ระบบการเขียนของไทอาหม

Other Title:
Tai Ahom Palaegraphy
Author:
Date:
1986
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการของตัวอักษรไทอาหม โดยวิเคราะห์ให้เห็นรูปแบบตัวอักษรและไวยากรณ์ที่ปรากฏในเอกสารของไทอาหม เพื่อประโยชน์ในการอ่านเอกสารของไทอาหมที่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากในแคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ตัวอักษรไทอาหมรับรูปแบบมาจากตัวอักษรมอญในพุทธศตวรรณที่ 17 มาปรับปรุงใช้ รวมทั้งรับเอาอักขรวิธีแบบมอญมาใช้ด้วย รูปแบบตัวอรของไทอาหมแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือ รุ่นแรก รุ่นกลาง และรุ่นหลัง วิวัฒนาการจากรุ่นแรกมาจนถึงรุ่นหลังไม่แตกต่างกันมากนัก
อักษรไทอาหมประกอบด้วยรูปพยัญชนะ 24 รูป สระ 13 รูปและตัวเลข 7 รูป รูปพยัญชนะต้นและตัวสะกดเขียนอยู่ในแนวเดียวกัน มีเครื่องหมายกำกับไว้ บนพยัญชนะตัวสะกด ด้านอักขรวิธีของอักษรไทอาหมคล้ายคลึงกับภาษาไทยมาตรฐานคือ ในการประสมคำ จะวางรูปสระไว้ล้อมรอบรูปพยัญชนะต้น การเรียงลำดับคำในประโยคโดยมากเป็นแบบ “ประธาน กริยา กรรม” แต่ก็มีประโยคแบบ “ประธาน กรรม กริยา” เข้ามาปะปน ทั้งนี้เป็นเพราะได้รับอิทธิพลจากภาษาอัสสัม This study is an attempt to describe the historical background and the development of the Tai Ahom scripts used in Assam. India, from the time the Ahoms conquerred this part of the world until it fell under the British rule in 2381 B.E. some 600 years later. The study concludes that both the Tai Ahom alphabet and the orthography were influenced by those of the Mon of the 17th century B.E.
Using the letter , “r” as the distinguisher, the Tai Ahom scripts may be devided into three periods :- the earliest from 2042 B.E. to 2257 B.E. , the middle from 2257 B.E. to 2338 B.E. , and the latest since 2338 B.E.
The Tai Ahom writing system is composed of 24 consonants, 13 vowels, and 7 numbers. The orthography is similar to that of Siamese. That is, the initial and the final consonants are on the line while the vowels may be put before, after, above or under the consonants.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
116