ระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อเลือกซื้อที่นอน กรณีศึกษา : บริษัท เพชรฑิฆัมพร จำกัด

Author:
Advisor:
Date:
2010
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อ ที่นอน ของผู้บริโภค และ เพื่อให้ทราบความต้องการในการเลือกซื้อ ที่นอนแต่ละประเภท กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าของบริษัท เพชรฑิฆัมพร จํากัด ที่มาซื้อที่นอน และอยู่ในวัยทํางาน อายุตั้งแต่ 20-59 ปี จํานวน 400 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวัดข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ข้อมูลด้านพฤติกรรม และข้อมูลด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การทดสอบสมมติฐานใช้วิธีการทดสอบ โดยใช้ วิธีการค่าสถิติที (t-test) การวิเคระห์ความแปรปรวน ( ANOVA) และการวิเคราะห์สพสัมพันธ์วิธี Contingency Coefficient โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 25 - 29 ปี การศึกษาระดับ ปริญญาตรีเป็นกลุ่มแม่บ้าน สถานภาพสมรส มีระดับรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ํากว่า 1,000 บาท ประเภทที่ พักอาศัยเป็นห้องเช่าหรืออพาร์ทเมนต์ และมีจํานวนสมาชิกในครอบครัว 4 คน มีเหตุผลในการเลือกซื้อ ที่นอนเพื่อใช้เอง
ปัจจัยในการเลือกซื้อที่นอนอยู่ใกล้สถานที่พักอาศัย บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ของลูกค้าคือ บุคคลในครอบครัวงบประมาณในการเลือกซื้อที่นอนอยู่ที่ราคาระหว่าง 3,001 - 4,000 บาท ประเภทที่นอนที่ต้องการที่สุด คือ ที่นอนสปริงแบบออฟเซ็ทลูกค้าให้ระดับความสําคัญในการ ตัดสินใจเลือกซื้อที่นอนจาก บริษัท เพชรฑิฆัมพร จํากัด ในด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้าน กระบวนการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ละสิ่งแวดล้อมทางกายภาพน้อยที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะค้านประชากรศาตร์ ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ อายุ อาชีพที่แตกต่างกันมีผลทําให้ระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดค้าน ราคาไม่แตกต่างกันและประเภทที่นอน มีความสัมพันธ์กับประเภทที่พักอาศัยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05
Type:
Degree Name:
บริหารธุรกิจบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
188