การศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่างในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 24

Other Title:
A study of cultural development of the ancient settlements in the Lower Nan Valley prior to the 18th century A.D.
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่างในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 โดยทำการศึกษาและรวบรวมเอกสารทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางโบราณคดีทุกประเภท ได้แก่ รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ การขุดค้นทางโบราณคดี รวมทั้งการสำรวจตรวจสองข้อมูลภาคสนามโดยผู้วิจัยเอง จากนั้นจึงนำหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้ศึกษามาวิเคราะห์และเปรียบเทียบ
ผลการศึกษาพบว่ามีชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่างทั้งหมด 40 แห่ง โดยแบ่งเป็นเมืองโบราณและชุมชนโบราณ 18 แห่ง และแหล่งโบราณคดีอีก 22 แห่ง เช่น แหล่งเกลือ แหล่งแร่เหล็ก แหล่งเตาเผาโบราณและแหล่งชุมชนโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานดังกล่าวเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านตอนล่างซึ่งแบ่งออกได้ 3 สมัยคือ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์(สมัยหินเก่า – สมัยโลหะ) เป็นชุมชนในสังคมล่าสัตว์ – หาของป่าเป็นอาหาร ใช้เครื่องมือหินและโลหะเป็นอาวุธ กำหนดอายุได้ประมาณ 400,000 – 1,800 ปีมาแล้ว
สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ (สมัยทวารวดี – ลพบุรี) เป็นชุมชนร่วมสมัยกับวัฒนธรรมทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทย กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-18
สมัยประวัติศาสตร์ (สมัยสุโขทัย – อยุธยา) เป็นชุมชนที่เจริญขึ้นเพราะเป็นเส้นทางการค้าและมีเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อกับชุมชนโบราณอื่น กำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18-23 The purpose of this research is to study the cultural development of the ancient settlements in the lower Nan Valley prior to the 18th century A.D. The method of study is to 1.) collect the data historical documents , archaeological data, archaeological reports that concern sites and monuments, as well as archaeological finds from the sites 2.) survey the sites 3.) analyze the distinctive finds.
The results of the study indicate that there are 40 archaeological sites, including salt sites, iron ore sites and old kiln sites. This evidence shows roles of cultural development in ancient communities of people in the lower Nan Valley. It can be devided into 3 periods as follows :-
The Prehistoric Period (Palaeolithic Period – Bronze and Iron Age)
The people would be categorized as hunter – gatherer societies. They used stone and metal tools. It dates from 400,000 to 1,800 years ago.
The early Historic Period (Dvaravati – Lop Vuri Period) It was a contemporary community with Dvaravati – Lop Buri communities in Central Thailand. It dates from about the 7th – 13th centuries A.D.
The Historic Period (Sukhothai – Ayutthaya Period) This period, the communities flourished as trade route communities. It dates from the 13th – 18th centuries A.D.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546 Thesis (M.A. (Historical Archaeology))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
69
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การศึกษาเปรียบเทียบแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนล่าง ฝั่งใต้ของลุ่มแม่น้ำมูลตอนล่างและลุ่มแม่น้ำสงครามตอนบน
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Archaeology / สารนิพนธ์ – โบราณคดีType: Thesisนิชนันท์ กลางวิชัย (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2005) -
พฤติกรรมการอนุรักษ์แม่น้ำของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนที่มีพื้นที่ติดแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisขนิษฐา ใจเย็น; Khanitha Jaiyen (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2012) -
ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์แม่น้ำท่าจีน ของพระสงฆ์ในวัดบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดนครปฐม
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisดรุณี ทรัพย์ผล; Darunee Suppon (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010)