ประเพณีการฝังศพของชุมชนโบราณในลุ่มแม่น้ำชี : กรณีศึกษาชุมชนโบราณเมืองฟ้าแดดสงยาง

Other Title:
The disposal of the death in the Chi Valley : a case study of the ancient community at Muang Fa Daed Sogn Yang
Date:
1993
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ที่ราบลุ่มแม่น้ำชีตอนกลาง โดยมีแม่น้ำชี ลำน้ำปาวไหลผ่านเมืองทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของเมือง ซึ่งมีพื้นที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยเป็นอย่างมาก ปัจจุบันร่องรองชองเมืองโบราณฟ้าแดดสงยางอยู่ในเขตบ้างเสมา ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
ผลจากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ได้พบร่องรอยของการอยู่อาศัยของชุมชนที่เมืองโบราณนี้อย่างต่อเนื่องทุกยุค ทุกสมัย คือตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายจนถึงสมัยอยุธยา ชุนชนโบราณแห่งนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจ อันได้แก่ กิจกรรมเนื่องในศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ ซึ่งมีบทบาทและมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชุมชน ชุมชนเมืองโบราณแห่งนี้ได้มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนในภูมิภาคอื่น ๆ ได้นำและรับเอาวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมผสานกลมกลืนกับวัฒนธรรมของตน คือการรับเอาวัฒนธรรมจากพระพุทธศาสนา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากวัฒนธรรมการปลงศพ
วัฒนธรรมการปลงศพของชุมชนโบราณทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคอื่น ๆ นอกจากจะมีวิธีการปลงศพหลายรูปแบบแล้ว วัฒนธรรมการปลงศพของชุมชนโบราณในภูมิภาคอื่น ๆ ยังให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของชุมชน อันได้แก่กิจกรรมเนื่องด้วย เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศาสนา ประเพณีวัฒนธรรมและความเชื่อซึ่งเป็นกิจกรรมอันควรแก่การศึกษา
ประเพณีการทำศพของชุมชนโบราณหลาย ๆ ชุมชน ศึกษาได้จากหลักฐานที่ได้จากการดำเนินงานทางโบราณคดีและจากเอกสารต่าง ๆ ที่มีการจดบันทึกเอาไว้ แล้วนำมาเปรียบเทียบประเพณีการทำศพของแต่ละชุมชน ซึ่งอาจจะได้เห็นถึงความคล้ายกันหรือความแตกต่างกันได้ เช่นการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการปลงศพของชุมชนโบราณเมืองฟ้าแดดสงยางกับชุนชนโบราณใกล้เคียงและในภูมิภาคอื่น ๆ เป็นต้น The ancient town, Muang Fa Dacd Song Yang was located at the middle of Chi plain where rivers Chi and Lum Nam Pow passed through north and south which was suitable for settlement. At present the relies of this ancient town are found to be al, the boundary of Barn Sac Ma, Tambon Nong Pan, Ampher Kamalasai, Kalasin.
The archaeological findings of these relics have shown the habitation and settlement of ancient people since the end of prehistorical period up to Ayudtaya period. These ancient people were involved in religion activities especially Buddhism which played an important role in their lives. They also communicated with people in other regions and brought in culture integrate with their own culture. The prominent activity was “Disposal”.
The “Disposal” of ancient Thais and other regions could be done in difference way. This culture rise to other elements such as econmic, social, politic, religion, tradition and belief which are essential for study.
The culture of “disposal” of various regions can be found from the records of archaeological studies and other documents. The comparison of “disposal” showed similarity as well as difference eg. The culture of Muang Fa Daed Song Yang and other ancient region nearby.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติสาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
139