พระอุโบสถและพระวิหารในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Other Title:
The ubosatha and vihara in the reign of King Rama IV
Author:
Subject:
Date:
1990
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาพระอุโบสถและพระวิหารในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงรูปแบบ, ลักษณะ และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ตลอดจนพัฒนาการและแนวความคิดของการกำหนดรูปแบบของสถาปัตยกรรมดังกล่าวนั้น โดยอาศัยวิธีการศึกษาค้นคว้าทั้งจากข้อมูลทางเอกสารประเภทต่างๆ และการศึกษาทางกายภาพของโบราณสถาน ณ สถานที่จริง จำนวนประมาณ 30 แห่ง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ, อ้างอิง เพื่อนำผลไปสู่การสรุปสุดท้าย
จากการวิจัยพบว่า นับแต่เริ่มต้นรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แล้วพระองค์ทรงพยายามนำแบบแผนทางสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการศาสนาแบบสมัยอยุธยา กลับมาฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งอย่างจริงจัง ภายหลังจากที่แบบแผนดังกล่าวได้เริ่มจะคลี่คลายออกไปสู่รูปแบบในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะในยุคสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการพัฒนาไปตามแบบอย่างศิลปกรรมของจีนอย่างแพร่หลาย ทั้งอิทธิพลดังกล่าวยังได้สืบทอดต่อเนื่องมายังรัชกาลของพระองค์อีกด้วย พร้อมๆกัน กับกระแสอิทธิพลของศิลปกรรมแบบตะวันตกก็กำลังแพร่ขยายเข้ามาเช่นกัน ซึ่งความจริงแล้วการพยายามหันกลับไปสู่แบบแผนสมัยอยุธยาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯดังกล่าวนั้น เป็นเหตุผลมาจากแนวความคิดที่มีผลกระทบจากสาเหตุของภาวะทางการเมืองที่พระองค์กำลังประสบอยู่นั่นเอง ทั้งนี้เพราะพระองค์ต้องการที่จะไห้การฟื้นฟูนั้น ส่งผลให้บทบาทและภาพพจน์ของความเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์ ทั้งในแง่ความเป็นมหาราชและในแง่ของความเป็นธรรมราชาเด่นชัดขึ้น
ซึ่งจากกระแสอิทธิพลที่ปรากฏพร้อมๆกันเข้ามานั้น ได้ก่อให้เกิดแบบอย่างทางศิลปสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถและพระวิหารนี้ ปรากฏขึ้นหลายลักษณะ โดยแต่ละลักษณะได้มีการปรับเปลี่ยน, แก้ไข ไปตามคติที่นิยมเฉพาะของรัชกาล แต่อย่างไรก็ดีรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ ก็ได้ปรากฏลักษณะของแบบอย่างอาคารที่มีความโดดเด่นออกมาใน 2 ลักษณะคือ
1. ลักษณะที่เด่นของรัชกาล
2. ลักษณะที่เป็นแบบเฉพาะของรัชกาล
1. ลักษณะที่เด่นของรัชกาล นั้นมีอยู่ 2 แบบ ได้แก่
1.1 แบบล้ออย่างพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 คือ พระอุโบสถ, พระวิหารที่ก่อสร้างคล้ายแบบอย่างพระราชนิยมของสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีลักษณะเด่นตรงที่เป็นอาคารแบบมีพะไลรอบ หน้าบันก่ออิฐเป็นแผงจั่วเต็ม ไม่มีไขราหน้าจั่ว เช่นพระอุโบสถ, พระวิหารวัดโสมนัสวิหาร, หรือพระอุโบสถ, พระวิหารวัดมกุฎกษัตริย์ เป็นต้น
1.2 แบบล้ออย่างสมัยอยุธยา คือ พระอุโบสถ, พระวิหารที่ก่อสร้างคล้ายแบบอย่างสมัยอยุธยา ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดคือเป็นอาคารที่นิยมทำเป็นมุขเด็จ มีองค์ประกอบต่างๆ ทางสถาปัตยกรรมตามระเบียบแบบแผนเดิม เช่นพระวิหารวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม เป็นต้น
ส่วนแบบอย่างที่ถือได้ว่ามีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของรัชกาลที่ 4 นั้น มีเพียงแบบเดียวคือ แบบที่มีมุขขวางหน้าและหลังของอาคารประธาน รูปแบบทางสถาปัตยกรรมของอาคารประเภทนี้เป็นที่นิยมแต่เฉพาะในรัชกาลที่ 4 เท่านั้น เช่นพระอุโบสถวัดราชาธิวาส, พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม, พระวิหารวัดเสนาสนาราม เป็นต้น
