การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS

Other Title:
A study of learning achievement and the ability of learning transfer of the eleventh grade students in the course of buddhism applied by the SSCS instruction model
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนวิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS 2) ศึกษาความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS จำนวน 4 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา พระพุทธศาสนา และ 3) แบบวัดความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย (× ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการถ่ายโยงการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน SSCS มีพัฒนาการสูงขึ้น
The purpose of this research were to 1) compare learning achievement of the eleventh grade students in the course of Buddhism before and after applied by the SSCS instruction model. 2) study the ability of learning transfer of the eleventh grade students in the course of Buddhism applied by the SSCS instruction model. The research sample comprised of 26 students from the eleventh grade students room 2 in the second semester of the academic Year 2016 at Prakhanongpittayalai School, Bangkok. The research instruments consisted of: 1) Unit learning management plans in the course of Buddhism applied by the SSCS instruction model, 4 lesson units. 2) learning achievement test in the course of Buddhism and 3) ability of learning transfer test. The statistics used for the data analysis were arithmetic mean (× ̅), standard deviation (S.D.) and t-test dependent.
The research findings were as follows:
1. The learning achievement in the course of Buddhism after applying the SSCS instruction model of the eleventh grade students was higher than before at the level of .05 significance.
2. The ability of learning transfer in the course of Buddhism after applying the SSCS instruction model of the eleventh grade students was developed to a higher level.
Type:
Degree Name:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
26