ความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีกับชุมชนภายนอกในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 18

Other Title:
The relationship between archaeological sites in Lop Buri province and outside communities prior to the 13th century A.D.
Author:
Subject:
Date:
2001
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีกับชุมชนโบราณในภูมิภาคอื่นและต่างชาติ โดยทำการศึกษาแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดลพบุรีด้วยกันทั้งสิ้น 27 แหล่ง เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีกับชุมชนโบราณร่วมสมัย โดยทำการศึกษาเปรียบเทียบ วิเคราะห์ ตีความ ข้อมูลหลักฐานทุกประเภท ได้แก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุประเภทต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจ การขุดแต่ง และขุดค้นทางโบราณคดีตามแหล่งโบราณคดีในเขตจังหวัดลพบุรี ตลอดจนศึกษาแหล่งโบราณคดีร่วมสมัยในบริเวณภูมิภาคต่าง ๆ ที่ได้มีการศึกษาไว้แล้ว
ผลการวิจัย สามารถแบ่งความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีออกเป็น 3 สมัยคือ 1) สมัยหัวเลี้ยวหัวต่อประวัติศาสตร์ (พุทธศตวรรษที่ 5-10) พบว่าชุมชนโบราณในเขตลพบุรีช่วงนี้มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศอินเดีย เวียดนาม และชุมชนโบราณภายในภูมิภาค
2) สมัยวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) พบว่าชุมชนโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนในวัฒนธรรมทวารวดีตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย โดยมีลักษณะร่วมกันทางวัฒนธรรม นอกจากนั้นพบว่ามีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศอินเดีย จีนและเขมร
3) สมัยวัฒนธรรมร่วมแบบเขมร (ก่อนพุทธศตวรรษที่ 18) พบว่าความสัมพันธ์ของชุมชนโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีในช่วงเวลานี้ มีแนวโน้มว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งหรืออยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเขมร นอกจากนั้นแล้ว ยังพบว่ามีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศจีนและชุมชนวัฒนธรรมร่วมแบบเขมรในประเทศไทยด้วยเช่นกัน The purpose of this research is to study to the relationship of ancient communities in Lop Buri province with other communities and foreign countries. The study is made by Excavation reports and surveys the archaeological sites and architectures in Lop Buri province about 27 sites, comparing with other communities, interpreting and analyzing from artifacts.
The results of the study led to the conclusion that the ancient communities in Lop Buri province had concerned with other communities, local and foreign. It can be divided into 3 periods. The first phase is in proto-historical period (1th – 5th A.D.). The communities had relationship with India and local communities. The second phase in in Dvaravati culture period (6th – 11th century A.D.). In this period they had strong relationship with India, China, Vietnam and Khmer and also with local communities. And the last phase shows the connection and influence of Khmer and had relationship with China and local communities.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544 Thesis (M.A. (Historical Archaeology))--Silpakorn University, 2001
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
196