripitaka collection.
3. Special Tripitaka Hall can be described as the hall that can not place in other types. It has various types of techniques and skills of decoration, for example, the Mandapan style
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1999)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
213