ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี

Other Title:
Factors effecting pre-hospital emergency operations among emergency medical responders of Rathchaburi province
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความผูกพันต่อชุมชน การมีจิตอาสา และแรงสนับสนุนทางสังคม ของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี 2) เปรียบเทียบการปฏิบัติการฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรีจำแนกตาม อายุ หน่วยงานที่สังกัด ระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก สถานภาพสมรสและความเพียงพอของรายได้ 3) ศึกษาว่าความภาคภูมิใจในตนเอง ความผูกพันต่อชุมชน การมีจิตอาสาและแรงสนับสนุนทางสังคม เป็นปัจจัยที่สามารถทานายการปฏิบัติการฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์จังหวัดราชบุรี จำนวน 239 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified sampling) ตามสัดส่วนประชากร แยกตามสังกัดอำเภอที่ขึ้นทะเบียนและใช้การจับฉลากรายชื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างตามที่กำหนด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับการปฏิบัติการฉุกเฉิน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความผูกพันต่อชุมชน การมีจิตอาสา และแรงสนับสนุนทางสังคมของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี อยู่ในระดับมาก
2. อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์จังหวัดราชบุรี ที่มีระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ และอาชีพแตกต่างกัน มีการปฏิบัติการฉุกเฉินแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอายุ หน่วยงานที่สังกัด ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส และความเพียงพอของรายได้ ไม่แตกต่างกัน
3. การมีจิตอาสา ความภาคภูมิใจในตนเองและความผูกพันต่อชุมชน สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติ การฉุกเฉินของอาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์ จังหวัดราชบุรี ได้ร้อยละ 58.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
The purposes of this research were 1) to study level of pre-hospital emergency operations,self-esteem, commitment of the community, public mind and social support among emergency medical responders of Rathchaburi province, 2) to compare level of performance of pre-hospital emergency operations among emergency medical responders of Rathchaburi province as classified by age, affiliations, working experience, education, career, family status and the adequacy of income, 3) to determine the self-esteem, commitment of the community, public mind and social support as predictors of pre-hospital emergency operations among emergency medical responders of Rathchaburi province. Samples were 239 emergency medical responders of Rathchaburi province derived by stratified sampling technique. Instruments used to collect data were questionnaires constructed by the researcher. Data were analysed for percentage(%), mean(x̄), standard deviation(S.D.), t-test, One-way ANOVA and the Stepwise Multiple Regression Analysis.
The results found that :
1. Pre-hospital emergency operations, self-esteem, commitment of the community, public mind and social support were at the high level.
2. Pre-hospital emergency operations among emergency medical responders of Rathchaburi province as classified by working experience and career were different with a statistical significance level of .05.
3. Public mind, self-esteem and commitment of the community predicted pre-hospital emergency operations among emergency medical responders at the percentage of 58.6, with a statistical significance level of .01.
Type:
Degree Name:
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
85