การศึกษาการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

Other Title:
A study of the architectural design at Wat Phra Chetupon Vimol Mangalaram
Author:
Subject:
Date:
1991
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาคุณค่าของงานออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม ตามกระบวนการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาในเชิง ประวัติศาสตร์, สถาปัตยกรรม และสัญลักษณ์
การศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์เริ่มต้นด้วยการศึกษาประวัติความเป็นมาของตัวอาคารเอง ตลอดจนการศึกษา ประวัติศาสตร์ในด้านสังคม เพื่อทำความเข้าใจสภาพเงื่อนไขต่าง ๆ ของสังคมที่เป็นแรงผลักดันให้เกิดการสร้างงานสถาปัตยกรรม และลักษณะสถาปัตยกรรม การศึกษาในส่วนนี้พบว่า วัดพระเชตุพนเริ่มต้นการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ภายหลังการสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์แล้ว 8 ปี จากวัดเล็ก ๆ ริมคลองที่มีความสำคัญในฐานะเป็นสถานที่หยุดพัก กองทัพของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ก่อนที่จะเสด็จข้ามไป ปราบจลาจลฝั่งธนบุรี สภาพการณ์สังคม ภายหลัง สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูการปกครอง โดยอาศัยการ พระศาสนาเป็นแกนนำ ด้วยการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นศูนย์กลางของโลกพุทธศาสนา ซึ่งปรากฏชัดเจนในการ ฟื้นฟูรูปแบบชองการพระศาสนาให้มีเอกภาพ สอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง
การศึกษาในเชิงสถาปัตยกรรมจากลักษณะทางกายภาพของตัวอาคารพบว่า การวางแผนผังวัดพระเชตุพนมี ความตั้งใจที่จะแยกกลุ่มอาคาร ออกเป็น 2 กลุ่มโดยเด็ดขาด ด้วยการใช้กำแพงคั่นเขตทั้ง 2 เขต อาคารทั้ง 2 กลุ่ม ใช้ระเบียบการจัดวางอาคารที่แตกต่างกัน หากแต่ได้เชื่อมความสัมพันธ์ของอาคารทั้ง 2 กลุ่ม ด้วยเส้นแกนหลักเส้น เดียวกัน อาคารกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในเขตชั้นในใช้ระเบียบการจัดวางแผนผังอาคารแบบ สู่ศูนย์กลาง ( Centralized Organization ) มีพระอุโบสถเป็นฯศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยพระวิหารทิศ และพระระเบียง อาคารกลุ่มรองลงมา ที่อยู่ในเขตชั้นนอก ใช้ระเบียบการจัดวางแผนผังอาคารแนวเส้น ( Linear Organization ) มีพระมณฑปอยู่ตรงกลางขนาบด้วยศาลาการเปรียญ และวิหารพระนอน แนวแกนหลักที่ใช้เป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ของอาคารทั้ง 2 กลุ่ม กำหนดให้ลากผ่านอาคารศูนย์กลางของกลุ่มอาคารทั้ง 2 กลุ่ม โดยจัดให้พระมหาเจดีย์ใหญ่ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถและมณฑปความน่าสนใจของตัวงานของสถาปัตยกรรม อยู่ที่อาคารกลุ่มใหญ่ในเขตชั้นในที่สร้างกลุ่มพระอาคารด้วยการใช้อาคารพระระเบียงปิดล้อมอาคารพระอุโบสถถึง 2 ชั้น ซึ่งไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน ความล้ำลึกของงานออกแบบพระระเบียงเล็กซ้อนพระระเบียงใหญ่โดยตัดมุมพระระเบียงเล็กที่อยู่ชั้นนอกให้ไปชนพระระเบียงใหญ่ชั้นใน ด้วยสัดส่วนที่สัมพันธ์กัน ทั้งในแผนผัง และภาพสามมิติ แสดงถึงความพิถีพิถัน ในการออกแบบที่มีความหมายพิเศษ
