พัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณตามลำแม่น้ำบางขาม ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

Other Title:
Cultural development of ancient communities along the Bangkham River, Tambon Bangpueng, Amphoe Ban Mi, Changwat Lop Buri
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขาม เพื่อทราบถึงพัฒนาการทางวัฒนธรรมของชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขาม โดยทำการสำรวจแหล่งโบราณคดีที่กระจายตัวอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำบางขาม ในบริเวณใกล้เคียงและได้ทำการขุดตรวจในบริเวณชุมชนโบราณวังไผ่ ตำบลบางพึ่ง อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เพื่อศึกษาชั้นวัฒนธรรม พัฒนาการของชุมชนตลอดจนความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณแห่งนี้กับชุมชนโบราณร่วมสมัย ในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขามและชุมชนโบราณในพื้นที่ใกล้เคียง ขั้นตอนการปฏิบัติทำการศึกษา เปรียบเทียบ วิเคราะห์ ข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีทุกประเภท ได้แก่ รายงานการสำรวจแหล่งโบราณคดีในบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขาม โบราณสถาน โบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ รวมถึงทำการขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติมที่ชุมชนโบราณวังไผ่
ผลการวิจัยพบว่าบริเวณลุ่มแม่น้ำบางขามนั้น ปรากฏร่องรอยการอยู่อาศัย 4 ระยะ คือ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคหินกลาง อายุประมาณ 10,000 – 5,000 ปีมาแล้ว) ปรากฏหลักฐานเล็กน้อยที่แสดงถึงร่องรอยการอยู่อาศัยบริเวณถ้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาหินปูน กลุ่มคนในสมัยนี้เป็นกลุ่มชนขนาดเล็ก ใช้เครื่องมือหิน กะเทาะ เครื่องมือปลายแหลมขนาดเล็ก และเครื่องมือสะเก็ดหิน ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ หาของป่า
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคโลหะ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 – 11) ปรากฏการอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนจากภูมิภาคใกล้เคียงเข้ามาตั้งถิ่นฐานเนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ชุมชนเริ่มมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนใกล้เคียงพร้อมกับการติดต่อกับต่างชาติโดยการเข้ามาค้าขายของพ่อค้าจากดินแดนแถบเอเชียใต้
สมัยทวารวดี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 15) การติดต่อกับต่างชาติทำให้มีการรับวัฒนธรรมภายนอกเข้ามาปรับเข้ากับความเชื่อท้องถิ่นเกิดเป็นวัฒนธรรมทวารวดีที่เจริญขึ้นในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ต่อมาได้เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชนโบราณในแถบลุ่มแม่น้ำบางขามตลอดจนชุมชนโบราณใกล้เคียง
สมัยลพบุรี (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15-18) เป็นระยะเวลาที่อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรจากประเทศกัมพูชาได้แพร่เข้ามามีอิทธิพลต่อชุมชนโบราณในแถบนี้ The purpose of this research is to study the cultural development of ancient communities along the Bangkham River, by studying Wang – phai ancient community, Tambon Bangpueng, Amphoe Ban Mi, Changwat Lop Buri. Which is the unique archaeological site, surrounded by moat and rampart. Studied relationship between other comtemporary ancient communities and nearby regions. The methods of research were to compare and analysed all archaeological datas such as, the exploration reports of archaeological sites along the Bangkham river, ancient monuments archaeological objects and excavated at Wang – phai.
The result of the study were found that the trace of settlement 4 phases.
Prehistory period (Mesolithic age about 10,000 – 5,000 B.P) the trace found in a limestone cave. The small group used stone tools, flake tolls for hunting and providing food.
Prehistory period (Mesolithic age about Buddhist era 6 – 11), found the migration of people from nearby area to settle down, the relationship between communities and trade with foreigner from South Asia.
Dvaravati period (about Buddhist era 11 – 15) , the people received exotic culture, adapted with local culture then created Dvaravati culture in central region of Thailand and expanded to nearby ancient communities.
Lop Buri period (about Buddhist era 15 – 18), Khmere culture was influence in central region of Thailand expectially Lopburi. In Bandkham riverine ancient communities, Wang – phai became pottery and distributed to nearly area.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.A. (Historical Archaeology))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
361