ชีวิตชาวบ้านในจิตรกรรมฝาผนังจังหวัดสระบุรี

Other Title:
A study on village life depicted on the mural painting at Saraburi Province
Date:
1986
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านรวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีและสภาพแวดล้อมของเมืองสระบุรี ที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถของวัดสี่แห่งได้แก่ วัดจันทบุรี วัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ วัดหนองยางสูง และวัดหนองโนเหนือ อำเภอเมืองสระบุรี ด้วยการศึกษาจากภาพถ่ายแล้วนำไปเปรียบเทียบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้จากพระราชพงศาวดาร พระรัชหัตถเลขา บันทึกหรือจดหมายเหตุสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 ตลอดจนการสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าอาวาสวัดและท่านผู้สูงอายุ เป็นต้น โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บทตามลำดับดังนี้ บทนำ ประวัติของเมืองสระบุรี ลักษณะการดำเนินชีวิตของชาวบ้านในอดีตที่เกี่ยวข้องหรือพาดพิงถึงชาวเมืองสระบุรี สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านที่ปรากฏในจิตรกรรมฝาผนัง การสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ ซึ่งผลของการวิจัยสรุปได้ว่า ชาวบ้านคือชาวเมืองสระบุรีในสมัยนั้นส่วนใหญ่เป็นคนไทยพื้นบ้าน นอกนั้นเป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ คนไทยเชื้อสายไทยยวนซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเชียงแสนเมื่อประมาณปลายสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และปัจจุบันชาวไทยยวนในจังหวัดสระบุรียังคงรักษาวัฒนธรรมของตนเองไว้บ้างโดยเฉพาะภาษาพูดและประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีแห่บ้องไฟ การนับถือฝีบรรพบุรุษ เป็นต้น เชื้อสายลาวซึ่งถูกกวาดต้อนมาจากเวียงจันทน์และหัวเมืองต่าง ๆ ตามฝั่งแม่น้ำโขงฟากตะวันออกเมื่อคราวศึกเจ้าอนุวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ชาวจีนและกะเหรี่ยง อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดก็อาศัยอยู่รวมกันฉันเครือญาติ เป็นสังคมขนาดเล็กแบบหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก พระสงฆ์เป็นบุคคลที่ได้รับการเคารพนับถือมากในสังคม วัดในหมู่บ้านจึงกลายเป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคี เป็นที่พบปะของชุมชนเป็นแหล่งความรู้ตลอดจนแหล่งให้ความบันเทิงในคราวเทศกาลงานบุญต่าง ๆ จะเห็นว่าชีวิตของชาวบ้านสมัยก่อนไม่แก่งแย่งกันเหมือนสมัยนี้ เนื่องจากทุกอย่างขึ้นอยู่กับธรรมชาติและทรัพยากรที่ใช้อุปโภคและบริโภคนั้นก็อุดมสมบูรณ์มาก จึงทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันดูเรียบง่ายและมีความสุข The purpose of this research was to study on village life, which depicted on the mural paintings at Saraburi province inside the ordination halls of four temples ; Wat Chantaburi and Wat Samuha Pradittharam in Sao-Hai district, Wat Hnongyaosung and Wat Hnongnonue in Muang district, by study the mural paintings and compare with historical evidents from other documents such as, chonicles, the royal letters and by interview the abbots and some senior villagers, etc. In this research has five chapters. Each chapter focus on following articles ; introduction, history of Saraburi province, villagers lives in the past concerning with environment, research of knowledges existed in mural painting an the conclusion with some recommendation. The result of this research is an important article about the villager groups in Saraburi at that time and most of them were Thai. Besides, there wete some minority groups also living there such as, “Thaiyaun” whose ancestors were emigrated from Chiengsaen, the city in the northern past of Thailand to Saraburi at the transitional period between the reign of King Taksin and King Rama the first, “Loas-Vieng” whose ancestors were emigrated from Loas in the reign of King Rama the third, Chainese and a hill tribe, Karieng. However, all of them lived together close relation. Their main occupation was agriculture especially, rice farming. Monk was the most respectful in the society. So, the temples became the center for many activities such as, religious celebration, learning, meeting, entertainments, etc. These paintings depicted of those villagers who lived at that time, were depended on nature and had no competition like today life because they had natural resources for consumption excessively. Therefore, their daily lives were simple and happy.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
94