การศึกษาสุขภาพทางการเงิน : กรณีศึกษา ข้าราชการทหารบกประจำการ ณ ค่ายฝึกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายของกลุ่มบุคคล ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กับข้อมูลความพร้อมทางการเงินและการวางแผนทางการเงินของกลุ่มบุคคลข้าราชการทหารบกประจำการณค่ายฝึกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลประชากรศาสตร์และสุขภาพทางการเงินและการแจกแจงค่าความถี่แบบสองทาง (Crosstabs) และทดสอบสมมติฐานด้วย Chi-Square Test ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 60 8.9 ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 20 ถึง 30 ปี มีสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปวช มีระดับยศอยู่ระหว่าง จ่าสิบตรี จ่าสิบโทและจ่าสิบเอกมากที่สุด มีระดับรายได้ ระหว่าง 10,001 - 20,000 บาท ซึ่งมีงบประมาณในการออมต่อเดือนต่ำกว่า 1,000 บาท และรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 7,001 บาท
2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีรายได้จากแหล่งอื่น เงินสำรองเผื่อฉุกเฉินที่มีอยู่ สามารถใช้ ได้สูงสุดนานไม่เกิน 3 เดือน จะมีการแบ่งเงินไว้พอเพียง 0 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้ต่อเดือน การออมหรือการลงทุนที่เหมาะสมมากที่สุดคือการฝากเงินกับธนาคาร ระยะเวลาในการออมจะใช้เวลา มากกว่า 6 ปี วิธีที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการออมเงินได้คือ ลดค่าใช้จ่าย โดยการนำฝากธนาคาร ประเภทของหนี้สินที่มีมากที่สุดคือหนี้สินจากเงินกู้ระยะยาว
3. การวางแผนทางการเงินเพื่อเป้าหมายในอนาคต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการวางแผนทางการเงินเพื่อเป้าหมายในอนาคต เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ถึงระดับมาก
4. จากการทดสอบ สมมติฐาน ลักษณะประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันส่วนใหญ่จะมีการวางแผนทางการเงินเพื่อเป้าหมายในอนาคตที่ไม่แตกต่างกัน
5. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีผลคะแนนสุขภาพทางการเงินเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 11 ถึง 20 คะแนนหมายถึง สุขภาพทางการเงินระดับปานกลางมีความพร้อมทางการเงินเพื่อรองรับปัญหาฉุกเฉินได้ในระดับปานกลาง
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
47