สถาปัตยกรรมเคลื่อนไหว: ปฏิสัมพันธ์ สถาปัตยกรรมและธรรมชาติ

ชื่อเรื่องอื่น:
Kinetic architecture : interactions of architecture and nature
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2016
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
Kinetic Architecture เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อตอบสนองปัจจัยที่ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอด เช่น ประโยชน์ใช้สอย, สภาพสังคม, ภูมิอากาศ, และธรรมชาติ ซึ่งอิทธิพลต่อการออกแบบเหล่านี้มักถูกพิจารณาในลักษณะที่ครอบคลุมในช่วงเวลานั้นๆ หากแต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจจะมีการเรียกร้องต่อสถาปัตยกรรมภายใต้กรอบเวลาที่แตกต่างกันไป อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกิจกรรมของมนุษย์ภายในหนึ่งวัน หรือ ความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้สอยอาคารจากช่วงวัยที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาหลายปี หรือข้อเรียกร้องของธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นนั้นแล้วสถาปัตยกรรมจะทำงานและตอบสนองต่อปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างไร
ด้วยลักษณะของสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างพลวัตนั้นการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ทำงานร่วมกับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงจึงเป็นวัตถุประสงค์ในการศึกษานี้ ก่อให้เกิดรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เคลื่อนไหวสอดคล้องตามสภาวะของธรรมชาติและได้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างที่ควรจะเป็น รวมทั้งการนำเอาพลังงานที่เกิดจากธรรมชาตินั้นเป็นแรงขับเคลื่อนสถาปัตยกรรมให้ขยับ-เคลื่อนไหวได้โดยไม่ต้องพึ่งพาแรงจากมนุษย์หรือพลังงานอื่นๆ
สถาปัตยกรรมสามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อธรรมชาติอย่างสอดคล้องได้ในรูปแบบที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงนั้นๆ รวมทั้งมีเครื่องมือในการออกแบบที่เหมาะสมและสามารถใช้ประโยชน์จากแรงธรรมชาติต่างกันออกไป ซึ่งปรากฏการณ์ธรรมชาติในรูปแบบของน้ำฝน มีลักษณะที่เอื้อต่อการเคลื่อนไหวสถาปัตยกรรมในองค์ประกอบที่ใหญ่ หรือ กายภาพของสถาปัตยกรรมทั้งหมด ก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ทางพื้นที่ รูปทรง สุนทรียภาพ และประโยชน์ช้สอย สอดคล้องต่อธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไป
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สาขาวิชาสถาปัตยกรรม
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
911
ดู/เปิด
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
สถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมข้าวแถบลุ่มน้ำยมและน่านตอนล่าง
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทผลงาน: Thesisศิโรดม เสือคล้าย; Sirodom Sueklay (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007)วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศโดยรวมของพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของชาวนา ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมข้าวทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม แล้วสำคัญคือศึกษาเนื้อหา ... -
พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน : กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Vernacular Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นประเภทผลงาน: Thesisภาคภูมิ คำมี (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559)“พลวัตเฮือนชาวนาอีสาน: กรณีศึกษาตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร” เป็นวิทยานิพนธ์ที่มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเฮือนชาวนาอีสาน และวิถีชีวิตชาวนาในพื้นที่ศึกษา ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ... -
พุทธสถานอุทยานการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสาน
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Thai Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมไทยประเภทผลงาน: Thesisอนุสรณ์ บุญชัย; Anusorn Boonchai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2007)