การศึกษารูปแบบและการใช้สอยเรือนไม้พื้นถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่

Other Title:
The study of styles and usages of the vernacular timber house in Chiang Mai
Author:
Subject:
Date:
1998
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบและประโยชน์ใช้สอยเรือนไม้พื้นถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีขอบเขตอยู่ในพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่และอีก 7 อำเภอโดยรอบรวมทั้งหมด 8 อำเภอ ในช่วงเวลา 30 – 70 ปีก่อนหน้านี้ (พ. ศ. 2468 – 2540) เนื่องจากเป็นกลุ่มเรือนที่มีจำนวนมากที่เหลืออยู่และมีคุณลักษณะเฉพาะที่ควรค่าแก่การศึกษา
การศึกษาประกอบไปด้วยการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์และการศึกษาในเชิงสถาปัตยกรรม
1. การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่ การศึกษาเพื่อให้ทราบถึงกระบวนการเกิดของรูปแบบเรือน อันเป็นผลมาจากข้อจำกัดและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมการดำรงชีวิต ในพื้นที่นั้น
ผลจากการศึกษาทำให้ทราบถึงความสำคัญของพื้นที่ตัวเมืองเชียงใหม่ อันเป็นศูนย์กลางของเศรษฐกิจ การเมือง และการปกครองมาแต่โบราณ ทำให้พื้นที่เกิดความสำคัญและส่งผลทำให้เกิดเรือนพื้นถิ่นขึ้น ประกอบกับในช่วงเวลาการศึกษาที่ค่านิยมของคนพื้นถิ่นเปลี่ยนไป การสร้างเรือนไม่จำกัดอยู่ในกลุ่มเจ้าขุนมูลนาย ผู้มาฐานะก็สามารถสร้างได้เพื่อตอบสนองการใช้สอยประโยชน์ในชีวิตประจำวัน ทำให้รูปแบบเรือนเกิดเอกลักษณ์เฉพาะขึ้น
2. การศึกษาในเชิงสถาปัตยกรรม เป็นการศึกษารูปแบบและประโยชน์ใช้สอยของเรือน โดยกำหนดเรือนตัวแบบในกรณีศึกษาประมาณ 70 หลัง จาก 8 อำเภอ ในจังหวัดเชียงใหม่ จากการศึกษาได้ผลสรุปดังนี้
รูปแบบเรือนเมื่อพิจารณาจากลักษณะของหลังคาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ
1. เรือนจั่วเดียว
2. เรือนจั่วแฝด
3. เรือนปั้นหยา
เรือนจั่วเดียวและเรือนจั่วแฝดมีพัฒนาการโดยตรงจากเรือนในพื้นถิ่นนั้น ส่วนเรือนปั้นหยาจะเป็นรูปแบบที่รับมาจากการผสมผสานจากนอกพื้นที่ ลักษณะดังกล่าวส่วนใหญ่ยังคงสัมพันธ์กับผังพื้นเรือน กล่าวคือ เมื่อแกนของพื้นเรือนวางในแนวทิศเหนือใต้ ผังหลังคาก็จะหันหน้าจั่วและวางตัวในแกนเหนือใต้สัมพันธ์กัน แต่มีอีกลักษณะที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาของเรือนที่ศึกษา เนื่องจากการรับรูปแบบและไม่ยึดติดกับค่านิยมประเพณีเดิม การทำหลังคาปั้นหยาหรือมะนิลา ทำให้มีชายคาปกคลุมได้โดยรอบเรือน การวางผังหลังคากับผังเรือนจึงไม่จำเป็นต้องขนานกันไปเหมือนเดิม
รูปแบบเรือนเมื่อพิจารณาตัวเรือน พบว่าฝาเรือนไม่ได้ใช้ไม้แผ่นใหญ่แผ่นเดียวต่อกันเหมือนเรือนในช่วงก่อนจะเป็นไม้ที่ขนาดเล็กกว่าเนื่องจากปริมาณป่าไม้ที่ลดลงอย่างรวดเร็วในภาคเหนือ ส่งผลให้อากาศร้อนขึ้น ตัวเรือนจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีการเจาะช่องหน้าต่างรวมทั้งช่องลมที่กว้างและมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเคยมีขนาดเล็กเนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นอีกทั้งทำให้รูปทรงและสัดส่วนเรือนเปลี่ยนแปลงไป
ในส่วนของพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยภายในเรือน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปตามรูปแบบเดิมโดยมีการแบ่งแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน อันได้แก่ พื้นที่ชานบันไดชั้นบน เสมือนพื้นที่ต้อนรับเมื่อเข้าไปในเรือนจะเป็นบริเวณเติ๋น เปรียบเสมือนโถงต้อนรับหรือโถงเอนกประสงค์ ซึ่งมักมีหิ้งพระอยู่ในบริเวณนี้ ถัดเข้าไปจะเป็นส่วนห้องนอน และห้องครัวอยู่ท้ายสุด ซึ่งอาจมีชานต่อออกไปอีก และมีบันไดแยกขึ้นลง โดยทั่วไปตามระเบียบแบบแผนเรือนจะเป็นดังนี้ แต่จะพบว่ามีลักษณะพิเศษที่ต่างออกไปสืบเนื่องจากการขยายพื้นที่และการใช้งาน ซึ่งจำเป็นต้องทำให้เรือนมีขนาดใหญ่ขึ้นไปแต่พบน้อย
การเก็บข้อมูลเรือนพื้นถิ่นดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็นการบันทึกข้อมูลและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่น จะพบว่าในช่วงเวลาของการศึกษาได้มีเรือนตัวแบบที่รื้อถอนไปแล้วกว่าร้อยละ 10 ในระยะ 2 ปี ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วมากอันเป็นผลจากวิถีชีวิต ค่านิยม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป การศึกษานี้จึงเสมือนงานที่เก็บอนุรักษ์คุณค่าของเรือนในช่วงหนึ่ง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และทราบถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างงานในอดีต The purpose of his thesis is to study the styles and the usages of the venacular timber houses in Chiang mai. The specified areas are in the amphur Muang (Chiang mai town) and other 7 amphurs surrounded between the previous 30-70 years (2468-2540 AD.) as there are a lot of houses with the special appearances left for study.
