การศึกษาคติความเชื่อของชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน : กรณีศึกษาจากพระพิมพ์ดินเผา

Other Title:
The study of religious beliefs of Dvaravati communities in the Mae-Klong and Tha-Chin basin : case study of clay votive tablets
Author:
Subject:
Date:
2003
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาพระพิมพ์ดินเผาสมัยทวารวดี ที่พบตามชุมชนโบราณในเขตลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน ทั้งที่ได้จากการขุดค้นและที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ของเอกชน ทั้งนี้เพื่อแปลความเกี่ยวกับคติความเชื่อทางศาสนาของชุมชนโบราณในบริเวณนี้ ในช่วงเวลาที่วัฒนธรรมทวารวดีเจริญรุ่งเรือง (พุทธศตวรรษที่ 12-16)
จากการศึกษาพบว่า พระพิมพ์ดินเผาที่พบในบริเวณดังกล่าว สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1. พระพิมพ์รูปพระพุทธรูปองค์เดียว, กลุ่มที่ 2 พระพิมพ์รูปพระพุทธรูปประกอบกับรูปสถูป, กลุ่มที่ 3 พระพิมพ์รูปพระพุทธรูปประกอบกับรูปบุคคลอื่นหรือรูปพระพุทธรูปหลายองค์, กลุ่มที่ 4 พระพิมพ์รูปพระพุทธเจ้าหลายองค์ และกลุ่มที่ 5 พระพิมพ์รูปอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้า
จากการเปรียบเทียบพบว่า พระพิมพ์เหล่านี้แบ่งออกได้เป็น 2 สมัย คือ ยุคแรก เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบอมราวดี คุปตะ และหลังคุปตะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพิมพ์ในคาบสมุทรภาคใต้ และพระพิมพ์สมัยทวารวดีทางภาควันออกเฉียงเหนือ ส่วนยุคที่สอง เป็นพระพิมพ์ที่ได้รับอิทธิพลศิลปะอินเดียแบบปาละ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-16 ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบกับพระพิมพ์ในประเทศพม่า และพระพิมพ์สมัยหริภุญชัยทางภาคเหนือ
จากการวิเคราะห์ตีความพบว่า พระพิมพ์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยคติความเชื่อทางพุทธศาสนา ทั้งที่เป็นนิกายเถรวาทและนิกายมหายาน ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทำบุญและสืบต่ออายุพุทธศาสนา พระพิมพ์บางแบบก็เป็นสิ่งที่คิดประดิษฐ์ขึ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของดินแดนแถบนี้ โดยอาศัยเรื่องราวคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาทั้ง 2 นิกายดังกล่าว และยังมีพระพิมพ์บางแบบที่บ่งชี้ว่า มีการหยิบยืมรูปแบบคติความเชื่อของนิกายมหายาน ไปใช้ในนิกายเถรวาทด้วย พระพิมพ์เหล่านี้จึงเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในเขตลุ่มแม่น้ำแม่กลองและท่าจีน มีการนับถือพุทธศาสนาทั้ง 2 นิกาย และในบางครั้งก็มีการผสมผสานคติความเชื่อของทั้ง 2 นิกายเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังแสดงถึงความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาในดินแดนใกล้เคียง ทั้งในภูมิภาคอื่นของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ที่อยู่ในช่วงเวลาร่วมสมัยกันด้วย แต่อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนานิกายเถรวาทก็คงเป็นนิกายหลัก ที่นิยมนับถือกันในชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในบริเวณแถบนี้ มากกว่านิกายมหายาน แม้ว่าจะปรากฏหลักฐานการเจริญขึ้นของทั้ง 2 นิกายนี้พร้อมกันก็ตาม This thesis is intended to study votive tablets of Dvaravati period which were found from the area of Mae-klong and Tha-Chin Basin. These votive tablets were excavated kept in national museums and private collections. This study also aims to interpret the religious beliefs of the ancient community in this area during the prosperity of Dvaravati period (7-11 century A.D.)
Votive tablets in this area can be divided into 5 group ; group 1. Votive tablets showing single Buddha, group 2. Votive tablets showing Buddha and stupas, group 3. Votive tablets showing Buddha and attendants, group 4. Votive tablets showing multiple Buddha and group 5. Votive tablets showing Others.
From the studying, these 5 groups of votive tablets could be dated for 2 periods. The first period of votive tables was influenced by Amaravati, Gupta and Post-Gupta style around 7-9 century A.D. The style of first period of votive tablets was related to those found in the Southern Peninsular and Dvaravati votive tablets found in the Northeastern Thailand. The second period of votive tablets was influenced by the Pala style around 10-11 century A.D. The style of second period votive tablets was related to those found in Burma and Haripunjaya in the Northern Thailand.
The results of study found that these votive tablets were made by the Theravada and Mahayana Nikaya beliefs in order to make merits and to renew Buddhism. Some votive tablets were made as the identity of the area based on the both Nikaya of Buddhism. Some votive tablets indicate the imposition of Mahayana beliefs in the Theravada beliefs. Those votive tabkets are the evidence that the ancient communities during Dvaravati period in this Basin believed in Buddhism in both branches and sometime these was the mixture beliefs of these branches. It also indicated the relationship of Buddhist beliefs with neighbouring regions in Thailand and neighbouring countries in contemporary period. However, the Theravada Nikaya was the dominant belief in the ancient Dvaravati community, even though the progress of these two branches was found.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546. Thesis (M.A. (Historical Archaeology))--Silpakorn University, 2003
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
401