กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ตลกอเมริกันเป็นภาษาไทย

Other Title:
Translating American comedy film titles into Thai : strategies and analysis
Author:
Subject:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ตลกอเมริกันเป็นภาษาไทย โดยวิเคราะห์ชื่อภาพยนตร์ตลกอเมริกันจำนวน 98 เรื่อง ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไทยระหว่างปี พ.ศ. 2551-2553 ใช้ทฤษฎีสโคโปส (Skopos Theory) และเพิ่มเติมเงื่อนไขเกี่ยวกับการแปลโดยอ้างอิงจากงานวิจัย การแปลชื่อภาพยนตร์ต่างประเทศแนวสยองขวัญ ของเบญจรัตน์ วิทยาเทพ (2550) และถ่ายทอดสารจากชื่อภาพยนตร์ภาษาอังกฤษของภาพยนตร์อเมริกันเป็นภาษาไทย ของ ธีรารัตน์ บุญกองแสน (2543) ในการวิเคราะห์ และทำการเก็บแบบสอบถามผู้ชมภาพยนตร์จำนวน 100 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 5 คน เพื่อนำมาใช้ประกอบในการศึกษาครั้งนี้
ผลวิจัยพบว่า ผู้แปลใช้กลวิธีในการแปล 10 วิธีด้วยกัน ดังนี้ 1) การแปลโดย ทับศัพท์ทั้งหมดไม่มีเสริมความภาษาไทย 2) การแปลโดยทับศัพท์ทั้งหมดและเสริมความภาษาไทย 3) การแปลโดยทับศัพท์บางส่วน และเสริมความภาษาไทย 4) การแปลโดยทับศัพท์บางส่วน และไม่เสริมความภาษาไทย 5) การแปลตรงตัวทั้งข้อความ ไมมีเสริมความภาษาไทย 6) การแปล ตรงตัวทั้งข้อความและเสริมความภาษาไทย 7) การแปลบางส่วนและเสริมความภาษาไทย 8) การแปลบางส่วน ทับศัพท์บางส่วน และเสริมความภาษาไทย 9) ตั้งชื่อใหม่โดยไม่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิม 10) ตั้งชื่อใหม่โดยใช้คำที่มีเค้าความหมายเดิม
กลวิธีที่ผู้แปลนิยมใช้มากที่สุดคือ กลวิธีการแปลโดยตั้งชื่อใหม่โดยไม่เกี่ยวข้องกับชื่อเดิม ซึ่งผลดังกล่าวไม่สอดคล้องกับผลจากการสำรวจแบบสอบถามที่พบว่า ชื่อแปลภาพยนตร์ตลกอเมริกันที่แปลโดยกลวิธีการแปลแบบแปลตรงตัวทั้งข้อความและขยายความด้วยภาษาไทยเป็นกลวิธีการแปลชื่อภาพยนตร์ที่มีการถ่ายทอดความหมาย สื่อความหมายเนื้อเรื่อง และชวนให้น่าติดตามมากที่สุด The objectives of this study are to analyze naming strategies of American Comedy Film Titles in Thai Languages. Ninety-Eight American comedy films screens during 2009-2011 were analyzed, basing on the translation theory by Skopos (1977). More techniques of Benjarat Vittayathep (2010) and Thirarath Boonkongsean (2000) are applicable to the analysis as well.
The analysis was divided into two parts. In the first part, the researcher focused on the classification of each title by identifying and explaining the main translation technique employed. It was found that ten main strategies were applied, namely, 1) renaming by theme-based translation without repeating of words in original titles, 2) unduly free translation, 3) transliteration of the original English titles with addition of sub-titles, 4) transliteration of the original English titles without addition of sub-titles, 5) partial transliteration of the original English title with addition of sub-titles, 6) partial transliteration of the original English title without addition of sub-titles, 7) partial direct transliteration and partial transliteration of the original English title with additional meaning in Thai language, 8) word-by word translation, 9) direct translation from English title with addition of titles and 10) partial translation from English titles with addition of titles.
In the second part, 10 titles are selected to be outstanding examples of each technique and are then presented in questionnaires which were distributed to 100 respondents in order to find out the technique(s) that can attract readers the most and five respondents were interviewed to obtain more data for the study.
The completed questionnaires revealed more in-depth finding than expected. Renaming by theme-based translation without repeating of words in original title, partial direct translation of original titles with additional meaning in Thai language, and transliteration of original English titles with addition of titles are the most frequently used techniques in title translation while the most impressive title, according to the respondents, was one that used the direct translation from English titles with addition of the titles.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Collections:
Total Download:
5350