การศึกษาเจดีย์ในจังหวัดลำพูน

Other Title:
The studies of Chedi in Lumphun Province
Author:
Date:
1998
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการด้านรูปแบบของเจดีย์ในจังหวัดลำพูน จำนวน 123 องค์โดยแบ่งเป็นเจดีย์ทรงกลม จำนวน 75 องค์ เจดีย์ทรงปราสาทจำนวน 35 องค์ และเจดีย์แบบพม่าจำนวน 13 องค์ เจดีย์มีอายุตั้งแต่สมัยแคว้นหริภุญไชย ถึงปัจจุบัน การศึกษาพบว่าการพัฒนาด้านรูปแบบของเจดีย์มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดลำพูน ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งแบ่งได้ 3 ช่วงสำคัญ และในแต่ละช่วงมีจำนวนเจดีย์ที่สร้าง หรือบูรณะโดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ ดังนี้
1. สมัยแคว้นหริภุญไชย (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 ถึง พ.ศ. 1835) พบเจดีย์แบบหริภุญไชย จำนวน 4 องค์ ซึ่งมีอายุประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 17- ต้นพุทธศตวรรษที่ 19
2. สมัยดินแดนล้านนา (พ.ศ.1835-2427) พบว่ามีเจดีย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 จำนวน 4 องค์ และเจดีย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24-25 จำนวน 4 องค์
3. สมัยการรวมเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2427-ปัจจุบัน) พบเจดีย์จำนวน 111 องค์ซึ่งสร้างขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2440 ถึงปัจจุบัน
จากการศึกษาพบว่าเจดีย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-21 ซึ่งเหลืออยู่จำนวนน้อย เป็นกลุ่มเจดีย์ที่อยู่ในฐานะเจดีย์ต้นแบบที่ส่งรูปแบบให้แก่เจดีย์ในช่วงหลัง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มช่างหรือสล่า 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสล่าเวียง ซึ่งมีการสืบทอดการสร้างเจดีย์อย่างเป็นระบบ รูปแบบเจดีย์มีระเบียบแบบแผน และกลุ่มสล่าบ้าน ที่สร้างสรรค์รูปแบบเจดีย์อย่างอิสระ โดย สล่าทั้งสองกลุ่มได้สร้างสรรค์รูปแบบเจดีย์จากเจดีย์ต้นแบบ คือ เจดีย์แบบหริภุญไชย เจดีย์แบบล้านนา และเจดีย์แบบพม่า โดยการเลียนแบบ และการเลือกรับรูปแบบเพื่อนำมาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ จากจำนวนของเจดีย์ที่สร้างหรือบูรณะขึ้นตั้ง แต่พ.ศ. 2440 เป็นต้นมา มีจำนวนมาก จึงเป็นช่วงสำคัญที่ได้มีการเปลี่ยนแปลง รูปแบบเจดีย์อย่างต่อเนื่องและมีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน โดยวิธีการศึกษาเจดีย์ในจังหวัดลำพูน แต่ละกลุ่มได้แบ่งตามรูปแบบและอายุของเจดีย์ทุกช่วงเวลา 10 ปี ตั้งแต่พ.ศ. 2440-2540 ทำให้กำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบเจดีย์ได้ 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การฟื้นฟูและกำหนดเอกลักษณ์ของเจดีย์ในจังหวัดลำพูน (พ.ศ. 2440-2479) ในช่วงแรกมีเจดีย์ 2 รูปแบบ คือ เจดีย์ที่สร้างโดยกลุ่มสล่าบ้าน เกิดจากการผสมผสานระหว่างเจดีย์ 3 รูปแบบ คือ เจดีย์แบบหริภุญไชย เจดีย์แบบล้านนา และเจดีย์แบบพม่า และกลุ่มเจดีย์ที่มีเจดีย์แบบพม่าเป็นต้นแบบ ต่อมาในช่วงพ.ศ. 2460-2469 เจดีย์มีการสร้างหรือบูรณะขึ้นโดยมีพระธาตุหริภุญไชยเป็นเจดีย์ต้นแบบ ภายใต้การนำของครูบาศรีวิชัย และได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วง พ.ศ. 2470 2479 โดยการพัฒนารูปแบบไปจากเจดีย์ต้นแบบเป็นการยึดรูปทรงของเจดีย์ให้สูงขึ้น เป็นการสร้างโดยกลุ่มสล่าเวียงที่รับใช้การสร้างเจดีย์ของครูบาศรีวิชัย ทำให้เจดีย์ที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มสล่าบ้านและเจดีย์แบบพม่าลดจำนวนลง
ระยะที่ 2 ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในการสร้างเจดีย์ (พ.ศ. 2480-2499) เป็นช่วงหลังจากการมรณภาพของครูบาศรีวิชัย ทำให้เจดีย์ที่สร้างหรือบูรณะโดยมีพระธาตุหริภุญไชยเป็นเจดีย์ต้นแบบหมดไป เจดีย์ที่สร้างในช่วงนี้สร้างขึ้นโดยสล่าบ้าน แต่เหลืออยู่จำนวนน้อย ต่อมาในระยะหลังไม่ปรากฎการสร้างเจดีย์ เนื่องจากการสลายตัวของสล่าทั้งสองกลุ่ม ภายหลังจากการขาดผู้นำและผู้อุปถัมภ์ในการสร้างเจดีย์
ระยะที่ 3 ช่วงฟื้นฟูการสร้างเจดีย์โดยกลุ่มสลาเวียง (พ.ศ. 2500-2540) เป็นสล่ากลุ่มใหม่ที่สร้างเจดีย์ตามรูปแบบที่ได้รับจากการออกแบบโดยพระสงฆ์ รูปแบบเจดีย์แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ เจดีย์ที่มีขนาดใหญ่และเน้นการสื่อความหมายด้านคติสัญลักษณ์มากขึ้น ออกแบบโดยพระสงฆ์ที่ยึดถือวัตรปฏิบัติ และเจดีย์ที่ออกแบบโดยพระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ซึ่งเน้นการพัฒนาสิ่งก่อสร้างทางพุทธศาสนา เจดีย์มีรูปแบบที่เรียบง่ายขนาดเล็ก สำหรับสร้างขึ้นในวัดทั่วไป รูปแบบของเจดีย์เกิดจากการเลียนแบบจากเจดีย์ที่พระสงฆ์ผู้ออกแบบมีความพอใจในรูปแบบของเจดีย์ที่ได้พบเห็น ซึ่งรูปแบบเจดีย์ส่วนใหญ่มีพระธาตุหริภุญไชยเป็นเจดีย์ต้นแบบ เนื่องจากเป็นรูปแบบของเจดีย์ที่มีความสำคัญยิ่งในจังหวัดลำพูน และเชื่อว่าเป็นการถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำพูนได้เป็นอย่างดี
