A STUDY OF PHYSICAL CHARACTERISTICS IN THE CATCHMENT AREASOF THE INTERCHANGE AND NON-INTERCHANGE BTS SKYTRAIN STATIONS:A CASE STUDY OF RATCHADAMRI–KRUNG THON BURI SEGMENT
การศึกษาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสทั้งสถานีเปลี่ยนถ่ายและสถานีไม่เปลี่ยนถ่าย กรณีศึกษา ช่วงสถานีราชดำริ ถึง สถานีกรุงธนบุรี

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The BTS Skytrain is an important mass transit system in Bangkok, having
a strong influence on urban development, especially on the catchment areas of
the BTS Skytrain stations. However, certain physical characteristics in the catchment areas may not align with the Transit Oriented Development (TOD) context. Therefore, this study aims to investigate the physical characteristics in the catchment areas of
the BTS Skytrain stations in Ratchadamri–Krung Thon Buri segment. The study covers the catchment areas of all the stations along this segment which are categorized
into interchange stations—Sala Daeng, Chong Nonsi, and Saphan Taksin—and
non-interchange stations—Ratchadamri, Surasak, and Krung Thon Buri. The objective is to study and compare the physical characteristics in the catchment areas of both types of the stations.
The study found that, for all the catchment areas, some important physical characteristics for TOD do not correspond to the framework for evaluating suitability of physical characteristics in catchment areas of interchange and non-interchange stations in Bangkok. Specifically, the physical characteristics that correspond to
the framework are: (1) ridership of mass transit system, and (2) mass transit and feeder system. Meanwhile, the physical characteristics that do not correspond to the framework
are: (1) building use (2) road block size (3) drop-off areas (4) footpath network
(5) footpath width, and (6) walkability and bikeability of the station’s inner catchment area; which need to be further improved. รถไฟฟ้าบีทีเอสเป็นระบบขนส่งมวลชนที่สำคัญที่ประชากรในกรุงเทพมหานครใช้ใน
การเดินทางและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเมืองเป็นอย่างมากโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่รอบสถานี
แต่ในปัจจุบันพื้นที่บริเวณรอบสถานีรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครอาจมีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส ช่วงสถานีราชดำริ ถึง สถานีกรุงธนบุรี โดยใช้ลักษณะของการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางของสถานีรถไฟฟ้าเป็นเกณฑ์ในการจำแนกสถานีออกเป็น 2 ประเภท คือ สถานีเปลี่ยนถ่าย (Interchange Station) ได้แก่ สถานีศาลาแดง ช่องนนทรีและสะพานตากสิน กับสถานีไม่เปลี่ยนถ่าย (Non-Interchange Station) ได้แก่ สถานีราชดำริ สุรศักดิ์และกรุงธนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รอบสถานีทั้ง 2 ประเภท
ผลการศึกษา พบว่า พื้นที่รอบสถานีเปลี่ยนถ่ายและไม่เปลี่ยนถ่ายที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งหมด มีลักษณะทางกายภาพที่สำคัญของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนบางประการไม่เป็นไปตามกรอบการพิจารณาลักษณะทางกายภาพเหมาะสมสำหรับพื้นที่รอบสถานีเปลี่ยนถ่ายและสถานี
ไม่เปลี่ยนถ่ายของรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รอบสถานีเปลี่ยนถ่ายและไม่เปลี่ยนถ่ายในทุกแห่งที่เป็นไปตามกรอบการพิจารณาฯ ได้แก่
1) จำนวนผู้โดยสารของระบบหลัก 2) ระบบขนส่งมวลชนหลักและระบบขนส่งมวลชนรอง
แต่ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รอบสถานีเปลี่ยนถ่ายและไม่เปลี่ยนถ่ายในทุกแห่งที่ไม่เป็นไปตามกรอบการพิจารณาฯ ได้แก่ 1) การใช้ประโยชน์อาคาร 2) ขนาดบล็อกถนน 3) ที่จอดรับส่งผู้โดยสาร
4) เส้นทางเดินเท้า 5) ความกว้างของทางเดินเท้า และ 6) พื้นที่ใจกลางรอบย่านสถานีที่ส่งเสริม
การเดินเท้าและจักรยาน ซึ่งจะต้องได้รับการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพของพื้นที่รอบสถานีทั้ง 2 ประเภท ให้มีความเหมาะสม
Type:
Discipline:
หลักสูตรการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2
Collections:
Total Download:
9
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
A Study of a Mass Transit Station Developed Potential in Accordance with the Principles of Transit Oriented Development : Case Study of BTS Skytrain Ha Yaek Lat Phrao Station, Asoke Station, and Chong Nonsi Station
Collection: Theses (Master's degree) - Urban and Environmental Planning / วิทยานิพนธ์ - การวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมType: ThesisNatthamon PHANSANGA; ณัฐมล พันธุ์สง่า; KAMTHORN KULACHOL; กำธร กุลชล; Silpakorn University. Architecture (Silpakorn University, 1/7/2022)This research aimed to compare the BTS stations with potential for development according to the principle of Transit Oriented Development (TOD). The data were collected by surveying the area and employed the questionnaires ... -
การศึกษาการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส : กรณีศึกษาสถานีช่องนนทรี สถานีสะพานตากสิน
Collection: Theses (Master's degree) - Urban Design / วิทยานิพนธ์ - การออกแบบชุมชนเมืองType: Thesisพงศธร ปัญญาสิงห์; Pongsathorn Panyasing (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
The development of the commercial area surrounding the MRT station and the marketing communication that affect the decision making process for Metropolitan Rapid Transit Chalong Ratchadham Line (MRT purple line Tao poon to Khlong Bang Phai Station)
Collection: Theses (Master's degree) - Business Administration / วิทยานิพนธ์ – บริหารธุรกิจType: ThesisKingkanchana ASAYUT; กิ่งกาญจนา อาสายุทธ; SIRA SRIYOTHIN SRIYOTHIN; ศิระ ศรีโยธิน; Silpakorn University. Management Sciences (Silpakorn University, 18/6/2021)The purposes of this research were (1) to study the demographic of the MRT Chalong Ratchadham customers which affects to the decision to use MRT services, (2) to study the factors of the Transit-Oriented Development around ...