คตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยอยุธยา

Other Title:
The main concept leading to the prevalence of the Buddha in the royal attire in Ayuttaya period
Author:
Date:
1989
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลปะอินเดีย ราวพุทธศตวรรษที่ 14 ด้วยการเติมเครื่องทรงของกษัตริย์บางชิ้นให้กับพระพุทธรูป ตามคติพุทธศาสนามหายานที่ถือว่า พระพุทธเจ้าทรงอยู่ในสภาวะเหนือมนุษย์ และทรงเป็นจักรวาทิน จากคติและรูปแบบดังกล่าว ได้แพร่หลายไปยังดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2 กระแส คือ กระแสที่ 1 ไปยังดินแดนพม่า เข้าสู่ดินแดนภาคเหนือของไทย ที่อาณาจักรล้านนา และกระแสที่ 2 ผ่านไปทางอาณาจักรเขมร เข้าสู่ดินแดนประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคติและรูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องอยุธยา แบ่งออกได้เป็น 3 สมัยคือ
1. สมัยอยุธยาตอนต้น ในช่วงนี้เชื่อกันว่าการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง อาจแบ่งออกได้ 2 ระดับ คือ ในระดับพระมหากษัตริย์ได้รับอิทธิพลมาจากคติเทวราชาของเขมรโดยตรงที่ถ่ายทอดมาสู่ราชสำนักไทย จากการที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 โปรดให้ขุนหลวงพะงั่วไปตีเขมรและกวาดต้อนผู้คนรวมทั้งช่างฝีมือมายังกรุงศรีอยุธยาทางหนึ่ง และอีกทางหนึ่งในระดับสามัญชนที่มีพื้นฐานความเชื่อทางไสยศาสตร์แฝงอยู่ในความเชื่อทางพุทธศาสนา ปะปนกับคติความเชื่อที่คล้ายคลึงกันจากทางเหนือ ก่อให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องขึ้น รูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องที่ปรากฏในสมัยนี้ก็เป็นการรับรูปแบบเครื่องทรงมาจากศิลปะเขมร
2. สมัยอยุธยาตอนกลาง ลัทธิเทวราชา หรือพุทธราชาเริ่มเสื่อมลง คตินิยมการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในช่วงนี้ ในระดับพระมหากษัตริย์เป็นการจำลองรูปพระมหากษัตริย์ตามคติธรรมราชา ซึ่งได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธลัทธิลังกาวงศ์ ว่าพระมหากษัตริย์ที่ประพฤติธรรมจะได้รับการยกย่องเป็นจักรวาทิน มีฐานะเท่ากับพระพุทธเจ้า ในระดับประชาชนความเชื่อเรื่องพระศรีอาริยเมตไตรยและพระยาชมภูบดีมีความสำคัญอยู่ทั่วไป ในสมัยนี้นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องกันอย่างแพร่หลายมาก เครื่องทรงจะมีวิวัฒนาการเพิ่มมากขึ้น
3. สมัยอยุธยาตอนปลาย คติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง ยังคงมีการผสมผสานกันระหว่างลัทธิเทวราชา ซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงพยายามที่จะฟื้นฟูขึ้นใหม่ เพื่อแสดงฐานะของกษัตริย์ให้สูงส่งยิ่งขึ้น ประกอบกับความเชื่อในไสยศาสตร์และความเชื่อเรื่องพระศรีอาริย์ ซึ่งยังคงมีบทบาทอยู่ในความคิดของบรรดาประชาชนทั่วไป รูปแบบของพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยนี้จะสวมเครื่องทรงตามแบบกษัตริย์ จนดูเหมือนเป็นรูปฉลองพระองค์ของพระมหากษัตริย์อย่างชัดเจน
กล่าวได้ว่า การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัยอยุธยา เกิดจากการผสมผสานกับของความเชื่อในคติเทวราชาที่ได้รับมาจากเขมรของพระมหากษัตริย์ ประกอบกับความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ตำนานชมภูบดีและความเชื่อในความสำคัญของพระศรีอาริย์ของสามัญชนนั่นเอง The Buddha in the Royal Attire firstly appeared in 14 BC. In India Arts by adorning some ornaments on the Buddha image, according to the concept of Mahayanna Buddhist which believe in the transcendent Buddha and Chakravation. This concept and form of Buddha image expanded to Southeast Asia for 2 ways : First, passed Burma to the North of Thailand in Lanna period and Second, came through Khmer Empire into the Northeast of Thailand.
From this study we can divide the concept and form of the Buddha in the Royal attire into 3 periods ;
1. Early Ayutthaya Period : In the case of the adorned Buddha built by Kings, it was believed that the Buddha in the Royal Attire was directly occurred from the Khmer influence. Khmer Empire was invaded in the reign of King Ramatibbadi I and forcibly moved people including skilled person to Ayutthaya. For normal people, according to the basic belief of superstitions, mixed up with the similar idea from the North, the Buddha in the Royal Attire appeared. Its form is also the same as Khmer Form.
2. Middle Ayutthaya period : The Devaraja Culture decayed and replaced by Dhamaraja from Theravade Buddhist. It is believed that King, who is purely practice, will become Chakravatin (the same condition as the Lord Buddha). For normal people, the believes of Sri Arayametri Buddha and Jumpubati are popular. The Royal Attire image were popular built in this period and more ornaments were put on.
3. Late Ayutthaya period : This period, the belief of Devaraja cult which King Prasartong tried to resuscitate, are raised up and the believes of Sri Arayametri Buddha and Jumpubati continued among low level of people. Form of the Buddha image would be more ornamented and represented the King statue.
It is obviously that the Buddha in the Royal Attire in Aytthaya period was built according to the concept of Devavaja together with the believes based on superstitions such as the story of Jumputati and Sri Arayametri Buddha.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1989)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
333