การศึกษาความหมายและรูปแบบของตราประทับสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อเรื่องอื่น:
A study on the identification and art styles of seals in the early historical period at Uthong National Museum, Uthong, Suphan Buri
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2004
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตราและตราประทับที่พบในบริเวณเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อจัดหมวดหมู่ตราประทับ เพื่อศึกษาความหมายและลักษณะทางประติมานวิทยา เพื่อทราบหน้าที่ ประโยชน์ใช้สอย และเพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของตราประทับที่พบในเมืองอู่ทองกับเมืองโบราณอื่น ๆ
ผลจาการศึกษาวิจัยสามารถแบ่งประเภทของตราประทับเป็น 2 ประเภทคือ ตราประทับ (seals) และ ตราดินเผา (backed clay sealings) และทราบว่าตราประทับเป็นวัตถุที่ไม่ได้เกิดขึ้นในท้องถิ่น แต่เป็นการนำเข้ามาพร้อม ๆ กับการเผยแพร่ของอารยธรรมอินเดียโดยพ่อค้า นักแสวงโชคและนักบวชในศาสนาที่ใช้ตราประทับเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันและใช้ติดต่อสื่อสารกับชาวพื้นเมือง
ตราประทับอู่ทองมีรูปแบบลวดลายที่มีอิทธิพลของอินเดียสมัยกุษาณะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 6-9) และอินเดียสมัยคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 9-11) ในช่วงต่อมาจึงมีรูปแบบที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น
ลวดลายของตราประทับส่วนใหญ่เป็นสัตว์มงคลและสัญลักษณ์มงคลของอินเดีย นอกจากนั้นเป็นลวดลายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของเทพและรูปเทพเจ้าในศาสนาพุทธและพราหมณ์ ภาพเล่าเรื่องชีวิตของผู้คนเป็นตัวอักษรพราหมีสมัยคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 10-11) และตัวอักษรปัลลวะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 11-13)
วัสดุที่ใช้ทำส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว มีบ้างที่เป็นงาช้างและหิน แต่ลวดลายแตกต่างกันมากซึ่งอาจแสดงลักษณะการใช้งานที่ต้องการมีรูปแบบเฉพาะตน ลวดลายที่เหมือนกันอาจแสดงถึงความเป็นกลุ่มเดียวกัน
การใช้งานตราประทับใช้ติดต่อสื่อสารในลักษณะเป็นตราประจำตัว บางส่วนเป็นเครื่องราว
ความรู้จากการศึกษาตราประทับช่วยย้ำถึงความสำคัญของเมืองอู่ทองในฐานะเมืองท่าศูนย์กลางการค้าเมืองหนึ่งที่มีพัฒนาการสืบเนื่องและมีส่วนสำคัญในการรับและเลือกสรรวัฒนธรรมอินเดียมาผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นพร้อมกับเมืองโบราณอื่น ๆ กลายเป็นลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าวัฒนธรรมทวารวดีที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน The aim of this research is to study on seals found at Uthon Suphan buri. This Thesis tried to classify the typology, to identify the usage and to find out the relations between seals found within Uthong area and the other ancient cities.
According to the research, the seals can be divided into 2 categories 1) seals and 2) sealings. Furthermore, seals were not locally manufactured but imported by merchants. Adventurers, and priests who use seals and sealings for communication among their groups and the local people along with the expansion of Indian influence.
In the early stage, the design of Uthong seals were influenced by Kushana period (1-4 A.D.) and Gupta period (4-6 A.D.). Later on, the local seals and sealings were manufactured.
Most of the design of seals bear the auspicious symbols. Besides, the design are concerned with the symbols of Brahmanical and Buddhist deities and the local style of living, Some of them are inscribed with the Brahmi scripts of Gupta period (5-6 A.D.) and Pallava scripts (6-8 A.D.)
The material used are mostly clay and some are ivory and stone. The difference in design can idicate the different usage. On the other hand, the same design might have been used by the same group.
The usage of seals is for communication in the means of individual seal, and some were used as amulets.
The study on seals can confirm how Uthong was important as the central port which developed continually. And Uthong, like the other contemporary cities had played the important role in selecting many elements of Indian culture and integrating with local culture known as “Dvaravati culture” which was extremely prosperous during the 7th – 11th A.D. in the central part of present Thailand.
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
1225