คติการสร้างพระพุทธรูปไม้ในล้านนา

Other Title:
Concept on the building of wooden buddha images during Lanna period
Author:
Date:
2011
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
พระเจ้าไม้หรือองค์พระปฏิมาที่สร้างด้วยไม้ ได้ถูกนำมาเชื่อมโยงเกี่ยวกับเรื่องของ “อานิสงส์” ซึ่งหมายถึงผลแห่งกุศลกรรม หรือประโยชน์อันจะได้รับจากการได้ทำบุญหรือได้สร้างประโยชน์ไว้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่าการทำบุญทำกุศลอันมีเจตนาบริสุทธิ์ ย่อมได้รับผลแห่งบุญนั้นตอบแทน แม้สิ่งที่ทำจะมีมูลค่าเล็กน้อยก็ตาม เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องอานิสงส์ต่าง ๆ นั้น ความเชื่อเหล่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์ของพญาเมืองแก้ว แต่หลักฐานเก่าที่สุดเท่าที่พบในขณะนี้อยู่ในช่วงปี พ.ศ.2247 ที่เมืองน่านมีการสร้างอย่างต่อเนื่องจนถึงช่วงที่ล้านนาได้ขับไล่พม่าออกจากล้านนา ได้มีการกวาดต้อนกลุ่มชาติพันธ์ไท เช่น ไทลื้อ ไทเขิน ไทยอง มาตั้งถิ่นฐานทั่วไปในล้านนา ซึ่งถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดในการสร้างพระพุทธรูป ได้มีสร้างพระเจ้าไม้ให้กับพระพุทธศาสนาเป็นรูปแบบสกุลช่างพื้นถิ่น ด้วยความศรัทธาในศาสนามนุษย์ได้นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาสร้างแทน พระเจ้าไม้ในยุคนี้ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หลากหลาย ส่วนคติการสร้างพระพุทธรูปไม้ล้านนา จะมีกรอบแนวคิดเดียวกันทั้งหมด คือ ค้ำชูศาสนาตราบ 5000 ปี เป็นที่ไหว้บูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ญาติ หรือสัตว์ที่ล่วงลับ เพื่อแก้คำบนบานสานกล่าวและสร้างเป็นพระเจ้าชะตา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวผู้สร้างเอง ต่อท้ายด้วยคำปรารถนาอานิสงส์ที่ได้จากการถวาย คือ สุข 3 ประการ สุขบนโลกมนุษย์ โลกสวรรค์ โลกพระนิพาน ปรารถนาไปเกิดเป็นพระอรหันต์ในยุคพระศรีอาริย์ ปรารถนาไปเกิดบนสวรรค์ชั้นฟ้า ปรารถนาให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ และปรารถนามีปัญญาดุจแม่น้ำทั้ง 5 สาย
กล่าวได้ว่า พระเจ้าไม้ล้านนา เป็นรูปแบบสกุลช่างใหม่ที่เกิดขึ้นใหม่ที่ผสมผสานความเชื่อเรื่องของอานิสงส์มากมายนานัปการ ที่พุทธศาสนิกชนเชื่อว่าถ้าได้สร้างถวายให้กับพระพุทธศาสนาแล้ว กุศลผลบุญที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้จักน้อมนำผู้คนเหล่านี้มีความสุขทั้งชาตินี้ ชาติหน้า และชาติต่อ ๆ ไป ดังจารึกฐานพระเจ้าไม้ได้กล่าวว่า “สุขที่เมืองมนุษย์ สุขที่เมืองสวรรค์ และสุขแห่งพระนิพาน” เทอญ Pra-Chao-Mai is an image of Buddha made of wood. It is concerned with belief of “A-Ni-Song”, which is meant to a consequence of virtue that will be gained by making favorable sacrifices for Buddhism. Lanna People (Natives who live in the area formerly comprising the old Kingdom of Lanna) have been believing that their sincere devotion will let them obtain good result of merit, even though the good things they’ve done are less worthy. According to Lanna history, beliefs of A-Ni-Song have been occurred since the dynasty of Mang Rai. It referred to a building of Buddha statue made of sandalwood by Phaya Muang Kaew However , the oldest evidence which have recently found is in duration of 1704. It mentioned to the building of Buddha images which were frequently built at that time. Until the period of the end of Burmese rule, the Kingdom of Lanna captured and herded many Tai ethnic groups, including Tai Lue, Tai Kuen, and Tai Yong. Then, they settled down in the kingdom. It concerned with their influence on the form of Buddha images which had been obviously changed. Due to people’s faith in Buddhism, those of Pra-Chao-Mai were built for worshiping the Buddha. Their form depended on traditional form of each native expert sculptor group and available local materials for building as well. Therefore, those of Pra-Chao-Mai in this era rather had various identities. Nevertheless, there were the same purposes which are to support Buddhism until B.E. 5000 henceforth to building sacred statues for worshiping by all Buddhists and other gods in natives’ faiths, to be the point for praying for ancestors and any deceased creatures, to redeem a vow to the Buddha, and to be an honor and virtue for all contributors as well. People attend Buddha image’s building with hope for attaining A-Ni-Song as three of happiness : happiness on the earth, happiness on heaven, and happiness of nirvana. They also wish to reincarnate as Buddhist saint in the next era of Maitreya (in B.E. 5000) to ascend to heaven, to have faith healing, and /or to get sage.
The new form of Pra-Chao-Mai was created by new era sculptor group The rationale for building still involved with Buddhists’ belief that they will gain lot of A-Ni-Song by building Buddha images for their religion. These will let them found delight in recent life, next life, and life after next life, as the inscription on base of Pra-Chao-Mai that “Happiness on the Earth, Happiness on Heaven, and Happiness of Nirvana, Amen”
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
1027