การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

ชื่อเรื่องอื่น:
Sanamchan Palace conservation
ผู้แต่ง:
วันที่:
1992
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึง ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม การเติบโตของเมือง ที่ตั้งและภูมิทัศน์ และสถาปัตยกรรม โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลเอกสารประเภทต่าง ๆ และการศึกษาทางกายภาพจากสถานที่จริง นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อนำไปสู่การสรุปบทสุดท้าย
เนื้อหาภายในของวิทยานิพนธ์แบ่งเป็น 6 บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาความสำคัญของเรื่องและวิธีการดำเนินการวิจัย บทที่ 2 เป็นการศึกษาความเป็นมาของพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียงของโครงการ เพื่อต้องการทราบการพัฒนาการเจริญเติบโตของเมืองในอดีต จนถึงช่วงเวลาที่กำหนดในการศึกษา บทที่ 3 เป็นการศึกษาบทบาทระดับภาค และจังหวัด ต้องการทราบความสำคัญของระดับภาคในแนวทางกว้าง ที่ตั้งภูมิประเทศ การคมนาคม การกระจายตัวของประชากรโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การบริการสังคม การท่องเที่ยวในภาคตะวันตก ทำนองเดียวกัน การศึกษาระดับจังหวัด เพื่อต้องการทราบตำแหน่งของที่ตั้ง ซึ่งจะเป็นข้อมูลการศึกษาในสภาพปัจจุบัน และสามารถที่จะทราบแนวโน้มในด้านต่าง ๆ ของบริเวณพื้นที่โครงการ บทที่ 4 การศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบัน เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และสถาปัตยกรรม เพื่อประเมินหาคุณค่าในการที่จะเสนอแนะการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม บทที่ 5 เป็นการสรุปและเสนอแนะที่ตั้งและภูมิทัศน์สถาปัตยกรรม การใช้ที่ดินในแต่ละเขตของพระราชวังสนามจันทร์ บทที่ 6 เป็นการสรุปการดำเนินการวิจัยและแนวทางที่ควรจะศึกษาในขั้นต่อไป
ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ปรากฏว่าบริเวณที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ บริเวณพื้นที่การศึกษา 1 รองลงมาคือบริเวณพื้นที่การศึกษา 2, 3 และ 5 เพราะบริเวณดังกล่าวมีอาคารโบราณสถานเหลืออยู่ และจะต้องขยายพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์เพิ่มเติมคือ บริเวณพื้นที่การศึกษาที่ 6 และ 7 เพราะพื้นที่แต่ละพื้นที่มีความสำคัญที่ต่อเนื่องกัน ทางด้านสถาปัตยกรรมเป็นสถาปัตยกรรมในช่วงสมัยรัชกาลที่ 6 มีรูปแบบทั้งของไทย และตะวันตก ผสมผสานอยู่ในพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งจะเป็นรูปแบบในการศึกษาสถาปัตยกรรมได้เป็นอย่างดี อาคารแต่ละอาคารจึงมีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน ส่งผลให้พื้นที่แต่ละพื้นที่มีความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องกัน จึงเป็นแบบอย่างที่ควรอนุรักษ์สถาปัตยกรรมในพระราชวังสนามจันทร์ให้คงอยู่สืบไป The study of conservation of architecture of the Sanamchan Palace in Nakorn Pathom province aimed to investigated the history of the architecture the growth of its urban, site and landscape through researching from documents and physical studies from its own location in order to compare, analyze and finalize the conclusion.
The content has six chapters. Chapter 1 is the introduction Concerning the background and the importance of the study, including its methodology. Chapter 2 is the study of the history and development of the study area and its urban surroundings from the past to the present. Chapter 3 reveals the improtance at the regional and provincial level such as its location and physical features, infrastructure, population, distribution, economics structure, social services, tourism, present and future development prospects and so on. Chaper 4 analyzes existing conditions and architecture for evaiuating value of architectural conservation. Chapter 5 is the conclusion and proposal about site and landscape, architecture and utility of the area in each part of the Sanamchan Palace. Finally, Chapter 6 concludes the research methodology and possible future studies.
The result indicates that the improtant areas are area no 1, no 2, no 3, and no 5 respectively because the above mentioned areas still are ancient remains, however, the area no 6 and no 7 should be included in the conservative area because bach area is related to each other. The architecture in the period of King Rama vi at the Sanamchan palace are the excellent examples of architecture of both Thai and western style mixture because each building is related to each other as group and results to continuity of each location. This confirms the importance of the conservation of the architecture and its site at the Sanamchan palace.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1992)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
101