The study comprises the historical and the architectural.
1. The historical approach of study the procedure of building the house that caused by the regulation and the change of the society. custom and the culture of the folk 's way of living in these areas.
The results of this study discover that in the former time Chiang mai was the center town of the economy, the political and the administration of this area. With these results Chaing mai had became the important center, the people surrounded had moved to settle in Chiang mai So the big amount of houses were needed. For normally, the houses had been built by the people in the high rank only but because of the expansion the settlement of the people the vernacular timber houses had been built by the people in other ranks for their need of usages and the houses had their own unique styles.
2. The architectural study to know the styles and the usages of the houses. The specifical example houses were 70 houses from 8 amphurs in Chiang mai.
The summation of the studying are as the followings:-
The styles of the houses considerated from the charactor of the houses devided to
1. Single gable roof houses
2. Double gable roof houses
3. Pan-Ya houses (hip roof houses)
One gable roof houses and double gable roof houses had been developed from the old styes local houses in that areas and the Pan-Ya houses were the merge styles from the other areas. Most of the house figures had been related with the floor plan, For an example if the axis of the floor rested to the North and South line the door plan would specified the gable to tum to the North and South live to be related with the floor, Other obvions styles was Pan-Ya or Manila styles which appearanced not clang to the old custom. The roof had been built to cover all over the house so the house plan were not necessary to build to be related with the floor plan.
The houses form. The wooden partition of the houses were made of the small sheet of wood instead of the large sheet as the previons time due to the decrease of the forest in the north part of Thailand which caused the weather to be hot and moist. The windows had to be made bigger and winder than the old styles which had been made in cooler weather. These result caused the change to the figures and the proportions of the house.
Most of the usage areas in the houses still followed the old form. The areas had been devided to be the resting area at the head step of the Stairs as the hospitable area, the tern as the hospitable hall or the multipurpose hall the Buddha shelf mostly had been settled in this hall, the bed room area was next from the hall and the kitchen at the end of the house which had the terrace and the other Stairs seperated from the front stairs if necessary.
Most of the house plans were the same as the above mentioned details. We found a few houses bigger than others because of their expansion areas due to the usage needs of the houses.
The most important purpose of this study is to record and increase the conservative mind of the people to protect the vernacular timber houses.
The study found that in 2 year 10% of the vernacular timbor house had been demolished in a high ratio due to the change of the folk 's way of living, the value and the technology. This study will conserve the value and the knowledge of the vernacular timber houses for the people in the next generation' s study about the history of the local architectural and he talent of building of the people in the former time.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1998)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
124