การศึกษาในเชิงคติสัญลักษณ์ เริ่มต้นจากคำจารึก การสร้างวัดในครั้งรัชกาลที่ 1 ความในตอนท้ายคำอนุโมทนาส่วนพระราชกุศล ที่อุทิศให้กับเทพเจ้า และมนุษย์ในมงคลทวีป แสดงให้เห็นโลกทัศน์ของสังคมในเวลานั้น เกี่ยวกับเรื่องโลกอันเป็นที่อยู่อาศัย จึงได้สืบค้นต่อไปยังแหล่งที่มาของโลกทัศน์นี้พบว่ามีปรากฏอยู่ในไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมโลกศาสนา ที่ได้ฟื้นฟูขึ้นใหม่ในเวลานั้น ความน่าสนใจมิใช่เป็นเพียงวรรณกรรม ประเภทคำสอนแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นวรรณกรรมที่หนักไปทางแสดงภูมิรู้ในเรื่อง โลกศาสตร์แม้จะมีเค้าโครงมาจากหนังสือไตรภูมิ พระร่วงของพระยาลิไทยแต่ก็ได้ขยายความละเอียด ออกไปกว่าไตรภูมิพระร่วงอย่างเห็นได้ชัด ความแตกต่างในหนังสือไตรภูมิ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก กับไตรภูมิพระร่วงของพระยาลิไทย อยู่ตรงที่กำหนดให้ ศรีษะแผ่นดิน หรือ สีสปฐพี เป็นที่ตั้งของรัตนบัลลังก์พระมหาโพธิ์ ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้เป็นประธานอยู่ท่ามกลางแผ่นดินชมพูทวีป และได้เน้นความสำคัญของรัตนบัลลังก์ ด้วยการกำหนดให้เป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยมหาสถานทั้ง 6 อัฎฐมหาสถาน มหานครใหญ่ และชนบทนคร ในมัชฌิมประเทศ อันเป็นดินแดนศูนย์กลางที่อยู่ของมนุษย์ในชมพูทวีป นอกจากนี้ยังได้พบว่าวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์ อันเป็นวรรณกรรมประดับ เกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินได้ถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบเด่นที่หน้าบัน อาคารอีกด้วย
การศึกษาในขั้นตอนสุดท้าย เป็นการศึกษาลักษณะสถาปัตยกรรมที่เป็นผลจากความพยายามของผู้ออกแบบวัดพระเชตุพนในมิติของเวลา และสภาพเงื่อนไขต่าง ๆ ของสังคมที่เป็นแรงผลักดันรูปแบบของกลุ่มอาคารภายในวัดให้ปรากฏขึ้นมา การศึกษาในส่วนนี้พบว่าวานสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพน ให้มีพระระเบียงซ้อน 2 ชั้น น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องโลกศาสตร์ของมัชฌิมประเทศในชมพูทวีป ตามหนังสือไตรภูมิโลกวินิจฉยกถาที่ได้ฟื้นฟูขึ้นใหม่ในเวลานั้น ประกอบกับองค์ประกอบอื่น ๆ ในแผนผังสู่ศูนย์กลางทำให้อุปมาได้ว่าเป็นการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมให้มีตัวตน ขึ้นมาจากมัชฌิมประเทศ อันเป็นศูนย์กลางของชมพูทวีป ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมือง ที่สถาปนาให้กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นศูนย์กลางของโลกพระพุทธศาสนาด้วยเช่นกัน
คุณค่าของงานออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระเชตุพนได้สะท้อนให้เห็นอัจฉริยภาพในเชิงสร้างสรรค์ งานสถาปัตยกรรมของสกุลช่าง ที่พัฒนาการต่อเนื่อง บนพื้นฐานของความต้องการ และวิถีชีวิตของสังคม ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมระหว่างสมัยอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ควรแก่การบันทึกไว้เป็นอย่างยิ่ง This thesis proposes to study and evalnate the architecture of Wat Phra Chetupon Vimolmangalaram in accordance with the art history procedures. The study comprises the historical, architectural, and symbolical approaches.