การพัฒนารูปแบบของเจดีย์ในจังหวัดลำพูนส่วนใหญ่เป็นการรับรูปแบบจากเจดีย์ต้นแบบ ดังนั้นการศึกษาด้านพัฒนาการจึงเป็นการศึกษาด้านแนวคิดในการออกแบบ ทั้งการเลียนแบบหรือการเลือกรับ รูปแบบจากเจดีย์ต้นแบบ ของกลุ่มสล่าเวียงและสล่าบ้าน ในแต่ละช่วงเวลาภายใต้เงื่อนไขและปัจจัยที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ The purpose of this thesis is to study typology of 123 Chedis in Lumphun. This includes 75 found shape Chedis, 35 Prasat style Chedis, and 13 Myanma type Chedis. These Chedis range from the Hariphunchai period to present day (13th Century of Buddhist Era-B.E 2540). The study showed that the change in style was in relation to Lurnphun’s government, religion, Social and cultural history. They can be categorized into 3 major groups according to the hstorical periods.
1. Hariphunchai Period (form the 13th century of Buddhist Era to B.E. 1835). There were 4 Hariphunchai style Chedis which were dated back to the period between the 17 thto 19th century of Buddhist Era.
2. Lanna Period (B.E. 1835-2427) There were 4 Chedis that were dated back to the period between the 20th to 21st century of Buddhist Era, and 4 from between the 24 th to 25 th century of Buddhist Era
3. The Kingdom of Thailand (B.E 2427-2540) There were 111 Chedis built from B.E. 2440
It was discovered that Chedis from the 17th to 20th century of Buddhist Era, of which a very small number remains, are considered the archetype of later Chedis which were built after the 24th century of Buddhist Era. These Chedis were built by 2 groups of builder, Town builder group, built Chedis in the order of the archetype whereas Folk builder group built Chedis in a lesser degree of preservation. Howere these two builder group built Chedis on the basis of original characteristic namely Hariphunchai Chedis, Lanna Chedis and Myanma Chedis This was done through scaled models of the original Chedi. There have been many Chedis built of roconstructed since B.E. 2440. This period is considered to be very important because it clearly shows the relationship between the development of Chedi characteristics and historical changes. The study of each type of Chedis was catagorized by different characteristic on the scale of 10 years period form B.E 2440 to 2540. This resulted in three periods of changing characteristic shuch as follows.
First period, Restoring the identify of Lumphun Chedi (B.E. 2440-2479) There are two groups of this type. The first group incorporated features of Hariphunchai Chedis, Lanna Chedis and Myanma Chedis. The second group followed models of Myanma Chedis. Later from B.E. 2460 to 2469, Chedis characteristic was imitated the model of Pra-that Hariphunchai, under the supervision of Kruba Sriwichai and this type was later widely followed between B.E. 2470 to 2479. However from the period B.E. 2460 to B.E. 2479 the distinctive characteristic of Chedis is slimmer and the height is increased. At the same time the number of Chedis builtt by folk builders and Myanma style were decreased.
Second period, the transitional period to modernity (B.E. 2480 to 2489) this period covered the death of Kruba Sriwichai and later. There were very few Chedis was built on the first ten years. Later, no Chedi was built at all because the extinction of craftsman and patrons
Third period resumection of Chedis by town builders (B.E. 2500 to 2540) during this period, builders departed from the style of the previous folk builders. The new generation of builders adopted styles that were created by monks which can be categorized into two groups. The first group designed by contemplation monks, is tall and large size. These Chedis convey Buddhism cosmological symbolism. The second group, modeled by administrative monks, concentrated on building simple religious structures. These Chedis are simple, small size and are made for standard construction for temples. These Chedis were designed by arbitary senses of aesthetics of which most of them were modeled after Pra-that Hariphunchai. This reflected the fundamental influence of Pha-that Hariphunchai on Lumphun type Chedis.
The development of Chedis characteristic in Lumphun province was mostly derived from of diferent archetypes of Chedis. Therefore the study of development is actually the study of the design integration of the archetype Chedis in different periods of time under socio-economic
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1998)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
216