การศึกษาพระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้นที่จังหวัดอยุธยา

Other Title:
The study of Phra Prang in the early Ayuthaya period at Ayutthaya Province
Author:
Subject:
Date:
1991
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยเรื่อง การศึกษาพระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้นที่จังหวัดอยุธยา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสถาปัตยกรรมที่เรียกว่าพระปรางค์ ที่ปรากฏขึ้นบริเวณภาคกลางชองประเทศไทยในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 หรือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19 พระปรางค์เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อเป็นองค์ประกอบหลักของวัด ที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการรูปแบบตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ที่ออกมาในรูปแบบของอาคารที่มีลักษณะเฉพาะตัว ความสำคัญของศิลป-สถาปัตยกรรมดังกล่าว ได้นำมาศึกษาโดยถูกแบ่งออกเป็น 6 บท ด้วยกันดังนี้ ในบทที่ 1 ได้กล่าวถึงที่มา วัตถุประสงค์ ข้อตกลงเบื้องต้นของการศึกษา ตลอดจนขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ 2 ได้ศึกษาของนักวิชาการต่าง ๆ ที่ว่าด้วยเรื่องของอยุธยาตอนต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแนวทาง และในส่วนที่เป็นประโยชน์ จะเป็นพื้นฐานของการวิจัยในครั้งนี้ บทที่ 3 ได้ศึกษาถึงการศึกษาพระปรางค์ที่ผ่านมา องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของ พุทธปรางค์ไทย และการศึกษาสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า พระปรางค์และรูปแบบอื่น ๆ ที่พบในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง เพื่อเป็นการสุ่มและดึงความสำคัญของพระปรางค์ ให้เห็นถึงแนวคิดหน้าที่ ประโยชน์ใช้สอยของอาคารและพัฒนาการของพระปรางค์ ในบทที่ 4 ได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและรายละเอียดของพระปรางค์ทั้งสี่ในสมัยอยุธยาตอนต้นที่จังหวัดอยุธยา บทที่ 5 ศึกษาเปรียบเทียบพระปรางค์กับพระปรางค์ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี และที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อศึกษาถึงแนวคิดและพัฒนาการในการก่อสร้าง บทที่ 6 เป็นการสรุปผลการศึกษา และในภาคผนวกได้เสนอเรื่องเทวราชาแบบไทยในสมัยอยุธยาตอนต้น
ผลที่ได้จากการศึกษาวิจัยพบว่า พระปรางค์ในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นพระปรางค์ไทยในพุทธศาสนา โดยได้รับอิทธิพลการสร้างปรางค์มาจากปราสาทของเขมร ลักษณะของพระปรางค์มีรูปทรงเบา มีฐานสูงและเพรียว ซึ่งแตกต่างไปจากปรางค์เขมรที่ทึบตัน ก่อสร้างด้วยระบบกำแพงรับน้ำหนัก มีลักษณะเป็นพระปรางค์เดี่ยวเรียงกัน 3 องค์ โดยที่มีพระปรางค์องค์ใหญ่เป็นประธาน และมีพระปรางค์บริวารเล็ก ๆ อีก 2 องค์ในด้านทิศเหนือและใต้ นอกจากนี้มีพระปรางค์หรือเจดีย์จำลองอยู่บนเหนือซุ้มมุขทางเข้าของปรางค์ประธาน รูปแบบของอาคารดังกล่าวสืบเนื่องแนวความคิดมาจากวัดที่สร้างก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา และในสมัยอยุธยาตอนต้น วิวัฒนาการของพระปรางค์เห็นได้ชัดขึ้นที่ วัดราชบูรณะ โดยที่ข้างพระปรางค์องค์ใหญ่ ทั้งทางทิศเหนือและทิศใต้ไม่ปรากฏฐานของพระปรางค์บริวาร และพระปรางค์จำลองที่อยู่บนเหนือซุ้มมุขทางเข้าของปรางค์ประธานได้กลายเป็นเจดีย์จำลองแทน
จากรูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของพระปรางค์เป็นงานที่สะท้อนเรื่องราวเกี่ยวกับไตรภูมิพระร่วงของพุทธศาสนาลัทธิหินยาน ลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นที่นิยมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 – 19 และทำให้เรามองเห็นได้ว่าเงื่อนไขทางวัฒนธรรมได้กำหนดรูปแบบของอาคาร เพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทต่อสังคมอย่างสูงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมไทย This thesis “The study of Phra Prang in the early of Ayuthaya Period at Ayutthaya Province” has a high opinon towards the importance of Thai architecture called “ Phra Prang ” which appeared in the central part of Thailand in the late of the 18 th to the early of the 19 th Buddist Century.
“ Phra Prang ” ; a kind of architecture built to be the main building of each temple, reflected the development of style and creation that appeared in the form of building which had a unique style.
The importance of this art of architecture was studied by deviding into six chapters as follows: Chapters as follows: Chapter I mentioned about the objectives, the basic agreements of studying and also the procedures and method of researching. Chapter 2 studied about the basic of Ayutthaya Kingdom , the division of Ayutthaya’s arts and the studies by scholars upon the early Ayutthaya period to take the useful parts as data and guide – line for this research. Chapter 3 studied about the part studing of Phra Prang, the architectural functions of Thai Buddist Phra Prang and also the central plane for surveying and showing the importance of Phra Prang more clearly to lead to the study and analysis of Phra Prang in the early of Ayutthaya Period on the next chapter. Chapter 4 studied and analysed to details of the four Phra Prangs in the early Ayutthaya Period at Ayutthaya Province by analysing to show the way of thinking functions and usages of the building, together with the development of Phra Prang in the period of time. Chapter 5 studied and compared between Phra Prang at Wat Prasrirattanamahathat Lopburi and Phra Prang at Wat Prasrirattanamahathat Supanburi to learn about the connective way of thinking in construction and social development. The last chaper was conclusion of studing. On the assitional, an appendix of Thai Theva Racha in the early of Ayutthaya Period was presented to add more understanding for this study and research.
The result of this study and research found that Phra Prang in the early of Ayutthaya Period were Thai Buddist Phra Prang which grew upon the Kamer Temple. The appearance of Phra Prang was spacious and light looking with a high base. This was different from Kamer Temple which looked cramp and look heavy.
The architectural style of the building called Phra Prang in the early of Ayutthaya Period was “solitary Prang style” The biggest Prang was the main Prang but there were other two little Prang as the followers. One was in the north and the other in the south of the main Prang, there was a model of Phra Prang. This style was the after – effect, exactly the same concept, of the temples before Ayutthaya Kingdom’s foundation.
In the early of Ayutthaya Period the development of Phra Prang was imminent at Wat Rajburana. Two little Prangs in the north and south disappeared. The model of Phra Prang on the entrance gateway to the main Prang became the model of a stupa
The form and function of Phra Prang architecture reflected the belief of Triphumprarung in Hinayana langkavongsa which was well known during the 18th Buddhis to 19th Century. Thus, we obviously see that the cultural circumstance influenced the style of architecture to be the key and played the high role of social in the early of Ayutthaya period.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1991)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
533