สัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง "เรื่องเล่าในโลกลวงตา"

Other Title:
Magical realism in the novel "Narrative in the unreal world"
Advisor:
Subject:
Date:
2016
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การค้นคว้าอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ กลวิธีการเล่าเรื่อง และแนวคิดที่ปรากฏจากการใช้สัจนิยมมหัศจรรย์ในนวนิยายเรื่อง "เรื่องเล่าในโลกลวงตา" โดย วิเคราะห์จากนวนิยายเรื่อง "เรื่องเล่าในโลกลวงตา" ของพิเชษฐ์ศักดิ์ โพธิ์พยัคฆ์
ผลการศึกษาพบว่า สัจนิยมมหัศจรรย์ที่ปรากฏผ่านโครงเรื่องส่วนใหญ่จะปรากฏในโครงเรื่องหลักมากกว่าโครงเรื่องรอง และยังเป็นผลให้ปมขัดแย้งภายในจิตใจของ "ข้า" หรือตัวละครเอกคลี่คลายลง สัจนิยมมหัศจรรย์ที่ปรากฏผ่านแก่นเรื่องพบว่า แก่นเรื่องแบ่งออกเป็น แก่นเรื่องหลัก และแก่นเรื่องรอง และสัจนิยมมหัศจรรย์ที่ปรากฏผ่านแก่นเรื่องพบเพียงแก่นเรื่องหลักเท่านั้น ตัวละครที่มีลักษณะสัจนิยมมหัศจรรย์แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มย่อยได้แก่ มนุษย์ที่แฝงเร้นลักษณะพิเศษ และตัวละครปริศนา โดยที่ตัวละครเอกจัดเป็นตัวละครหลายลักษณะ และตัวละครปริศนาทั้งหมดจัดเป็นตัวละครน้อยลักษณะ สัจนิยมมหัศจรรย์ที่ปรากฏผ่านฉาก แบ่งออกเป็นฉาก
เกี่ยวกับธรรมชาติและฉากวัฒนธรรมความเชื่อ โดยฉากทั้งสองประเภทนี้ยังคงความเป็นสัจนิยมเพียงแต่ผู้แต่งได้แฝงความมหัศจรรย์ไว้ผ่านทางการบรรยายของ "ข้า"
สัจนิยมมหัศจรรย์ที่ปรากฏผ่านกลวิธีการเล่าเรื่อง ผู้แต่งเลือกใช้สรรพนามบุรุษที่ ๑ คือ "ข้า" ในการเล่าเรื่องเพื่อสร้างบรรยากาศให้ดูเป็นเรื่องโบราณ ในตอนท้ายใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ ในการเล่าเรื่องปัจจุบันจนปิดเรื่อง ทำให้ผู้อ่านเกิดความสงสัยว่าเรื่องทั้งหมดเป็นความจริงหรือความลวง และผู้แต่งได้ใช้วิธีการดำเนินเรื่องแบบกลับไปกลับมาเพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงภูมิหลังและมีความรู้สึกคล้อยตามไปกับตัวละครในเรื่อง
แนวคิดหลักที่ปรากฏในเรื่องแบ่งออกเป็น 3 แนวคิด คือ ความแค้นและการชำระล้างจิตใจ อิทธิพลของตำนานและเรื่องเล่าท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับความเชื่อ และการล้อเล่นกับความจริงและความลวง
This independent study aims to analyze the novel composition, storytelling strategies and the concept that appear from the use of magical realism in the novel "Narrative in the unreal world" by Pichetsak Pohpayak.
The study indicated that the magical realism appears through the storyline mostly appears in the main storyline rather than secondary storyline. And it also resulted in conflict within the mind of "I" was unraveled. The magical realism appears through the theme found that has main theme and secondary theme, the magical realism appear through the main theme only. The characters with a magical realism are divided into 2 sub-groups: Special character and Puzzle character. The main character is a round character and all the puzzle characters are flat character. The magical realism appears through the scene are divided into natural scene and culture scene. Both of these scenes remain the realism but the author has hidden the magical realism through the narrative of "I".
The magical realism that appears through storytelling strategies found the author uses the first person pronoun, "I" in the narrative to create an atmosphere to be ancient. At the end, the author uses the third person pronoun in the current narrative to close the story. Make the reader wonder whether the whole story is true or false. And the author uses a back-to-back approach to letting readers know the background and feel comfortable with the characters in the slory.
The main concepts appearing in the story are divided into three concepts: the resentment and cleansing, the influence of local myths and tales related to beliefs and the teasing with the truth and the trick.
Type:
Degree Name:
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
37