The historical approach begins with the history of construction which encompasses the social conditions that provide for the motivation to create the particular architectural expression. The major reconstruction of Wat Phra Chetupon occurs 8 years after establishment of Krung Rattanakosin. The small riverside monastery where Chao Phraya Maha Kasatsuk camped with his troops on his way to subdue the Thonburi unrest was transformed. The social condition of the time necessitates Phra Buddha Yodfa’s reformation where the religion of Buddhism provides guiding principles Krung Rattanakosin is made the center of the Buddhistic world view as is apparent in the reorganization to harmonize religions and political ideals.
The architectural study of the physical aspect finds the division of the buildings into two distinct groups in the plan. Boundary walls mark the two areas which contain buildings erranged in different orientations; yet there is an exis to unify the two parts into a whole. The bigger group of buildings located in the inner area exemplifies the centralized organization, with Phra Ubosoth at the focal point surrounded by phra viharnat the four directions, and then the galleries. The other group of buildings in the outer area shows the linear organization, with Phra Mondhop in the center flauked by Sala Kanparian and the Viharn of the Reclining Buddha. The unifying axis is the hypothetical line connecting the focal buildings of the two groups. Phra Maha Chedi is constructed on this axis between Phra Ubosoth and Phra Mondhop. The key architectural value of the primary cluster lies in the construction of Phra Ubosoth with the double galleries as outer boundary, the like of which has not been found. There is depth to the conceptual design of the double galleries of different sizes; the smaller galleries being on the outside with four comers cut off to the corner lines of the big galleries inside, making the double galleries a rectangular structure with oblique corners. The specific proportions notable in both the plan and the perspectives indicates a meticulous design with special meanings
The study of the symbolical aspect of the architecture of Wat Phra Chetupon begins with the rccorded documents of monastery building in the reign of Phra Buddha Yodfa. The latter part of the dedication of the merit to the gods and men of Monkon Dawipa portrays the contemporary world view Further vesearch finds such world view expounded in the Trai Bhumi loke Vinichayakatha, a Buddhist literary work newly revived at the time. The book expounds a particular view of the habitable world similar to that of Phya Lithai’s Trai Bhumi Phra Ruang, but with greater details. Phra Buddha Yodfa’s Trai Bhumi, in its peculiarity, postulates the “landhead” Sisa Pathapi, in the middle of Champu Dawipa, as the site of the Buddha’s hight seat on which enlightenment occurred. The importance of the seat called Ratanabanlang in the central commanding position is emphasized by surrounding sites of the 6 Maha Sathans, the Utta Maha Sathans, the city region and the rural region; all within the place called Machima Pradesh, the dwelling place of men in Champu Dawipa. Moreover, the Remakien a literary work to glorify the dignity of the King, is another inspirational source providing decorative motifs, especially for those of the gable panels.
The final part of the study considers the architectural characteristics of Wat Phra Chetupon as an expression of the time and the contemporary, social values and conditions. The main feature of the creativity, that of the double galleries. Is traced to the world view of the Trai Bhumi Loke Vinichayakatha as the source of inspiration. Other elements in the centralized organization of the planning confirms the hypothesis that the architecture of Wat Phra Chetupon in the reign of Phra Buddha Yodfa is the materiglization of the idea of Machima Pradesh as the center of Champu Dawipa. It is in accordance with the political ideals to establish the new capital of Krung Rattanakosin as the center of the Buddhist religion.
The valuable architecture of Wat Phra Chetupon reflects the creative genius of the builders of early rattanakosin, whose continuous architectural development serves the needs of society at that crucial time in history. The architectural achievement of that transitional time between Ayuthya and Rattanakosin periods nust be recorded
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1991)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
404