การศึกษาอิทธิพลศิลปะเขมรที่มีต่อสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทน์ตอนต้น

Other Title:
A study of the Khmer influence on architecture during early Bangkok period
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอิทธิพลศิลปะสถาปัตยกรรมเขมร ในด้านรูปแบบ คติ แนวคิดรวมทั้งวิวัฒนาการทางสถาปัตยกรรมของไทย ที่สืบเนื่องตั้งแต่กรุงสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เอกสารจากหอสมุด 2) สำรวจสถานที่และเก็บข้อมูล 42 แห่ง
ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลศิลปะเขมรเข้าสู่สถาปัตยกรรมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัตนโกสินทร์ได้แก่พระปรางค์ พระอุโบสถและพระวิหาร พระมณฑป หน้าบัน พระระเบียง และประติมากรรม
พระปรางค์ได้พัฒนารูปทรง เพิ่มฐานประทักษิณขึ้นเป็น 2-3 ชั้น ฐานปรางค์เพิ่มขึ้นเป็น 4-6 ชั้น เรือนธาตุเป็นแบบก่อทึบตัน ซุ้มทิศที่ยื่นออกมาเป็นบันแถลงลดชั้น ส่วนยอกนิยมทรงฝักข้าวโพด รองลงมาทรงงาเนียมมีการนำประติมากรรมลอยตัวมาประดับชั้นต่าง ๆ พระอุโบสถและพระวิหารมีความสำคัญกว่าพระปรางค์ พระปรางค์จึงไม่อยู่ในตำแหน่งประธานของวัด พระมณฑปยึดรูปแบบทรงสี่เหลี่ยม หลังคาเปลี่ยนไปตามยุค ความสำคัญอยู่ที่การตกแต่งทั้งภายนอกและภายใน หน้าบันยังคงเป็นรูปพระรายณ์ทรงครุฑ รองลงมาเป็นรูปเทวดาในที่ต่าง ๆ ล้อมด้วยลายกนกแบบไทย ลายพันธุ์พฤกษาดัดแปลงเป็นต้นไม้ดอกไม้ไทย ในสมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มใช้กระเบื้องหรือกระจกประดับแบบจีน พระระเบียงมีการล้อมทั้งวัดเป็นครั้งแรกในยุคนี้ และได้ลดความสำคัญจากคติว่าเป็นขอบจักรวาลเป็น สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูป ประติมากรรมครุฑเป็นแบบไทย นาคเศียรเดียวเป็นนาคไทย นาค 5,7 เศียรเป็นงูแบบเขมร รูปสิงห์เลียนแบบเขมร รูปสัตว์หิมพานต์สร้างลอยตัว รูปตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์สร้างเป็นลิงแบก The purposes of this research were to study the influence of Khmer the form and ideology on the architectural design to be used on the Thai Royal construction, which included the development during early Bangkok period.
The means of the research came from 1) the collective of documents. 2) 42 places field survey and questionnaire from 42 places.
The influences of the Khmer architecture appeared in Thai constructions from Sukhothai Period, to the early Rattanakosin period. The main architecture was Phra Prang ; Uposatha and Monastery hall ; Square Spire Pavilion ; Pediment ; Cloister, and Sculpture.
Phra Prang was developed from 0 – 1 to 2 – 3 walking base, and 4-5 Prang bases more layers. The main shrine was 2 – storey roof. The top of Phra Prang was corn like shape and the short ivory shape was the second, added on storey with the round sculpture. The Uposatha and Monastery hall was placed in the principle so Phra Prang stood in the minor of temple. Square Spire Pavilion, the roof was changed depending on the period. That impressed with many decoration. The Pediment still depicted Vishnu on Garuda and sometime Deities in the heaven. The depicting of Khmer floral motif became Thai. In the King Rama III period, they began to put the ceramic mosaic for the exterior decoration. It was the first time that the Cloister extended around the whole temple, so the Cloister was not the same symbol as the edge of the galaxy but now it was only the place for standing the image of Buddha. The sculpture, Garada and Naga were the Thai style but the 5 or 7 heads of Naga and Singha were still Khmer. The animal from Himavan was round sculpture. The monkeys in the story of Ramayana were atlantes monkeys.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
613