การประพันธ์เพลงโดยการผสมผสานระหว่างดิเกร์ฮูลูและเร็กเก้ดั๊บ

Other Title:
Compositions based on hybridisation of Dikir Hulu and Reggae Dub culture
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2559
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยชิ้นนี้ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะประพันธ์เพลงโดยการนำจังหวะของดนตรี ดิเกร์ฮูลูมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาและขยายจังหวะเพื่อให้เกิดจังหวะใหม่ในบทประพันธ์ และผสมผสานจังหวะของดนตรีดิเกร์ฮูลูที่ได้จากการพัฒนาเข้ากับดนตรีเร็กเก้ดั๊บ ดิเกร์ฮูลูเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวมุสลิมในแถบสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เป็นการแสดงที่มีการขับร้องประกอบจังหวะ และมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตัวอันโดดเด่นในเรื่องของจังหวะ เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นหลักประกอบด้วย รำมะนา และฆ้อง ไม่มีเครื่องดนตรีสร้างเสียงประสาน เนื่องจากผู้วิจัยมีภูมิลำเนามาจากจังหวัดยะลา ได้รับการซึมซับในสำเนียงของจังหวะดิเกร์ฮูลูตั้งแต่กำเนิด เห็นความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาในส่วนของดนตรีดิเกร์ฮูลู จึงเลือกศึกษาศิลปะการ แสดงพื้นบ้านดิเกร์ฮูลูมาพัฒนารูปแบบทางดนตรี โดยการนำเอาดนตรีเร็กเก้ดั๊บจากประเทศจาไมก้ามาใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาและผสมผสาน
จากการศึกษาดนตรีเร็กเก้ดั๊บพบว่า มีวิวัฒนาการที่นำเอาจังหวะกลองพื้นบ้าน ของแอฟริกันมาพัฒนา และขยายจังหวะสู่กลองชุด และเพิ่มเสียงประสานด้วย เครื่องดนตรีสากลชนิดต่าง ๆ เช่น กีตาร์ เบส และคีย์บอร์ด จนมีวิวัฒนาการทางดนตรี ของประเทศจาไมก้า และประสบผลสำเร็จทางดนตรีจนเป็นที่รู้จักในระดับสากลแต่ดิเกร์ฮูลูยังไม่ได้รับการพัฒนาและผสมผสานในส่วนของดนตรี
ผู้วิจัยจึงเลือกดนตรีเร็กเก้ดั๊บมาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาและผสมผสานเข้ากับ ดิเกร์ฮูลู โดยการปรับเปลี่ยนพื้นฐานการสร้างและการขยายจังหวะด้วยจังหวะรำมะนา ของดิเกร์ฮูลู ผ่านงานประพันธ์ 3 บทเพลง ได้แก่ เบตง ดั๊บทาวน์ (Betong Dub town) อัยเยอร์เวง (I jah weng) และ
ยะหา ริดดิม (Yaha Riddim)เพื่อเป็นแบบอย่างในการพัฒนารูปแบบทางดนตรีพื้นบ้านดิเกร์ฮูลูอีกทางหนึ่ง และเป็นการรักษาศิลปะวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านให้คงอยู่ และช่วยเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
Type:
Degree Name:
ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
323