รูปแบบเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ระหว่างสมัยรัชกาลที่ 1-3)

Other Title:
The styles of the redented chedies in the early Rattanakosin period (during the reign of King Rama I-III)
Author:
Date:
1991
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษารูปแบบเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 – 3 มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึง รูปแบบ ลักษณะ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม รวมทั้งคติแนวคิดบางประการ โดยอาศัยวิธีการศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลเอกสารประเภทต่าง ๆ และการศึกษาทางกายภาพจากสถานที่จริง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ อ้างอิง เพื่อนำผลไปสู่การสรุปบทสุดท้าย
เนื้อหาภายในเล่มของวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 6 บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมา ความสำคัญของเรื่องและวิธีการดำเนินการศึกษาวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงวิวัฒนาการของเจดีย์ ตราบจนในสมัยอยุธยาได้ปรากฏรูปแบบเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมที่นิยมก่อสร้างในสมัยพระเจ้าบรมโกศ ของสมัยอยุธยาตอนปลาย และนิยมสืบทอดมายังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่จะส่งผลต่อแนวคิดพื้นฐานในการศึกษาวิจัย บทที่ 3 เป็นการเสนอข้อมูลเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่องค์พระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 – 3 ทรงโปรดเกล้า ให้สร้างโดยมีเรื่องราวของวัดเป็นมูลเหตุในการสร้างเจดีย์เหลี่ยมย่อมุม บทที 4 เป็นการเสนอข้อมูลรายละเอียดของเจดีย์สำคัญภายในวัด บทที่ 5 เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะทางสถาปัตยกรรมอยุธยาตอนปลาย กับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บทสุดท้ายเป็นการสรุปและข้อเสนอแยะ
ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ปรากฏว่าเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมที่สำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้าง และบรมวงศานุวงศ์สร้าง จะมีความแตกต่างอันเป็นลักษณะของพัฒนาการจากสมัยอยุธยาตอนปลาย กลายมาเป็นมาตรฐานแบบอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านสัดส่วน รูปทรง ระเบียบองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ อันเป็นลักษณะต้นแบบเฉพาะของสมัยรัตนโกสินทร์ ในระยะต่อมา The aim of the studies of the redented chedies of the Rattanakosin period with emphasized on the period during the reign of Rama I to Rama III is to investigate thier certain styles and architectural components including the concepts which influence the creation of their forms. The research methodology is based on available documentation as well as field survey. The information is then analyzed and the conclusion is defined.
This thesis comprise six chapters. The introductory chaper explains the background and the importance of the subject as well as methodology of the research. The second chapter gives the information on the development of the redented chedies which first existed in the reign of King Bormkot of the late Ayuthaya period and consequently inherited to the early Rattanakosin period. Chapter three presents the information of the redented chedies of the early Rattanakosin period with special emphasized on the royal temple compound with chedies built by King Rama I to Rama III. Chapter four informs the details of the important redented chedies of the selected royal temples. Chapter five is an analytic chapter. It gives a comparison of the architectural features of the redented chedies between the late Ayuthaya style and the early Rattanakosin style. The last chapter provides the conclusion of the research this study clearly reveals that the redented chedies of the late Ayuthaya period were the prototype of this kind that had been followed with some degree of diversion by redented chedies of the early Rattanakosin period particularly those built by the Kings and their royal families.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1991)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
282