ขันทีในราชสำนักสยามจากหลักฐานทางโบราณคดี

Author:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาขันทีในราชสำนักสยาม จากหลักฐานทางโบราณคดึ มีจุดประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นร่องรอยหลักฐาน ที่มา และบทบาทหน้าที่ของขันทีภายในราชสำนักสยาม โดยมีวิธีการศึกษาจากหลักฐานเอกสาร และหลักฐานโบราณคดี ซึ่งประกอบด้วยภาพลายรดน้ำ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง
จากการศึกษาพบว่าราชสำนักสยามเริ่มรับขันทีเข้ามาทำงานตั้งแต่ในสมัยอยุธยาตอนต้น จนถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย และต่อมาในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์จึงได้มีการยกเลิกระบบขันทีมาเป็นโขลน ซึ่งเป็นพนักงานสตรีที่ทำหน้าที่คอยดูแล ตามเสด็จ และปรนนิบัติรับใช้เจ้านายไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ หรือเจ้านายที่เป็นสตรีแทนขันที ซึ่งเคยมีบทบาทในราชสำนักสยามมาก่อน โดยขันทีที่เข้ามาทำงานในราชสำนักสยาม น่าจะมีที่มาจากราชสำนักมุสลิม เนื่องจากปรากฏร่องรอยหลักฐานที่มาให้เห็นอย่างชัดเจนในหลักฐานเอกสาร และหลักฐานโบราณที่เป็นภาพลายรดน้ำ และภาพจิตรกรรมฝาผนัง อย่างไรก็ตามแม้ว่าในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์จะไม่มีการใช้งานขันทีในราชสำนักแล้ว แต่เรื่องราว และบทบาทของขันที ที่มีมาตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยายังได้รับการถ่ายทอดในรูปแบบ และลักษณะที่ไม่แตกต่างจากเดิมในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยการปรากฏในวรรณกรรม และภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ทัศนคติที่มีต่อขันทีในด้านลบ และการรังเกียจผู้คนที่ต่างศาสนาในช่วงธนบุรี อาจเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้บทบาทของขันทีในราชสำนักสยามต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง
Type:
Discipline:
ภาควิชาโบราณคดี
Collections:
Total Download:
210