การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนเรื่องวรรณโสตรฉบับจังหวัดนครศรีธรรมราช

Other Title:
A didactic literarture, Varnasotra : an analytical study of a Nakhon Si Thammarat version
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนเรื่องวรรณโสตร ที่บันทึกในหนังสือบุดขาว 1 เล่ม มีจำนวน 140 หน้า เขียนด้วยตัวอักษรสองชนิด คือ ใช้อักษรไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นบันทึกภาษาไทย และอักษรขอมไทยบันทึกภาษาบาลี เขียนเมื่อ พ.ศ. 2425
จากการศึกษาวิจัยทำให้ทราบว่า วรรณกรรมเรื่อง วรรณโสตร เป็นวรรณกรรมคำสอนที่ผู้แต่งรวบรวมคำสอนสำคัญในพุทธศาสนาได้แก่ ศีล 5 กุศลกรรมบถ 10 มรรค 8 ขันธ์ 5 และไตรลักษณ์ มาเป็นประเด็นหลักในการนำเรื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายในการแต่งที่มุ่งเน้นการสั่งสอนธรรมะแก่ผู้อ่านผู้ฟัง และถวายเป็นกุศลแด่พระศาสนารวมถึงตัวผู้แต่งในภพหน้า วรรณกรรมเรื่องนี้ใช้คำประพันธ์ประเภทกาพย์สุรางคนางค์ 28 เขียนบทไหว้ครู นอกนั้นเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยแก้วตลอดทั้งเรื่อง มีการใช้โวหารที่ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม อีกทั้งมีการยกนิทานอุทาหรณ์ อ้างถึงสิ่งที่ชาวบ้านเชื่อถือศรัทธา และแสดงผลตอบแทนการกระทำประกอบคำสอนอีกด้วย ในเชิงสังคมได้สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ประเพณี ความเชื่อในหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อจิตใจของชาวใต้ในทุกเรื่องทั้งหลักในการดำเนินชีวิต ตลอดถึงจารีตประเพณี ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าชาวใต้ศรัทธาและยึดมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง The purpose of this thesis is to study Varnasotra, a didactic literature of Nakorn Si Thammarat. The text is found in Nangsue ButKhaw, written in early Rattanakosin script in Southern Thai dialect and Khom Thai script in Pali. The text is 140 pages and dated in 1882 A.D.
The research reveals that the text of Varnasotra is the good collection of major mottos in Buddhism i.e. Five Precepts, Wholesome course of action, The Noble Eight fold Path, Five Aggregates, and The three characteristics. The writer intended to provide the Buddha’s teaching which is the best and useful for life to the audience and also for his profit in reincarnation. Varnasotra literary type is Surangkhanang 28, a type of traditional that poem, which is shown in the verse of paying homages to the teacher. The others are all written in prose (Roi Kaew) by using the figure of speech and the comparable tales to refer beliefs, faiths and results of action for better imagination. In social aspect, it illustrate the way of life, traditions, the value of stability in belief and Dhamma teachings which are the major affects of the people in the south. These inner affects are generated in daily behavior up to their customs, to show how the real faithfulness and confidence in Buddism they are.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาจารึกภาษาไทย
Collections:
Total Download:
287
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมภาคเหนือและอีสานเรื่องนางแตงอ่อน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Epigraphy / วิทยานิพนธ์ - จารึกภาษาไทยType: Thesisพระมหาโยธิน ปัดชาสี; Yothin Padchasee (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรม เรื่องมหาวงศ์แตงอ่อน ฉบับภาคเหนือ และนางแตงอ่อน ฉบับภาคอีสาน จากต้นฉบบใบลาน ฉบับภาคเหนือ จารด้วยอักษรธรรมเหนือ มีจำนวน 10 ผูก 327 หน้าลาน อายุ พ.ศ. 2369 ... -
การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องภัยยราชฉบับภาคเหนือและภาคอีสาน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Epigraphy / วิทยานิพนธ์ - จารึกภาษาไทยType: Thesisวชรพร อังกูรชัชชัย; Vasharabhorn Ungkunshutchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่อง ภัยยราช ฉบับภาคเหนือ จากสำเนาไมโครฟิล์มของสถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จารด้วยอักษรธรรมล้านนา จำนวน 8 ผูก 309 หน้าลาน จารเมื่อ พ.ศ. 2406 ... -
การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องบัวรม บัวเรียว บัวรอง ฉบับภาคเหนือและฉบับภาคอีสาน
Collection: Theses (Master's degree) - Thai Epigraphy / วิทยานิพนธ์ - จารึกภาษาไทยType: Thesisดอกรัก พยัคศรี; Dokrak Payaksri (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องบัวรม บัวเรียว บัวรอง ฉบับภาคเหนือ จากเอกสารใบลานที่จารด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยถิ่นเหนือ จำนวน 5 ผูก 214 หน้าลาน และฉบับภาคอีสาน จากเอกสารใบลานที่จ ...