การศึกษาทางด้านโบราณคดีของชุมชนโบราณในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียงถึงพุทธศตวรรษที่ 19

Other Title:
A study of ancient archaeological communities at Sathingphra district, Songkhla province and its vicinity up to the 14th century A.D.
Subject:
Date:
2002
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านโบราณคดี ของชุมชนโบราณในเขตอำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง โดยทำการศึกษาแหล่งโบราณคดี จำนวน 23 แหล่ง เพื่อให้ทราบปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทความสำคัญของชุมชนโบราณแห่งนี้ ซึ่งปัจจัยด้งกล่าวได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษาครั้งนี้ยังทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณในเขตอำเภอสทิงพระ และบริเวณใกล้เคียง กับชุมชนโบราณร่วมสมัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ตีความ ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีทุกประเภท เช่น โบราณวัตถุ โบราณสถาน ที่ได้จากการสำรวจ ขุดค้นทางโบราณคดีในแหล่งโบราณคดีในเขตอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนศึกษาแหล่งโบราณคดีร่วมสมัย ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ :-
1. ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 พบว่าชุมชนโบราณแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับอินเดีย เริ่มก่อตัวเป็นชุมชนถาวร
2. สมัยวัฒนธรรมศรีวิชัย พุทธศตวรรษที่ 13 – 18 ยังมีความสัมพันธ์กับอินเดีย รวมถึงชุมชนร่วมสมัยอื่น ๆ เช่น อินโดนีเซีย และจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอินโดนีเซียหรือชวาภาคกลาง ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์อันเด่นชัดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 14 – 16 นอกจากนี้ยังพบว่า บทบาทสำคัญของชุมชนโบราณแห่งนี้คือ การเป็นเมืองคลังสินค้า (entropot) ในสมัยวัฒนธรรมศรีวิชัย ทั้งยังเป็นเมืองที่ผลิตภาชนะดินเผาส่งออกไปยังแหล่งต่าง ๆ
3. ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 – 18 มีความสัมพันธ์กับจีนในสมัยราชวงศ์ซุ่งและหยวน รวมถึงความสัมพันธ์กับกัมพูชา
4. ช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 พบว่ามีความสัมพันธ์กับศรีลังกาด้านพุทธศาสนา และยังคงมีความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ ต่อเนื่องมา The purpose of this research is to explain how and when the ancient communities in Sathing Phra District, Songkhla, became the important sites of cultures in historical archaeological viewpoints.
The study was undertaken by means of archaeological methods, i.e. site survey (of 23 in number), archaeological finds analysis, geological data analysis and natural resources analysis. The result of the study leads to the conclusion that the development of the communities during the 7th – 14th centuries AD depended largely on their own potential adaptation when came into contact with other local communities and with oversea communities.
These findings obtained. In the 7th – 8th centuries AD the communities were affected by the Indian concept of the Hindu – Buddhist cults, which caused religious art and pattern of Indian culture development.
From the 8th to the 12th centuries AD, though the Indian culture precursor to the Srivijayan culture, it gradually faded away, the Sathing Phra’s communities were greatly influenced by the Javanese Srivijaya. It is evident that the Javanese images of Mahayanism, i.e., Tara, were found in Sathing Phra. And under the trade – policy of Srivijaya, the Sathing Phra’s communities were into the Zenith between the 9th – 10th centuries, for some communities acted as a port or an entrepot of Srivijaya.
In the 12th – 13th centuries when the political power of Srivijaya declined, the ports in Sathing Phra had survived and were engaged in ceramic trades with China and Cambodia. It is evident that Chinese Sung and Yuan wares and images of Khmer style were found in many sites of Sathing Phra and a site called Pa – O was known as a man7facturing site for export local pottery.
The last contact with oversea country was in the 14th century. It is evident that Sathing Phra came into a direct contact with Sri Lanka in order to renew the Theravadin Buddhist relationship.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 Thesis (M.A. (Historical Archaeology))--Silpakorn University, 2002
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
192