การศึกษาปัจจัยในการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณซับจำปา

Other Title:
A study of settlement resources at Sab Champa
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณซับจำปา ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่สูงทางตะวันออกของที่ราบภาคกลาง โดยได้ปรากฏร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย (ยุคเหล็ก) จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ (ทวารวดี) ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นในปี พ.ศ. 2544-2545 ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งถิ่นฐาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนซับจำปากับชุมชนโบราณอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง
จากผลการวิจัยสามารถแบ่งปัจจัยการตั้งถิ่นฐานของเมืองซับจำปาได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ที่สามารถสนองความต้องการของคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ได้อย่างเพียงพอ และปัจจัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ตั้งของเมืองอยู่ใกล้ช่องเขาขาด อันเป็นเส้นทางที่คนสมัยโบราณใช้เดินทางระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน ทำให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งที่มีความสำคัญในสมัยทวารวดี The main purpose of this thesis is to study various factors related to the settlement of ancient community at Sab Champa which is located on the eastern highland of the central plain region in Thailand. This multicomponent archaeological site shows successive occupation dating from late prehistoric (Iron Age) to early historic period (Dvaravati). The researcher studied various lines of archaeological evidence derived from recent excavations in 2001-2002 to find out and to study factors contributing to the settlement pattern and the relationship between Sab Champa and nearby ancient communities.
Results of this study indicate that there are two main factors for the settlement of ancient community at Sub Champa : the physical factor and the economic factor. The physical factor is the prosperity of region and its ability to fulfill the occupants needs. The economic factor is that ancient town of Sab Champa was located in the center as a hub of communications between central and northeastern regions of Thailand. These two main factors had made Sab Champa became an important trade center during the late prehistoric to Dvaravati period.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
459