มณฑปแบบสุโขทัยในศรีสัชนาลัย

Other Title:
Sukhodaya mandapa in Sri-Sajjanalaya
Subject:
Date:
1990
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้ได้ทำการศึกษามณฑปในเมืองศรีสัชชนาลัย โดยเลือกข้อมูลจากมณฑปที่อยู่ในแนวแกนหลักของวัด เพื่อศึกษาถึงวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรม และศึกษาอิทธิพลทางศิลปสถาปัตยกรรมและความหมายบางประการที่มีต่อมณฑปสุโขทัย การวิจัยนี้พบว่า มณฑปในเมืองศรีสัชชนาลัย เริ่มพัฒนาจากกลุ่มมณฑปที่มีหลังคาเป็นทรงจั่วก่อด้วยศิลาแลงแบบสันเหลื่อม ในระยะแรกมณฑปมีผังพื้นเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม รูปทรงอาคารเป็นปริมาตรทึบหนัก หลังจากนั้นจึงพัฒนาลักษณะผังพื้นโดยการย่อมุม แบ่งระนาบหลังคาจั่วเป็นชั้นปีกนกและหลังคาชั้นลด และอ่อนโค้งคล้ายกับหลังคาที่ใช้โครงสร้างไม้มุงกระเบื้อง ถึงระยะเวลาหนึ่ง รูปแบบของมณฑปในเมืองศรีสัชชนาลัยได้เปลี่ยนแปลงลักษณะทางสถาปัตยกรรม และใช้โครงสร้างหลังคาเป็นโครงไม้มุงกระเบื้องตามแบบมณฑปของสกุลช่างเมืองสุโขทัย แต่ยังคงใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุก่อและเทคนิคฝีมือยังคงสืบเนื่องจากกลุ่มที่มีหลังคาก่อด้วยศิลาแลง ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 21 มณฑปที่ใช้โครงหลังคาเป็นไม้ก็เพิ่มองค์ประกอบตกแต่งส่วนผนัง โดยการออกแบบให้มีเสาติดผนังและแบ่งผนังเป็นช่องประดับด้วยลวดลายปูนปั้น แต่ฝีมือการก่อศิลาแลงในกลุ่มหลังนี้ก็หยาบกว่า 2 กลุ่มแรก
มณฑปแบบสุโขทัยได้รับอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากลังกาและพม่า เนื่องจากมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่คล้ายกันกับปฏิมาฆระของลังกาและวิหารแบบพุกาม ซึ่งหมายความของมณฑปสุโขทัยอาจหมายถึงคันธกุฎีเช่นเดียวกันกับปฏิมาฆระของลังการ่วมกับความหมายทางพุทธประวัติที่นิยมในวิหารของพุกาม The research has been made in the city of Sri – Sajjanalaya to study some
selected mandapa building aligned to the central axis of the temples. The objectives
are to find out the architectural development, the influence derived from the
architectural forms and art , and some meanings having effects on the Sukhodaya
mandapa. The productive study has come out that the mandapa is the city of
Sri – Sajjanalaya commenced its development from the collection of the mandapa that
has gable roof constructed of laterite corbelling. In the initial period, the mandapa
had a rectangular plan and the figure of the building looked like a solid shape.
After that, the plan was developed to the Rabbeted – angled style and the form of
the roof was switched to the step – down ones in both front – back and left – right
directions and furthermore the form was made concave like the tile – roof on timber
structure. Later, the architectural characteristic of the mandapa in the city of
Sri – Sajjanalaya was altered and the roof construction was made of timber structure
Supporting roof – tiles which was the same as the style of the mandapa in the
Sukhodaya school, while still the wall material was constructed of laterite and the
Technician’s skill was related to the ones making the mandapa with the roof made
of laterite. About early 21 st century, the mandapa with timber roof – structures has
more elements decorating which separated them into equal portions and to be
decorated with stucco motifs, but the skill of laterite – laying of the technicians were
worse than the two groups of technicians mentioned previously.
Description:
วิทยานิพนธ์ [ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1990)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
268