ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของมูลฝอยชุมชนและแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการมูลฝอยชุมชนของเทศบาลตำบลพระแท่น จังหวัดกาญจนบุรี

Other Title:
Physical and chemical characteristics of municipal solid waste and appropriate guidelines of municipal solid waste management for Prathan Sub-District Municipality, Kanchanaburi province
Author:
Advisor:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของมูลฝอยที่เกิดขึ้นในเทศบาลตำบล พระแท่น จังหวัดกาญจนบุรี อันได้แก่ ปริมาณมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้ อัตราการผลิตมูลฝอยที่เกิด จากมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้ องค์ประกอบของมูลฝอย และสมบัติทางกายภาพและทางเคมีของ มูลฝอย นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงวิธีปฏิบัติและพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยของผู้อยู่ อาศัยทั้งในระดับครัวเรือนและสถานประกอบการของเทศบาลตำบลพระแท่น ผลการศึกษาพบว่า เทศบาลตำบลพระแท่นมีปริมาณมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้ประมาณ 4 ตัน/วัน เมื่อพิจารณาจาก จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันและปริมาณมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้ทำให้มีอัตราการผลิต มูลฝอยเฉลี่ย 0.66 กิโลกรัม/คน-วัน องค์ประกอบมูลฝอยโดยน้ำหนักสดที่พบส่วนใหญ่เป็นไม้(ร้อยละ 33.7) รองลงมา คือ เศษอาหาร (ร้อยละ 30.4) และพลาสติก (ร้อยละ 17.9) ตามลำดับ โดยมีสัดส่วน รวมกันสูงถึงร้อยละ 82.0 มีปริมาณความชื้นเฉลี่ย ร้อยละ 48 มีค่าความร้อนสูงเฉลี่ย 10,008 กิโลจูล/กิโลกรัม และพบว่ามีอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน เท่ากับ 53:1 หากพิจารณาจากลักษณะ สมบัติทางกายภาพและทางเคมี พบว่า มูลฝอยที่เกิดขึ้นมีสมบัติเหมาะสมในการนําไปแปลงรูปเป็น พลังงาน โดยใช้เทคโนโลยีการเผา หรือ การย่อยสลายแบบไม่ใช้อากาศ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้อง พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยถึงความเป็นไปได้ของโครงการ เช่น ปริมาณมูลฝอยที่เก็บรวบรวมได้ ค่าลงทุน และค่าดำเนินการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมของสมาชิกในครัวเรือนที่มีต่อการ จัดการมูลฝอยในภาพรวมทั้ง 3 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย การลดปริมาณ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) อยู่ในระดับมาก (x̅= 3.63, SD = 0.61) ส่วนสถานประกอบการ มีการคัดแยกมูลฝอยรีไซเคิลบางส่วนออกจากมูลฝอยทั่วไปก่อนทิ้งลงถังของเทศบาล เมื่อพิจารณาผล การศึกษาต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น เห็นสมควรว่า เทศบาลตำบลพระแท่นควรให้ความสำคัญในการ จัดการมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด โดยใช้หลักการ 3Rs ได้แก่ การลดปริมาณ การใช้ซ้ำและการนำกลับมา ใช้ใหม่
This research aimed at studying the generated solid waste characteristics in Prathan Sub-District Municipality, Kanchanaburi Province including the collected quantities, the generation rates based on the solid wastes collected, the compositions, and the physical and chemical compositions. The research also aimed at studying the practices and the behaviors of the solid waste management in the households and the business firms located in the study area. Results show that the average quantity of the collected solid waste was about 4 tons/day. Based on the Municipality’s current population and the collected quantities, the average generation rate was 0.66 kg/person-day. The major compositions of the generated solid wastes were wood waste (33.7%,) food waste (30.4%), and plastic waste (17.9%), respectively, accounting for 82.0% by weight of fresh wastes. The average moisture content of the solid wastes was 48.0%, and the average higher heating value was 10,008 kJ/kg. Results also show that the C:N ratios in the solid waste was about 53:1. Based on the physical and chemical characteristics, the generated solid waste can be converted to energy by incineration, or anaerobic digestion. However, there are some other factors to be considered for the feasibility of the project such as the quantity of the generated solid wastes, investment costs, and operating expenses. Results also indicate that overall behavior of solid waste management in the households related to the following aspects – reduce, reuse, and recycle, was at a high level (x̅= 3.63, SD = 0.61). Regarding the solid waste management in the business firms, it is found that the business firms sorted some recyclable wastes out of general wastes before disposing of. Based on the results obtained, this study has recommended that Prathan Sub-District Municipality makes priority on solid waste management at source by applying the reduce, reuse, and recycle (3Rs) concept
Type:
Degree Name:
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
9