ลักษณะพื้นที่กึ่งสาธารณะและพื้นที่สาธารณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ชื่อเรื่องอื่น:
The characteristics of semi-public space and public space which represent the identity of Amphawa community, Samutsongkhram Province
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2559
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพื้นที่กึ่งสาธารณะและพื้นที่สาธารณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ชุมชนอัมพวา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบบันทึกและสำรวจลักษณะกายภายของพื้นที่ 2. แบบสัมภาษณ์ บุคคลสำคัญในชุมชน ผู้อาศัยในชุมชนเป็นเวลานานและกลุ่มนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญทีเกี่ยวข้องกับชุมชนอัมพวาจำนวน 7 คน 3. แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างของประชากรที่อาศัยอยู่ในชุมชนอัมพวาจำนวน 82 ตัวอย่าง หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหาโดยไม่ใช้สถิติ ผลสรุปจากการวิจัยพบว่า อัตลักษณ์ของชุมชนเกิดจากภาพรวมขององค์ประกอบภายในชุมชนที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งทำให้เกิดการรับรู้และความรู้สึกต่อสถานที่ (Sense of place) ของชุมชน ดังนั้นพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะทั้งทางด้านกายภาพและกิจกรรมเป็นพื้นที่ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้และความรู้สึกต่อสถานที่ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ชุมชนได้มากกว่าพื้นที่อื่น ได้แก่ ตลาดน้ำและภูมิทัศน์บริเวณคลองอัมพวา โดยตลาดน้ำมีลักษณะพื้นที่ค้าขายสินค้าบนเรืออยู่บริเวณปากคลองอัมพวาและมีเรือนแถวริมน้ำอยู่สองฝั่งคลอง ส่วนภูมิทัศน์บริเวณคลองอัมพวามีลักษณะเป็นบ้านเรือนอยู่ริมสองฝั่งคลอง ฉากหลังเป็นสวนมะพร้าวและน้ำในคลองมีคุณภาพดี ส่วนลักษณะพื้นที่ที่แสดงให้เห็นถีงอัตลักษณ์ชุมชนอัมพวารองลงมา ได้แก่ ทางเดินเท้าริมน้ำหน้าบ้าน บันไดริมน้ำ ชานริมน้ำหรือศาลาริมน้ำท่าเรือ สะพานคนเดินข้าม ลานวัดอัมพวันเจติยาราม พื้นที่ลานของโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ ซึ่งลักษณะของพื้นที่เหล่านี้เป็นส่วนที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดภาพรวมของชุมชนที่เป็นอัตลักษณ์
จากผลการศึกษาจึงแนะแนวทางในการอนุรักษ์และฟื้นฟูที่กึ่งสาธารณะและพท้นที่สาธารณะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชนอัมพวา เป็นแนวทางที่ผสมผสานระหว่างการเปลี่ยนแปลงใหม่กับโครงสร้างเก่าของชุมชนเข้าด้วยกันและกำหนดแนวทางที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่ทำลายคุณค่าและอัตลักษณ์ของชุมชน ซึ่งเป็นการเสนอแนะแนวลักษณะภาพรวมขององค์ประกอบต่างๆ ภายในชุมชนไม่ได้เฉพาะเจาะจงแค่พื้นที่กึ่งสาธารณะและพื้นที่สาธารณะเท่านั้นเพราะการที่ชุมชนจะมีอัตลักษณ์ได้นั้นจะต้องเกิดจากภาพรวมขององค์ประกอบต่างๆ ภายในชุมชนที่ก่อให้เกิดการรับรู้และความรู้สึกต่อสถานที่ (Sense of place) ของชุมชน
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
การออกแบบชุมชนเมือง
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
1318
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
ความเข้มแข็งของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ตลาดน้ำอัมพวา ตำบลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คอลเลคชัน: วิทยานิพนธ์ประเภทผลงาน: Thesisญดาศจี ระเบียบกุล; Yadasajee Rabiebkul (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010) -
การศึกษาสถานการณ์สภาวะปัจจุบันของตลาดน้ำเพื่อการพัฒนา : กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คอลเลคชัน: Theses (Bachelor's degree) - General Business Management / สารนิพนธ์ – การจัดการธุรกิจทั่วไปประเภทผลงาน: Thesisดวงพร พรรณพนาวัลย์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2008)การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการ ความต้องการซื้อสินค้าหรือบริการของนักท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความต้องการขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการ ศึกษาปัจจัยส่วนประกอบทางก ... -
ประเมินผลโครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์มูลนิธิชัยพัฒนา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คอลเลคชัน: Theses (Master's degree) - Public Administration / วิทยานิพนธ์ – รัฐประศาสนศาสตร์ประเภทผลงาน: Thesisรัญสญา สหฤทานันท์; Ransaya Saharutanan (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2011)