พุทธสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง

Other Title:
Buddhist architecture of the Ban Phlu Luang Dynasty
Author:
Date:
2000
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง คือการศึกษางานสถาปัตยกรรมเนื่องในพุทธศาสนาที่มีหลักฐานภาคเอกสารระบุว่าสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์โดยพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ๖ พระองค์ ที่ปกครองพระนครศรีอยุธยาระหว่างพ. ศ. ๒๒๓๑-๒๓๑๐ รวมระยะเวลา ๘๐ ปี สุดท้ายก่อนการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยา
งานพุทธสถาปัตยกรรมที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจำนวน ๑๕ แห่งประกอบด้วย
๑. วัดบรมพุทธาราม จ. พระนครศรีอยุธยา
๒. วัดพระยาแมน จ. พระนครศรีอยุธยา
๓. วัดโพธิ์ประทับช้าง จ. พิจิตร
๔. พระวิหารพระมงคลบพิตร จ. พระนครศรีอยุธยา
๕. พระมณฑปพระพุทธบาทวัดพระพุทธบาท จ. สระบุรี
๖. วัดมเหยงคณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
๗. วัดกุฎีดาว จ. พระนครศรีอยุธยา
๘. วัดปาโมก จ. อ่างทอง
๙. วัดหันตรา จ. พระนครศรีอยุธยา
๑๐. วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
๑๑. วัดพระราม จ. พระนครศรีอยุธยา
๑๒. วัดภูเขาทอง จ. พระนครศรีอยุธยา
๑๓. วัดศรีโพธิ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
๑๔. วัดนางคำ จ. พระนครศรีอยุธยา
๑๕. วัดครุธาราม จ. พระนครศรีอยุธยา
ผลจากการศึกษางานพุทธสถาปัตยกรรมทั้ง ๑๕ แห่งสามารถจัดลำดับพัฒนาการของสถาปัตยกรรมโดยพยายามแยกศึกษาวิเคราะห์ ๕ หัวข้อคือ
๑. ลักษณะแผนผัง
๒. รูปแบบสถาปัตยกรรม
๓. องค์ประกอบสถาปัตยกรรม
๔. โครงสร้างและการก่อสร้าง
ผลสรุปที่ได้จากการศึกษาพบว่า แผนผังของวัดในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงวางตัวสัมพันธ์กับเส้นทางสัญจรเป็นหลักมากกว่าการเน้นแนวแกนทิศทั้ง ๔ สถาปัตยกรรมภายในผังให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมประเภทอาคารพระอุโบสถหรือพระวิหารเป็นประธานของผัง
รูปแบบสถาปัตยกรรมแบ่งได้เป็นสถาปัตยกรรมประเภทอาคาร และ ประเภทสถูปเจดีย์ ทั้งหมดมีรูปแบบค่อนข้างหลากหลาย ไม่สามารถจัดลำดับพัฒนาการที่ชัดเจนได้ โดยเฉพาะงานสถาปัตยกรรมประเภทอาคาร
ในด้านองค์ประกอบสถาปัตยกรรมได้แยกศึกษาพัฒนาการแต่ละส่วนของสถาปัตยกรรมและพบลักษณะเฉพาะบางประการที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้
ด้านโครงสร้างและการก่อสร้างนั้น ในสมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวงได้สืบทอดเทคนิคการก่อสร้างจากรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ และพัฒนาเทคนิคเฉพาะบางประการขึ้นเอง The study of Ban Phlulaung Buddhistic architecture studies through the architecture of Buddhism specified by documentary evidences that were built and restored by the 6 kings of Ban Phlulaung dynasty who ruled over Ayudhya during B.E. 2231-2310, the last 80 years before Ayudhya 's declinaton, There followings are 15 Buddhistic architectures in this research.
1. Wat Borombudharam, Ayutthaya
2. Wat Prayaman, Ayutthaya
3. Wat Phopatabchang, Bhijirt
4. Pravihara Mongkholbobnt Ayutthaya
5. Pramondop Praputtabat, Sarabury
6. Wat Mahacyong, Ayutthaya
7. Wat Kudeedown, Ayutthaya
8. Wat Pamok, Angthon
9. Wat Hantra, Ayuthaya
10. Wat Prasresanphet. Autthaya
11. Wat Praram, Ayutthaya
12. Wat Pukoawthong, Ayuthaya
13. Wat Srepho, Ayutthaya
14. Wat Nangkam, Ayutthaya
15. Wat Garudaram, Ayutthaya
After studying the above 15 Buddhistic architectures, the development of architectures can be arranged by the following 4 Subjects.
1. Lay out appearance
2. Architecture form
3. Architecture composition
4. Structure and construction
The outcome of the study declares that the lay out of the temples in Ban Plulaung dynasty related to main traffic line rather than the core of four directions. In the lay out, church (u-bosot) or viharn are the most important architectures. Forms of architecture are divided into two types; Building Type and Stupa-Chedi Type. They all are so varied in forms that their development cannot be arranged distinctively, especially, the Building Type architecture. For the architecture composition, the development of each part architecture were studied separately and found some unique appearances that happened in this era. About the structure and construction, Ban Plulaung dynasty succeeded the Construction technique from King Narai era, and developed some unique techniques by themselves.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 2000)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
361