การศึกษาหน้าบันวิหารล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่

ชื่อเรื่องอื่น:
The study of Lanna Vihara Pediment in Chiangmai
หัวเรื่อง:
วันที่:
1992
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อการศึกษาคุณค่าของงานออกแบบองค์ประกอบสถาปัตยกรรมหน้าบันของวิหารแบบล้านนา ซึ่งเป็นแบบอย่างที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของงานสถาปัตยกรรมในดินแดนภาคเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ตามกระบวนการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การศึกษาประกอบไปด้วย การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมและเชิงสัญลักษณ์
การศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์เริ่มต้นด้วย
1. การศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดเชียงใหม่
2. การศึกษาความสำคัญของวิหารในสมัยอดีต
3. การศึกษาความสำคัญของหน้าบันวิหาร
แล้วจึงนำมาผสานแนวความคิดเพื่อจัดหารูปแบบ เอกลักษณ์และพัฒนาการของหน้าบันวิหารในจังหวัดเชียงใหม่ โดยกำหนดตัวแบบในการศึกษา 30 ตัวแบบ จากวัด 29 วัด มีการกำหนดรูปแบบของหน้าบันที่สามารถกำหนดอายุแน่นอนและคงสภาพเดิมสมบูรณ์ที่สุดเป็นแบบอย่างของการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะของหน้าบัน โดยได้ผลสรุปของการศึกษาดังนี้
ประเภทของหน้าบันวิหารแบบล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ มี 3 ประเภท ตามลักษณะโครงสร้างคือ
1. หน้าบันประเภทแสดงโครงสร้างม้าต่างไหม
2. หน้าบันประเภทแสดงกรอบหน้าจั่ว
3. หน้าบันประเภทแสดงกรอบหน้าจั่วพิเศษ
จากรูปแบบของหน้าบัน 3 ประเภท ผสานกับความคิดทางการเมือง, การปกครอง, วัฒนธรรมและสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนไป เป็นเหตุให้รูปแบบของหน้าบันวิหารเปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดการพัฒนารูปแบบของหน้าบันและการพัฒนาของรูปแบบหน้าบันวิหารแบบล้านนา แบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ
1. ระยะก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลพายัพ ( พ.ศ.2350 -2426 )
2. ระยะการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลพายัพ ( พ.ศ. 2427 – 2476 )
3. ระยะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นมณฑลพายัพ ( พ.ศ.2476 – ปัจจุบัน )
และความหมายของลวดลายบนหน้าบันจะแสดงถึงความคิด และภูมิปัญญาของช่างผู้สร้างโดยมีความคิดทางศาสนาเป็นแนวคิดในการออกแบบลวดลายทั้งหมด ผสานกับจินตนาการและความชำนาญของช่าง อันก่อให้เกิดรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของหน้าบันวิหารแบบล้านนาในจังหวัดเชียงใหม่ในที่สุด This thesis is aimed at the study of the value of Lanna Vihara Pediment’s Architectural Designs that are individually unique as its own architectural work of Northern Region, especially in Chiangmai Province. According to the process of studying History of Architecture,
Studying on History should begin with
1. The study of Chiangmai Province’s History
2. The study of the importance of Vihara in the past
3. The study of the importance of Vihara’s pediment.
Then brought them to harmonize with the concepts to find out forms, Characteristica and Developments of those Vihara’s Pediments in Chiangmai Province. 30 Speciments were assigned for to study from 29 temples each. The assigned forms that could say the exact years and maintain their old state of the most readiness were to be used as the examples of comparative studying of the pediment’s characteristics Those the outputs of the studying are as the followings. The Vihara’s pediments in Chiangmai could be divided into 3 categories.
1. The pediments that show off the construction called Mah Tang Mai
2. The pediments that show off the gable’s frame
3. The pediments that show off the gable’s special frame
From the above 3 categories, they were harmonized with the concept of politic, administration, culture and Changeable Social Condrtion in general that caused the forms of Vihara’s Pediment to be changed. This was the process of Lanna Vihara Pediments’s Form- Development in which they had 3 periods.
1. Before changing the administration to be Northwest Precinct’s Administration ( A.D.1807-1884 )
2. Under Northwest Precinct’s Administration ( A.D.1996 -1943 )
3. After Northwest Precinct’s Administration ( A.D.1943 -Today )
And those handiworks on each pediment shall demonstrate the concept and knowledge of manufacturer whom built them up in accordance with the religious concept harmonized both imagination and skill that caused to have the individual forms of Lanna Vihara Pediment in Chiangmai Province at last.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1992)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
388