การศึกษาอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์บนเกาะเมืองอยุธยา ระหว่าง พ.ศ. 1893-2310 (1350-1767 A.D.)

Other Title:
A study of Bhramanical influence on Ayutthaya City during 1350-1767 A.D.
Author:
Date:
1991
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาประวัติศาสนาพราหมณ์ในประเทศไทยในสมัยอยุธยา เพื่อศึกษาอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรม
จากเอกสารจำนวนมากได้กล่าวถึงพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา ได้กระทำพระราชพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาพราหมณ์ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีวางศิลาฤกษ์เพื่อก่อสร้างอาคาร พระราชพิธีตรียัมปวายและตรีปวาย เพื่อบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู (พราหมณ์)
อิทธิพลทางด้านศิลปกรรมจัดแบ่งเทวสถานออกเป็น 2 รูปแบบดังต่อไปนี้
1. รูปแบบโบสถ์พราหมณ์ (ฮินดู) เทวสถานรูปแบบนี้ ยังปรากฏให้เห็นได้ในบริเวณวัดวรเชษฐาราม ในตัวเมืองอยุธยานั่นเอง มีศิวลึงค์ประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีเทวสถานขนาดเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วเกาะเมืองอยุธยา ประดิษฐานเทพเจ้าในศาสนาฮินดู (พราหมณ์) ไว้ภายใน (พระพรหม, พระนารายณ์, และศิวลึงค์)
2. รูปแบบเทวสถานปรางค์ เทวสถานแบบนี้เลียนแบบมาจากเทวสถานของฮินดู (พราหมณ์) แต่เป็นพระปรางค์ในพุทธศาสนา ไม่ใช่ของศาสนาพราหมณ์(ฮินดู) พระปรางค์จะต่างไปจากเทวสถานของฮินดู(พราหมณ์) เพราะเป็นพระปรางค์ที่มียอดสูงกว่าเทวสถานปรางค์ของศาสนาฮินดู(พราหมณ์)
ซากเทวสถานเนื่องในศาสนาฉินดู(พราหมณ์) ได้ค้นพบในตัวเมืองอยุธยาจำนวนมาก ส่วนรูปปั้นทางศาสนาฮินดู(พราหมณ์) ก็พบมากมายเช่นเดียวกัน เช่น ครุฑ, สิงห์, และนาค, ฯลฯ เป็นต้น รูปปั้นเหล่านี้ได้ตั้งแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจันทร์เกษม ส่วนรูปปั้นขนาดใหญ่นั้น อยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา อันได้แก่รูปปั้นที่ทำด้วยสำริด(บรอนซ์), ทองคำ, ดินเผาชนิดเทอรร่าคอตต้ามีรูปปั้นของ ครุฑ, สิงห์, ช้าง, นาค, ห่าน,(หงส์) ซึ่งเป็นสัตว์เนื่องในศาสนาฮินดู(พราหมณ์)ทั้งสิ้น อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นศิริมงคล ล้วนปรากฏในตัวเมืองอยุธยาทั้งสิ้น หลักฐานที่สำคัญมากที่สุดอีกชนิดหนึ่งก็คือ รูปปั้นสำริด(บรอนซ์) ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจันทร์เกษม(พระอิศวร) เชื่อว่ารูปปั้นนี้ได้ใช้ในพระราชพิธีตรีมยัมปวายในสมัยอยุธยามาก่อนแล้ว The purpose of this Research in meant to study the in story of Brahmnism in Thailand during the Ayutthaya period, to study the influence of Brahmnism on art and culture,
It is mentioned in many documents that the Ayutthaya kings had performed Brahmnical ceremonies e.g. Plaughing ceremony, laying the stone foundation, triyampavai or tripavai to worship Hindu Gods.
Regarding artistic influence, two types of buildings should be mentioned here :
1. The typical Hindu temple. This type of building is situated atm Wat Vorachettaram within the area of Ayutthaya city. Sivalinga is installed inside this temple. There are also evidence of small temple of this type scattering at Ayutthaya city. Statuettes of Hindu gods (Brahma, Vishnu and Siva-linga) still existeb some of these temples.
2. The Prang. This type of building is derived from the Hindu temple. But it is meant for Buddhism not for Brahmnism. The Prang is differed from the Hindu temple as it has its upper-building taller and more tapering than the typical Hindu temple.
Besides architectural remains, a number of Brahmnical objects have been discovered at Ayutthaya city. Figerines of Garuda, Singha, and Naga are on display at chankasem National Museum. A large number of Brahmnical objects have been preserved at the Chao Samphraya National Museum. Bronze, gold, and terracotta figurines of Garuda, Singha, elephant, Maga, Hanisa, (swan) regarded by the Hindus as the auspicious symbols, have been encountered at Ayutthaya city. The most important evidence is the bronze statue of Siva at the Chankasem National Museum. This statuette is belived to have taken part in the Triyampavai ceremony during the Ayutthaya period.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1991)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
218