หน้าบันพระอุโบสถและพระวิหาร วัดหลวงธรรมยุติกนิกายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Other Title:
The pediments of Ubosatha and Vihara of Dharmayutika-Nikaya Royal Temples during the reign of King Rama IV and King Rama V
Subject:
Date:
1993
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่องการออกแบบหน้าบันพระอุโบสถ และพระวิหารวัดหลวงธรรมยุติกนิกายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จุดมุ่งหมายอยู่ที่การพยายามสร้างความเข้าใจในแบบศิลปะที่มีลักษณะพิเศษของกลุ่มสกุลช่าง ตามเงื่อนไขของช่วงระยะเวลา ผลสะท้อนของแบบศิลปะที่ได้พัฒนาเข้าสู่แบบสกุลช่างหลวง ที่สืบเนื่องต่อมาถึงสองรัชกาลดังกล่าวนี้ หากจะพิจารณาถึงผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรมได้นั้น นอกจากประเด็นของเนื้อหาแนวความคิดอันเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบศิลปะแล้ว จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงเนื้อหาในส่วนที่เป็นกระบวนการออกแบบของผู้สร้างงาน นั่นก็คือการใช้หลักเกณฑ์จากแนวความคิดดังกล่าวผ่านกระบวนการ สู่ผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถรับรู้ได้ทางกายภาพ ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้ลำดับเนื้อหาของข้อมูลเป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ โดยแทรกเป็นบท ๆ ไป
จากการศึกษาแล้วพบว่า ประเด็นที่ได้จากการวิเคราะห์ในแต่ละหัวข้อนั้นล้วนเป็นเรื่องที่สอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลรับกัน และแม้ว่าแบบศิลปะบนหน้าบันตัวอย่างที่ใช้ศึกษานั้น โดยช่วงระยะเวลาของการสร้างนั้นไม่สามารถแสดงพัฒนาการที่เป็นแบบศิลปะเฉพาะที่ให้อิทธิพลแก่กันได้ อันเนื่องมาจากความหลากหลายของแบบศิลปะ แต่กระนั้นก็ตาม ก็ยังสามารถเห็นถึงระเบียบของแนวความคิดบางประการอันเป็นตัวผลักดันให้เกิดแบบศิลปะดังกล่าวในลักษณะของระเบียบที่ใช้ร่วมกัน เช่นการใช้ตราพระราชลัญจกรเป็นเครื่องหมายในส่วนประธานของภาพ หรือการพยายามนำแบบศิลปะที่หลากหลายมาปรับให้เข้าสู่ระเบียบแบบแผนเดิม ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า จากเนื้อหาของแนวความคิด-สู่กระบวนการทางการออกแบบ-เกิดเป็นความสัมฤทธิผลของงานสร้างสรรค์ที่ปรากฏเป็นศิลปะลวดลายบนหน้าบันทั้งสองรัชกาล และความสัมฤทธิผลนี้ยังสามารถแยกได้เป็น 2 ประเด็นคือ
1. สัมฤทธิผลของแนวความคิดที่เป็นปัจจัยต่อการกำหนดรูปแบบศิลปะบนหน้าบัน เช่นการแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์และแสดงความเป็นเจ้าของ เกิดจากโลกทัศน์ และเงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไปได้สะท้อนออกมาด้วยแบบศิลปะที่แสดงถึงลักษณะที่เป็นอัตตวิสัยซึ่งมีผลพวงมาจากพระราชประวัติของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะส่วนที่แสดงถึงความเป็นนักการศึกษาของพระองค์ นอกจากนี้ความเคลื่อนไหวทางสังคม เช่นการไหลบ่าของกระแสวัฒนธรรมที่เจริญกว่าของชาติตะวันตก เหตุผลเฉพาะหน้าทางการเมือง ฯลฯ ล้วนแต่เป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาแนวความคิดจนกลายมาเป็นระเบียบที่สะท้อนออกมาในงานศิลปกรรม และส่งผลสืบเนื่องต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
2. สัมฤทธิผลของการออกแบบหน้าบันทางกายภาพ คือการปรับเข้าหาแนวทางหรือระเบียบที่มาจากแนวความคิดในประเด็นแรก และสื่อแสดงแทนความหมายดังกล่าว แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
2.1 ความสัมฤทธิผลของการออกแบบลวดลายบนหน้าบัน เช่น การใช้เครื่องหมายพระราชลัญจกรที่มีขนาดเล็กบนหน้าบันเมื่อเทียบกับเนื้อที่ทั้งหมดของหน้าบัน ทำให้เครื่องหมายนี้มีสัดส่วนเท่ากับเครื่องสวมศีรษะจริง สะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดแบบรวบยอดที่เป็นเหตุผลนิยม และมนุษยนิยม และจากกรณีนี้ทำให้มีผลต่อการเลือกใช้วิธีการในการออกแบบเพื่อเน้นความสาคัญในฐานะประธานของภาพ ซึ่งสามารถเทียบได้กับหลักทฤษฎีการออกแบบอย่างเป็นสากลได้
