ศิลปะร่วมสมัยไทยภายใต้แนวคิดหลังอาณานิคมในทศวรรษที่ 1990

ชื่อเรื่องอื่น:
Thai contemporary art under poscolonialism in 1990s
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2014
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ศึกษาภาพรวมวาทกรรมศิลปะร่วมสมัยไทย ศึกษาปฏิบัติการเชิงสุนทรีย์ของศิลปินไทยภายใต้กรอบแนวคิดหลังอาณานิคม และการสังเคราะห์แนวคิดเชิงวิพากษ์ของศิลปินร่วมสมัยไทยในช่วงทศวรรษที่ (2530) 1990s
จากการศึกษาพบว่าศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยดาเนินไปตามกรอบความคิดชาตินิยมทางวัฒนธรรมที่มีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมไปตามยุคสมัยจนมาถึงทศวรรษที่ 2530 ยุคโลกาภิวัตน์ สัญญะความเป็นชาติถูกท้าทายช่วงชิงการผลิตนิยามความหมายที่สะท้อนอยู่ในปฏิบัติการเชิงสุนทรีย์ของศิลปินไทยร่วมสมัย การวิเคราะห์ปฏิบัติการเชิงสุนทรีย์ของศิลปินไทยที่ผู้วิจัยเลือกนามาศึกษา ได้แก่ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช นาวิน ลาวัลย์ชัยกุล และสุธี คุณาวิชยานนท์ ในกรณีชองฤกษ์ฤทธิ์ศิลปินไทยที่อาศัยอยู่ต่างประเทศมีการใช้กลวิธีตอบโต้และวิพากษ์วาทกรรมอาณานิคมภายในสถาบันศิลปวัฒนธรรมของโลกตะวันตกโดยตรง และผลิตกระบวนการลูกผสมทางวัฒนธรรมมาต่อรองความเชื่อที่เป็นอุดมคติทางวัฒนธรรมชองชาติตะวันตกและชาติไทย ส่วนปฏิบัติการเชิงสุนทรีย์ของนาวินและสุธี เป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของยุคโลกาภิวัตน์ที่วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาสร้างการครอบงาในสังคมไทย ศิลปินทั้งสองคนได้ท้าทายการรับรู้ความเป็นชาติโดยการนาเสนอภาพตัวแทนทางวัฒนธรรมที่สวนกระแสและลดความสาคัญกับคุณค่าชาตินิยมทางวัฒนธรรมในประเทศ นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบความกากวมขัดแย้งในแนวคิดเชิงวิพากษ์ของศิลปินในประเทศที่เป็นการท้าทายนั้น เกิดขึ้นจากการตอบสนองของการดารงอยู่ของความเป็นชาติไทย This quality research has purposed of studying the discourse of Thai contemporary art, the artistic practices of Thai artists in postcolonialism, and synthesizing the critical thinking of Thai contemporary artist in 1990s.
The research found that Thai contemporary art had operated under cultural nationalism in which its accommodate to Thai history context. Until globalization era in 1990s, the contested signs of nation that reflected in the artistic practice of Thai contemporary artists. Three Thai artist, Rirkrit Tiranvanija, Navin Rawanchaikul and Sutee Kunavichayanont are selected as the example of analyzing of artistic practices in postcolonialism. Rirkrit Tiranvanija who is Thai artist living abroad. His artistic practice directly countered and critiqued to colonial discourse in art and culture of the western institution, and also produced cultural hybridity to negotiating the utopian vision of western and Thai culture. Navin and Sutee’s artistic practices who were effected from the domination of western culture in globalization era. Their practice challenged the narrative of Thai nation, opposed and devalued Thai cultural nationalism. In addition, this research found about the conceptual ambivalence in critical thinking of artists in Thailand due to its respond to being of Thai nation.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศ.ม. (ทฤษฎีศิลป์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
ทฤษฎีศิลป์
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
2761