การบริหารจัดการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร)

Other Title:
The administration of "Moderate Class More Wledge " in Bansuanluang (Rattanawichitpittayakan) School
Author:
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารจัดการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการครูและครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) ที่จัดกิจกรรม "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" จำนวน 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตามคู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2558 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบียงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ของโรงเรียนบ้านสวนหลวง(รัตนวิจิตรพิทยาคาร) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 10 ด้าน โดยเรียงลำดับคำมัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ปรับและออกแบบตารางเรียน ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย นิเทศ ติดตาม ออกแบบกิจกรรมที่หลากหลาย สรุปรายงาน วิเคราะห์โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา ดำเนินการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรม กำหนดตัวชี้วัดภาพความสำเร็จ สร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการดำเนินงาน และประชุม เสวนา ทบทวนหลังการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร) เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่าผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาขยายโอกาสมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการ "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ของโรงเรียนบ้านสวนหลวง (รัตนวิจิตรพิทยาคาร ทั้งภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
The purposes of this research were to determine; 1) the administration of “moderate class more knowledge" in Bansuanluang (Rattanawichitpittayakan) School, and 2) theresult of opinion comparing with the administration of "moderate class more knowledge” classified by working position. The sample were 48 educational personnel in Bansuanluang (Rattanawichitpittayakan) School. The research instrument was the questionnaire based on the administration of "moderate class more knowledge" based on the handbook of studying time administration in "moderate class more knowledge" B.E. 2558 of office of the basic education commission, ministry of education. The statistic used to analyze the data were frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and F-test.
The findings revealed the follows:
1. The administration of "moderate class more knowledge" in Bansuanluang (Rattanawichitpittayakan) School is mostly in high level. According to the consideration by assorting categories, there totally 10 factors that are in high level, ranking by arithmetic mean from the highest to the lowest : timetable adjustment and design, policy analysis, supervising and follow up, learning activities design, summary reporting, school curriculum structure analysis, management of learning activities, indicators of accomplishments, understanding performance and after action review meeting. The average level factor is making information.
2. The result of opinion comparison with administration of "moderate class more knowledge" in Bansuanluang (Rattanawichitpittayakan) School, classified by working position. It was found that the opinion of school administrators and head of the department, primary teachers and secondary teachers, there are not significant differences in overall and assorting categories
Type:
Degree Name:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
7