2. 2 ความเข้าใจในเนื้อหาของโครงสร้าง สู่ความสัมฤทธิผลของการสร้างรูปแบบใหม่บนหน้าบัน ดังกรณีหน้าบันพระอุโบสถวัดราชาธิวาส ซึ่งออกแบบโดยสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ซึ่งถือเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางการออกแบบหน้าบันที่สาคัญที่สุดในการศึกษาของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ The study of the design of the pediment of the Ubosoth (The main basilica) of royal temples, Thamayuti Nikayani, the pediment was designed during the reign of King Mongku (1851-1868), and the reign of King Chulalongkorn (1868-1910) respectively. The purpose of this study was to speculative and understand the special characteristics of the design practiced by the Thai craftmen (artisans / designers) of the past. Time is an important aspect concerned with this study. The focus of this study is about the art work created during the reigns of the two kings of the Chakri Dynasty, namely King Mongkut and King Chulalongkorn. The development of the schools of Thai craftmen are analyzed in this study. Not only the artistic forms found in the artwork is studied, but also the conceptual development of the craftmen in these school. The researcher believes that studying both the conceptual development and artistic form in the designs are essential for the study. In this thesis the researcher will present sequentially the contents based on the obtained data with the analysis in the following chapters.
The result of the study indicates that there are different concepts and variation of styles, however a common conclusion about how a concept of one school or a certain type of style of design has influence upon other schools or other artworks. The researcher does not only study the design work or analyzing the visual form but also speculating the concept, ideas or aesthetic principles of which the design is based upon. By this means a common conclusion about the development of the design can be made. An example of the royal emblem (Tra Phra Rach Lanjakorn) is use to explain the method of study. The researcher has to study many traditions of art and try to organize all pieces of information in the context of culture and art tradition during the reign of the two kings. The details of idea, found in concept of design become the basis of knowledge and with additional data the researcher can develope an explanation of the creative process of design of the Thai craftmen of the past. Two issues can be concluded from the study:
1. The achievement in developing a design concept is an important factor to establish the discipline of pediment design. A certain goal must be established and the means to achieve has to be found. For example, the status of the king, that is the kingship and the royal ownership of the royal emblem. There is no doubt that ideas, values and knowledge in the world changes all the time, so does the tradition of art and nature of society, it is a natural process of change. The study of the royal biography of King Mongkut as a part of this study suggests that he was born and became the fourth king of the Chakri Dynasty during the time when the western culture, in almost all aspects, had poured into Thai society. It is not only the western influences in politics but also in art that Thai society, king or commonner, noble men or craftmen had to adopt. The similar phenomenon took place in the next reign of King Chulalongkorn.
2. The physical aspect of study, the researcher has achieved, in analyzing the pediment design. The reseacher can apply the concept, as explained from the first issue to explain the design work. Two issues will be mentioned.
2. 1 The achievement in the pediment design of which the royal emblem of the king must be included. The reseacher has to study the relationship between the sizes seal and that of the/headdress (crown)/ the concept of design from the points of view rationalism and humanism are taken to study. It is necessary that the researcher has to take a serious consideration how the emblem designer has to emphasize the principal element of the picture. The design theory, as it is practice worldwide can be applied to explain the Thai designer 's concept in this case.
2. 2 The example of the pediment of Wat Rachathiwas designed by his royal highness, Prince Narisra Nuwatiwong is the most importan example reflecting the significan change and development in the history of Thai pediment design, ever achieved by Thai craftment.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1993)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
162