การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา

Other Title:
The study of religious of Dvaravati communities in the middle Chi Valley : case study of clay votive tablets
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง โดยศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีที่พบในเมืองโบราณทั้ง 4 แหล่ง ในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง คือ เมืองจำปาศรี อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เมืองกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเมืองไพร อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ทั้งนี้เพื่อต้องการทราบถึงรูปแบบและคติความเชื่อในการสร้างพระพิมพ์สมัยทวารวดีที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางว่าได้รับอิทธิพลจากแหลางใดบ้าง ตลอดจนความแพร่หลายของพระพิมพ์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนในบริเวณลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางและชุมชนอื่น
จากการศึกษาพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดีในเมืองโบราณทั้ง 4 เมือง สามารถจัดกลุ่มพระพิมพ์ได้ 8 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางยมกปาฏิหาริย์ 2. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางสมาธิ 3. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรก 4. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางประทับยืน 5. กลุ่มพระพิมพ์ดินเผาปางวิตรรกะมุทรา 6. พระพิมพ์ดินเผาปางอภัยมุทรา 7. พระพิมพ์ดินเผากลุ่มพระแผง 8. กลุ่มพระโพธิสัตว์
พระพิมพ์ดินเผาที่พบในชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางแห่งนี้ ได้รับรูปแบบศิลปะมาจากศิลปะทวารวดีจากภาคกลางของประเทศไทยที่แผ่เข้ามาในราวพุทธศตวรรษที่ 13 และผสมผสานกับรูปแบบแบบเขมรและแบบท้องถิ่นจนบางพิมพ์เกิดเป็นลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเอง คติในการสร้างพระพิมพ์เหล่านี้ก็มีเป็นคติจากพุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน แต่มีความนิยมในการนับถือแบบเถรวาทเป็นหลัก ซึ่งคล้ายกับวัฒนธรรมทวารวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา พระพิมพ์เหล่านี้มีอายุอยู่ในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งภายหลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 นี้เอง รูปแบบการทำพระพิมพ์สมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำชีตอนกลางก็ได้หายไป เนื่องจากอิทธิพลของวัฒนธรรมแบบเขมรที่เข้ามาอย่างชัดเจนเป็นผลให้วัฒนธรรมทวารวดีเสื่อมลง และพบว่าพระพิมพ์ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมานั้น เป็นพระพิมพ์ที่ทำจากสำริด และมีคติการทำที่มาจากพุทธศาสนานิกายมหายานอย่างชัดเจน ส่วนจุดประสงค์ของการทำพระพิมพ์ก็เพื่อ เป็นการทำบุญและอุทิศส่วนกุศลอย่างหนึ่ง การทำพระพิมพ์นั้นก็ใช้เพื่อเป็นสื่อในการอนุโมทนาขอผลบุญและอุทิศส่วนกุศลให้บังเกิดผลไปตามจุดประสงค์ที่ผู้ที่ทำขึ้นนั้นได้หวังไว้ โดยนำไปอุทิศให้กับการสร้างศาสนาสถานคือ เจดีย์ต่าง ๆ คล้ายกับพระพิมพ์ดินเผาแบบทวารวดีในภาคกลางของประเทศไทยที่มีคติการสร้างเพื่อสืบพระศาสนา This thesis is intended to study on “Religious belief of Dvaravati communities in the middle Chi valley” especially the Dvaravati clay votive tablets found from 4 ancient in the Chi valley : 1) Muang Champasri in Nadun District and 2) Muang Kanthara in Kandravichai District in Mahasarakham Province, 3) Muang Fa Dead Song Yang in the District of Kamalasai, Kalasin Province and 4) Muang prai in the District of Saelaphum, Roi-et Province.
Votive tablets in the middle Chi valley area can be devided into 8 groups : 1. Votive tablets showing the Miracle of the Buddha, 2) votive tablets showing Buddha in Dhyanamudra, 3) votive tablets showing Buddha sheltered by Naga, 4) votive tablets showing standing Buddha, 5) votive tablets showing Buddha in Dharmacakra mudra, 6) votive tablets showing Buddha in Abhayamudra, 7) votive tablets showing several rows of Buddha figures, 8) votive tablets showing Bodhisattva.
And from the Analysis, these 8 groups of votive tablets received strong influence from Dvaravati style of the Central Plain (ca. 8th century A.D.) and from the Khmer style in the middle Chi valley. It is noticed that some of them had been produced by the local artists. Dvaravati votive tablets in the middle Chi valley were under the influence of Theravada and Mahayana Buddhism, and they can be date d to the 9th – 11th century A.D.
For the survival of Buddhism of Buddhism, besides Buddha images, the Buddhists preferred to produce a large number of votive tablets. They also believed that they could accumulate merit by the number of the tablets they had made.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. Thesis (M.A. (Historical Archaeology))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
261