กระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีกับการบริโภคอาหารเกาหลีในสถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาแฟนละครเกาหลีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2021
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาเรื่องกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลีกับการบริโภคอาหารเกาหลีในสถานการณ์โควิด
19 กรณีศึกษาแฟนละครเกาหลีในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจุดประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษาการ
ดำรงอยู่ของกระแสวัฒนธรรมเกาหลีในไทยผ่านอาหารในบริบทโควิด 19 และปัจจัยที่ทำให้แฟนละคร
เกาหลีหันมาบริโภคอาหารเกาหลีมากขึ้นในช่วงของสถานการณ์โควิด 19 ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับ
เกาหลีใต้ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไปที่อิงตามเหตุการณ์ปัจจุบันของเกาหลีใต้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ทั้ง
ด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ข้อมูลด้านวัฒนธรรม และข้อมูลในด้านของความสัมพันธ์ของไทย
กับเกาหลีในแง่ของการแพร่กระจายวัฒนธรรม นอกจากนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่
เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 จึงจำเป็นต้องทราบถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าทาง
วัฒนธรรมของเกาหลีในช่วงสถานการณ์โควิด 19 อีกทั้งยังศึกษาผ่านกลุ่มตัวอย่างแฟนละครเกาหลี
จากการสุ่มตัวอย่างแบบสโนว์บอลล์ (Snowball Sampling) และการสร้างแบบฟอร์มและกระจายสู่
สังคมออนไลน์ โดยอ้างอิงจากแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมกระแสนิยมและแนวคิดอาหารกับความทรงจำ
ผลจากการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมเกาหลีในรูปแบบของอาหารเริ่มเข้ามามีอิทธิพลเทียบเท่า
กับวัฒนธรรมกระแสนิยมหลักอย่าง K-Entertainment และ K-Beuaty ทั้งนี้วัฒนธรรมกระแสนิยม
เกาหลียังถูกออกแบบมาให้สามารถเติบโตและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง โดยการผลักดันและส่งเสริม
อุตสาหกรรมวัฒนธรรม และนำอำนาจอ่อน (Soft power) ที่เกาหลีใต้ยังคงใช้เป็นอาวุธที่สำคัญใน
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศตั้งแต่ในช่วงทศวรรษ 1990 มาใช้จนถึงปัจจุบัน โดยอำนาจอ่อนนี้ได้
ถูกใช้ไปพร้อมกับสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ากับยุคโลกาภิวัตน์ นอกจากนี้สื่อบันเทิงเกาหลีทั้งภาพยนตร์
ละคร รายการโทรทัศน์ หรือนักร้อง ไอดอล ต่างก็มีบทบาทที่สำคัญในการสร้างความคุ้นเคยกับอาหาร
เกาหลีโดยควบคู่ไปกับสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งอาหารที่ปรากฏในสื่อบันเทิงล้วนแล้วแต่สร้างความน่าสนใจในการอยากที่จะลิ้มลองรสชาติตาม แต่ในช่วงของการระบาดของโควิด 19 ได้สร้างแง่มุม
เกี่ยวกับอาหารและความทรงจำของพวกเขา โดยชี้ให้เห็นว่าการรับรู้ถึงกลิ่น และรสชาติในอาหาร
เกาหลีสามารถรับรู้ถึงความทรงจำที่เคยเกิดขึ้นในอดีตได้ ถึงแม้ว่าพวกเขานั้นจะไม่ใช่คนพื้นถิ่น แต่
การรับรู้ถึงความทรงจำผ่านอาหารเกาหลีนั้นเกิดจากความชื่นชอบที่มีต่อวัฒนธรรมเกาหลี จึงทำให้
พวกเขารู้สึกมีประสบการณ์ร่วมทุกครั้งที่ได้รับประทานอาหารเกาหลี
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา:
ภาควิชามานุษยวิทยา
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
121
ดู/เปิด
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
วัฒนธรรมแฟนคลับและการบริโภคสินค้า Official Goods กลุ่มแฟนคลับศิลปินเกาหลีวง SEVENTEEN กรณีศึกษา กะรัตไทย
คอลเลคชัน: Theses (Bachelor's degree) - Anthropology / สารนิพนธ์ - มานุษยวิทยาประเภทผลงาน: Thesisธัชพรรณ หมุ่ยจันทา (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2020)งานศึกษาฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงการรวมกลุ่มและการบริโภคสินค้า Official Goods ของกลุ่มกะรัตไทย โดยวัตถุประสงค์คือการศึกษาการแพร่กระจายและพัฒนาการของอุตสาหกรรมวัฒนธรรมเกาหลีใน สังคมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน ... -
ที่มาการเขียนภาพจิตรกรรมวิถีชีวิตของจิตรกรซิน ยุนบกในสมัยราชวงศ์โชซอน
คอลเลคชัน: Theses (Bachelor's degree) - Art History / สารนิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะประเภทผลงาน: Thesisกษมาพร ต้องสู้ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2016)รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคลฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการเขียนภาพจิตรกรรมวิถีชีวิตของซิน ยุนบก จิตรกรรมในกลุ่มผู้เขียนภาพจิตรกรรมวิถีชีวิตที่เขียนภาพได้โดดเด่นกว่าจิตรกรคนใดในสมัยราชวงศ์โชซอน เนื่องจากเขาเน้นเขียนภาพผู้หญิง ... -
รูปแบบฉลองพระองค์ในพิธีการของพระมเหสีในราชวงศ์โชซอน สมัยพระเจ้าซุกจง จากซีรีย์เรื่องจาง อ๊กจอง 2013
คอลเลคชัน: Theses (Bachelor's degree) - Art History / สารนิพนธ์ – ประวัติศาสตร์ศิลปะประเภทผลงาน: Thesisพิมพ์ลภัส ทิมอ่ำ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2015)หัวข้อวิจัยหัวข้อนี้เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาฉลองพระองค์ที่ใช้ในพิธีการของพระ มเหสีในราชวงศ์โชซอน โดยใช้การศึกษาเปรียบเทียบผ่านทางซีรีย์เกาหลี ด้วยเหตุผลว่า ฮันบกหรือเครื่อง แต่งกายแบบโบราณของชาวเกาหลีในคว ...