การออกแบบพระอุโบสถและพระวิหารสมัยอยุธยาตอนปลายในเมืองเพชรบุรี

Other Title:
Architectural design in Phetchaburi province : the ordination hall and assembly hall in late Ayutthaya period
Subject:
Date:
1995
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
จากผลของการศึกษา การออกแบบพระอุโบสถและพระวิหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในเมืองเพชรบุรี ทำให้ทราบว่าในงานสถาปัตยกรรมแบบประเพณี ซึ่งถือเป็นอาคารที่มีศักดิ์และเป็นพัฒนาการของการออกแบบโครงสร้างอาคารไทยชั้นสูง โดยในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ การทำงานของสถาปนิกกลุ่มช่างเมืองเพชรบุรีมีวิธีและระเบียบในทางการออกแบบอยู่แนวทางเดียวกัน สามารถจัดเป็นกลุ่ม สกุลช่างหนึ่งได้ แต่ ณ ที่นี้ ก็ยังไม่ได้หมายความว่าลักษณะการออกแบบสถาปัตยกรรมดังกล่าว จะมีลักษณะพิเศษ แตกต่างจากกลุ่มช่างอื่น ๆ ในทางการออกแบบหรือไม่? (นอกจากแบบศิลปะ ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจนและมีการศึกษาเปรียบเทียบกันอย่างกว้างขวางพอสมควร ของกลุ่มสกุลช่างเมืองเพชรบุรี)
สำหรับการออกแบบทางสถาปัตยกรรมกลุ่มสกุลช่างเมืองเพชรบุรี ในสมัยอยุธยาตอนปลายนี้ ความงดงามของสัดส่วน ( ซึ่งถือเป็นแม่โครงหลักในการสร้างก่อนที่จะเป็นอาคารสมบูรณ์ ที่ใส่องค์ประกอบตกแต่งอื่น ๆ ตามตำแหน่ง หรือการใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเข้ามาผสมผสานในภายหลัง ) เกิดจากการออกแบบที่กำหนดความสัมพันธ์ทางโครงสร้างกับรูปทรงเข้าไว้ด้วยกัน โดยเฉพาะความเข้าใจเรื่องรูปทรงพื้นฐานของอาคารที่ประกอบด้วย โครงหลังคาแบบทรงจั่วสูง และการให้ความสำคัญของศักดิ์อาคารที่ให้พิเศษสูงสุด เริ่มตั้งแต่การกำหนดขนาดของอาคาร การจัดระเบียบทางโครงสร้าง เช่น การทำชั้นซ้อนตำแหน่งต่าง ๆ ของผืนหลังคา ตลอดจนรสนิยมของการนำข้อจำกัดทางโครงสร้างในแบบต่าง ๆ เข้ามาผสมผสาน ตัวอย่างเช่น วิธีการนำเส้นโค้งต่าง ๆ มาปรับเข้ากับโครงสร้างมีส่วนของหลังคาและตัวอาคารในส่วนขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นการกำหนดให้เกิดรูปทรงทางภายนอกทั้งสิ้น The result from the study of the Ubosoths and Viharas in the city of Petchaburi of the late Ayutthaya period indicates such as follows
1. Ubosoths and Viharas of Buddhism temples are of high rank buildings consequently they were specially designed and constructed.
2. Ubosoths and Viharas selected for case studies reveal a stage of architectural development of the Thai Buddhism temples architecture of the late Ayutthaya period.
3. The craftsmen who created those buildings performed the same order in design and construction method.
4. The Petchaburi School of architectural design of the late Ayutthaya period emphasizes on the beauty of the proportion of the skeleton of the main structures, however the decorative elements are inseperatable from the building’s skeleton consequently the unity of beauty can be achieved when these two components are combined.
5. The building design is dictated by the length of the tie beam. It defines almost every proportion of building elements including the of the building and it roof. The dimension between each super - imposed roof is also releted to the division of the tie beam.
6. The craftsmen made the measurement from the outline of the elements of the roof structure because they believed that the beautiful appearance was resulted from the configuration of the built form.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2538 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1995)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
120