การศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการขอโทษระหว่างผู้เรียนภาษาไทยชาวอังกฤษกับเจ้าของภาษา

Other Title:
A comparative study of apologizing strategies in thai between english learners and native speakers
Author:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการขอโทษระหว่างผู้เรียนภาษาไทยชาวอังกฤษกับเจ้าของภาษาชาวไทย การเก็บข้อมูลทำโดยการให้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน ทำแบบทดสอบชนิดเต็มเติมบทสนทนา (Discourse Completion Test : DCT) โดยการเขียนตอบการขอโทษในสถานการณ์ต่าง ๆ รวม 12 สถานการณ์ โดยแต่ละสถานการณ์ได้กำหนดตัวแปรทางสังคม จำนวน 2 ตัวแปร คือ ปัจจัยด้านอำนาจ และความรุนแรงของเนื้อหา ข้อมูลที่ได้จากแบบทดสอบถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อรวบรวมกลวิธีการขอโทษของทั้งสองกลุ่มตัวอย่าง และนำมาศึกษาเปรียบเทียบกลวิธีการขอโทษระหว่างผู้เรียนภาษาไทยชาวอังกฤษกับเจ้าของภาษา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองมีการใช้กลวิธีการขอโทษที่คล้ายคลึงกัน โดยทั้งสองกลุ่มใช้กลวิธีการขอโทษทั้ง 5 กลวิธีที่ได้กำหนดไว้ในกรอบการศึกษากลุ่มตัวอย่างเจ้าของภาษามีการใช้กลวิธีการกล่าวคำแสดงเจตนาในการขอโทษมากที่สุด รองลงมาคือ การพยายามทำให้ผู้ฟังรู้สึกพอใจ การกล่าวแก้ตัว การยอมรับผิด และการเสนอชดใช้ เรียงตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่าง ผู้เรียนภาษาไทยชาวอังกฤษ มีการใช้กลวิธีการกล่าวคำแสดงเจตนาในการขอโทษมากที่สุด รองลงมาคือ การพยายามทำให้ผู้ฟังรู้สึกพอใจ และการกล่าวแก้ตัว การยอมรับผิด และการเสนอชดใช้ ส่วนผลการศึกษาเปรียบเทียบการใช้กลวิธีการขอโทษแยกตามตัวแปรทางสังคม พบความแตกต่างในด้านการใช้รูปแบบการขอโทษ โดยกลุ่มตัวอย่างเจ้าของภาษาใช้กลวิธีการขอโทษที่ซับซ้อนมากกว่ากลุ่มตัวอย่างชาวอังกฤษ The objective of this study is to compare Thai apologizing strategies used by English learners and native speakers. A total of 8 participants filled their apologizing expressions in a discourse completion test (DCT). The 12-item test included two social variables – relative power and heavily weighted offenses. The data collected was analyzed using content analysis technique to find the participants’ common answers for comparative apologizing strategies.
The finding indicated that both Thai and English participants employed similar Thai apologizing strategies. Among the five strategies in the research framework, explicit expression of apology is found to be the most predominantly used strategy, followed by ; admitting the offense, giving excuse, offering reparation, and efforts to satisfy respectively. Regarding the analysis of apologizing strategies in relation to social variables, the finding reveals that native speakers employed more complex apologizing strategies than English participants.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
245