วัฒนธรรมองค์การตามการรับรู้และทัศนคติในการใช้ภาษาอังกฤษของพนักงานสาขา บมจ. ธนาคารกรุงไทยสังกัดสำนักงานเขตสวนมะลิ

ชื่อเรื่องอื่น:
Organizational culture and attitudes towards the use of english in the perceptions of Krungthai bank service officers at Suanmali district office
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2013
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและทัศนคติการใช้ภาษาอังกฤษชองพนักงานสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทยสังกัดสำนักงานเขตสวนมะลิ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ศึกษาได้แก่ ระดับการศึกษาและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สมมติฐานในการวิจัยคือ พนักงานสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทย สังกัดสำนักงานเขตสวนมะลิที่มี ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันจะมีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและทัศนคติในการใช้ภาษาอังกฤษแตกต่างกันทุกข้อ กรอบแนวคิดในการวิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีของ Greet Hofstede (1995 : 79) ศึกษาในประเด็นการรับรู้วัฒนธรรมองค์การ ส่วนการศึกษาทัศนคติการใช้ภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ด้านความคิดและพฤติกรรม โดยเก็บข้อมูลจากพนักงาน จำนวน 187 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามดัดแปลงจากทฤษฎีของ Greet Hofstede สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าสถิติร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ค่า t-test, ค่า F-test, โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล SPSS ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการศึกษาไม่มีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทยสำนักงานเขตสวรมะลิ 2. ระยะเวลาในการปฏิบัติงานมีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์การของพนักงานสาขา บมจ.ธนาคารกรุงไทยสังกัดสำนักงานเขตสวนมะลิ การรับรู้วัฒนธรรมองค์การโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.90 มีการรับรู้วัฒนธรรมองค์การมิติที่ 4 ความเป็นชายและความเป็นหญิงมากที่สุด ทัศนคติการใช้ภาษาอังกฤษในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีทัศนคติการใช้ภาษาอังกฤษโดยรวมในระดับเห็นด้วยค่าเฉลี่ย 4.41 This study investigated characteristics of organizational culture and attitudes towards the use of English in the perceptions of Krungthai bank service officiers at Suanmali district office. Individual factors including educational levels and work experiences were investigated for the influences on their perceptions about organizational culture and attitudes towards the use of English. It was hypothesized that Krungthai bank service officers at Suanmali district office with different educational levels and work experiences had different views on cultural values and attitudes towards the use of English.
Cultural identification analyzed in this study was based on Hofstede’s theory. The respondents were 187. The research instrument was a questionnaire adapted from Hofstede’s theory. The statistics applied in the data analysis were percentage standard deviation, t-test and F-test calculated using the statistical package SPSS/PC. The results indicated that respondents with different level of education displayed no difference in views on cultural dimensions and respondents with different work experience displayed differences in views on cultural dimension. The perceptions about organizational culture of Krungthai bank service officers at Suanmali district office were in average (3.90). They perceived Masculinity and Femininity in cultural dimensions most and their attitudes towards the use of English were positive (4.41).
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
845
Metadata
แสดงรายการชิ้นงานแบบเต็มRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
อิทธิพลของการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อการใช้บริการผ่านคุณภาพการให้บริการของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
คอลเลคชัน: วิทยานิพนธ์ประเภทผลงาน: Thesisญรัญรัตน์ มณฑีรรัตน์; Yaranrat Monteerarat (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
ความสัมพันธ์ด้านการรับรู้ภาพลักษณ์ธนาคารและความภักดีของลูกค้า ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
คอลเลคชัน: วิทยานิพนธ์ประเภทผลงาน: Thesisศิวพร ทองปุสสะ; Sivaporn Thongpussa (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013) -
ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด ‪(มหาชน)‬ ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
คอลเลคชัน: วิทยานิพนธ์ประเภทผลงาน: Thesisสุชาดา บัวทองสุข; Suchada Buathongsuk (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010)