การศึกษาประตูโขงแบบล้านนาในจังหวัดลำปาง

Other Title:
The study of portal Lanna style in Lampang
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาสถาปัตยกรรมประตูโขง สถาปัตยกรรมที่มีรูปแบบและการตกแต่งศิลปกรรมแบบล้านนา ในพื้นที่จังหวัดลำปาง ที่มีเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมในแบบ“ สกุลช่างลำปาง”
ประตูโขง เป็นประตูกำแพงวัดที่สร้างเพื่อเป็นที่หมายเห็นชัด ทำช่องประตูเป็นรูปโค้ง มีส่วนยอดซ้อนกันเป็นชั้นๆ แบบยอดปราสาท และมีการตกแต่งด้วยงานปูนปั้นเกือบตลอดอาคารเป็นลายพันธุ์พฤกษาและสัตว์ในจินตนาการ
จากการศึกษาเปรียบเทียบและการวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างและงานตกแต่งประตูโขงในสกุลช่างลำปาง ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างนครเชียงใหม่กับนครลำปางในอดีต ทั้งในด้านการเมือง ศาสนา เศรษฐกิจสังคม ที่มีบทบาทต่อกระบวนการสร้างสรรค์งาน รวมถึงการรับอิทธิพลศิลปกรรมส่วนใหญ่โดยตรงจากสกุลช่างเชียงใหม่
ตัวแบบประตูโขงในจังหวัดลำปางที่ใช้เป็นตัวแบบหลักนั้น สร้างขึ้นระหว่างพศ. 2019-2075 และจากตัวแบบนี้แล้วก็พบว่ามีประตูโขงกระจายทั่วไปในจังหวัด ซึ่งแต่ละแห่งนั้นก็มีระยะเวลาในการสร้างห่างกันหลายปี แต่ก็ยังคงสืบทอดรูปแบบส่วนใหญ่จากตัวแบบหลักโดยเฉพาะด้านโครงสร้างไว้ โดยมีโครงสร้างที่มียอดแบบปราสาทซ้อนลดหลายชั้น แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนบ้างในส่วนของงานตกแต่งที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางศิลปกรรมประตูโขงในสกุลช่างลำปางด้านโครงสร้าง การตกแต่ง และระเบียบวิธีการตกแต่ง ตัวอย่างประตูโขงของช่วงเวลานี้คือ ประตูโขงวัดพระธาตุลำปางหลวง
ช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากจะชี้ให้เห็นถึงพัฒนาการของประตูโขงแล้วยังแสดงถึงความสามารถในการสร้างประตูโขงโดยบุคคลด้วย ในการศึกษาพบว่าประตูโขงมีได้ทั้งในวัดหลวงและวัดราษฎร์ ไม่จำกัดว่าผู้สร้างต้องเป็นกษัตริย์หรือเจ้าเมืองเท่านั้น บุคคลอื่นเช่นพระสงฆ์ก็สามารถสร้างได้ แต่ควรอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าบุคคลนั้นมีบทบาทสำคัญต่อชุมชนหรือเมืองจนเป็นที่ยอมรับ
งานปูนปั้นบนประตูโขงก็มีความจำเป็นต่อการวิเคราะห์ได้พบว่างานตกแต่งในสกุลช่างเชียงใหม่เกิดจากการสร้างสรรค์ของช่าง ที่ได้นำสิ่งรอบตัวที่พบเห็นมาดัดแปลง จัดรูปแบบใหม่และเลือกตกแต่งตามความเหมาะสม ลายส่วนใหญ่อยู่ในแนวธรรมชาติ ซึ่งลายเช่นนี้ช่างเชียงใหม่น่าจะได้รับแนวทางจากงานเขียนสีบนภาชนะจีน การรับเข้ามาของแบบลายและวิธีการปั้นปูนของสกุลช่างลำปางในแบบสำเร็จรูป จึงมีอิทธิพลศิลปกรรมแบบจีนโดยปริยาย
ดังนั้นในทางศิลปกรรม ประตูโขงในจังหวัดลำปาง จึงเป็นหลักฐานที่มีคุณค่าสำคัญชิ้นหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลปกรรมแบบล้านนา เพราะนอกจากจะมีเป้าหมายในการสร้างที่ชัดเจนแล้วยังมีลายตกแต่งที่แฝงถึงคติความเชื่อ แสดงให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมนี้มีความหมายมากกว่าการสร้างเพียงเพื่อหน้าที่ใช้สอย หรือตกแต่งเพื่อความสวยงาม The objective of this Thesis is to investigate the architecture of Pra Tu Kong, Lanna style portal, in Lampang province which embodied characteristics of School of Lampang.
Pra Tu Kong is gates of temples greatly built to dominate doorways. The arch over a nich is topped with multi-level Pra-Sada like roof. All parts are adorned with stucco relief inpatterns of mythical animals and plants.
This comparative study and analysis of Structure and decorative of School of Lampang's eludicate Pra Tu Kong connection between Lampang and Chiangmai in the past, interms of politics, governing, religions, economy and society. This connection influence the process of creating art work. Also, this study explicate the direct acceptation of influence from School of Chiangmai by School of Lampang.
The model of a Pra Tu Kong in Lampang used as a main model was built in C.E. 1476-1532. Besides this model, later ones were also found spreading in many areas of the province. Although each model was built in many years apart, most forms of main model, especially its structure, were suceeded. Nevertheless, there might be an innovationof the decoration which portrayed the art development of School of Lampang.
This period of time showed not only connection and development of style and decoration of the Pra Tu Kong, but also the eligibility of patrons who wanted to establish the Pra Tu Kong. In studying, the Pra Tu Kong by both private and royalty were found the patron could be Kings and governors laymen or monks that had important roles and were esteemed in the community.
The stucco relief on the Pra Tu Kong is also important for analysis. It was found that the School of Chiangmai's decoration was created by adapting things around them, reforming and choosing it to decorate appropriatly. Most patterns derived form nature which was both directly used, for instance and petaled flowers, and artificial made, for instance binding flowers and leaves into bunches or vines appeared on the upper and lower bases. Chiangmai was also indirectly influenced by Chinese art.
Pra Tu Kong had a clear aim of its duty with concealed beliefs. However, for history of architecture and related study, Pra Tu Kong was still lack of a clear chronicle.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1997)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
239