นอกจากนี้ในแง่ขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ยังได้มีการสร้างสรรค์ลักษณะของศิลปกรรมขึ้นมาจนกลายเป็นแบบแผนเฉพาะของรัชกาลที่ 4 อีกหลายอย่างได้แก่
1. แบบแผนการสร้างวัดให้มีมหาสีมา
2. รูปแบบเสมาที่ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัส
3. รูปแบบซุ้มประตู – หน้าต่างที่มีการออกแบบในเชิงสัญลักษณ์ อาทิ ซุ้มทรงมงกุฎ ซุ้มทรงปราสาท
4. แบบแผนการใช้เครื่องหมายแทนพระองค์ประดับประกอบลงบนลายหน้าบัน, ซุ้มหน้าต่าง ฯลฯ
ซึ่งลักษณะของรูปแบบอาคารตลอดจนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมดังที่ได้กล่าวมานี้ บางลักษณะยังส่งผลสืบทอดต่อเนื่องไปยังยุคสมัยของรัชกาลที่ 5 ในเวลาต่อมาอีกด้วย The thesis “The Ubosatha and Vihara in The Reign of King Rama IV” stressed the objectives on the studies of the religious building architectural styles, and the apprearences of architectural elements, including architectural concepts and its’ development. The main research methodologies are the survey of existing conditions of 30 religious buildings in various parts of the country incombination with the analysis of the printed documents and texts
From this research, it was found that His Majesty King Rama IV had tried to characterize the religious buildings in his period in relation with the Ayuthaya’s religious building, which would be differentiated from the Chinese influenced style of King Rama III and the Western Style which were popularly constructed then.
In relation to the socio – cultural and political conditions of the country then, there were newly religious buildings architectural styes of King Rama IV which some of them were renovated and developed from the former period and some were the newly King Rama IV’ s conceptual styles. The specific styles which were originated by King Rama IV can be classified in 2 groups : The renovation of the former period and the new concept.
1. The renovation of the former period : Ayuthaya and King Rama III style.
The attractive character of Ayuthaya Style are the dormer – gable on the roof and the definitly use of Ayuthaya’s architectural elements such as Vihara oF Wat Rachapradit – Satitmahasemaram.
The attractive character which were imitated from King Rama III buildings are the usage of brick gable without gable-overhang and the arcades surrounded the main building, such as Ubosatha and Vihara of Wat Somanas Vihara and Wat Makutkasatariyaram.
2. King Rama IV new conceptual style are the attatchment of front and rare covered verandah in crossing position to the main building such as the Ubosatha of Wat Rachativas and Wat Mahasamanaram and Vihara of Wat Senasanaram.
Besides those mentioned above, there are also some attractive characters of the minor elements in according to his new concepts which are:
- Providing Maha Sema to the Ubosatha
- Creating rectangular form of Sema Instead of the traditional one
- Creating the symbolic pattern of the decorative ornaments such as the crown symbol and Prasata symbol of the window frame.
- Creating His Royal Symbol on the decorative elements of the gable wall.
All of styles and decorative elements mentioned above not only refering to his own style but some of them also influenced to other architectures constructed later.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2533 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1990)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
381