การศึกษาแหล่งโบราณคดีที่วัดสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอโคกปีบ จังหวัดปราจีนบุรี

Other Title:
A Study on the archaeological site at Wat Sramorakot Tambon Khokthai Amphoe Khok Pip Changwat Prachin Buri
Author:
Date:
1988
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาอายุและลำดับสมัยทางวัฒนธรรมรวมทั้งศึกษาสภาพความเป็นอยู่และเศรษฐกิจของชุมชนที่เคยตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในแหล่งโบราณคดีวัดสระมรกตในอดีต โดยศึกษาจากโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณที่อยู่อาศัยของชุมชนโบราณและบริเวณพื้นที่ระหว่างตัวอาคารโบราณสถานกับตัวสระมรกต ประกอบกับหลักฐานที่ปรากฏบนผิวดินก่อนหน้าการขุดแต่งและระหว่างการขุดแต่งโบราณสถานโดยหน่วยศิลปากรที่ 5 ในปี พ.ศ. 2514 พ.ศ. 2520-2521 และ พ.ศ. 2528-2531 รวมทั้งข้อมูลจากการขุดแต่งสระมรกตโดยภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ปี พ.ศ. 2530 เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่าชุมชนโบราณวัดสระมรกตมีความเป็นมาอย่างใด จะมีการอยู่อาศัยตั้งแต่ครั้งสร้างรอยพระบาทคู่ที่พบจากการขุดแต่งโบราณสถานเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2529 และได้รับการกำหนดอายุแตกต่างกันเป็น 2 สมัย โดยการเปรียบเทียบทางด้านศิลปะ คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 ร่วมสมัยศิลปะอมราวดีของอินเดีย หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 – 15 ร่วมสมัยศิลปะทวารวดีในประเทศไทยได้หรือไม่
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดค้นมีทั้งประเภทโลหะ ประเภทหิน ประเภทกระดูก และประเภทดินเผา โบราณวัตถุที่พบมาก ได้แก่ เศษภาชนะดินเผาทั้งชนิดไม่เคลือบผิวแบบพื้นเมืองและชนิดเคลือบผิวจากจีน เปอร์เซีย และแหล่งเตาเผาในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เศษภาชนะดินเผาดังกล่าวนอกจากสะท้อนให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ในอดีตในแง่มุมต่าง ๆ แล้วยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์กับชุมชนร่วมสมัยบริเวณใกล้เคียง บริเวณภาคเหนือและภาคอีสานของไทย ตลอดจนการติดต่อกับชาวต่างประเทศ คือจีนและเปอร์เซียด้วย
ผลจากการวิเคราะห์และตีความหลักฐานต่าง ๆ ตามลำดับชั้นดินทางโบราณคดีที่ได้จากการขุดค้นและขุดแต่งแหล่งโบราณคดีแห่งนี้พบว่าชุมชนโบราณวัดสระมรกตมีการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องกัน 2 สมัย 2 รูปแบบวัฒนธรรม โดยมีหลักฐานการอยู่อาศัยเก่าที่สุดตั้งแต่ต้นพุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ซึ่งตรงกับหลักฐานโบราณวัตถุอื่น ๆ ที่ได้จากการขุดแต่งและโดยเฉพาะศักราชที่ระบุในศิลาจารึกหลักที่ 56 ที่พบบริเวณนี้คือ พ.ศ. 1304 โดยมีรูปแบบทางวัฒนธรรมระยะแรกคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมทวารวดีที่ปรากฏในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 17-18 อิทธิพลวัฒนธรรมเขมรสมัยบายนของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงเปลี่ยนเข้ามาครอบงำอย่างเต็มที่ หลังจากนั้นชุมชนโบราณวัดสระมรกตก็เสื่อมสภาพลง เนื่องด้วยไม่พบหลักฐานสมัยต่อมาอีกเลยจาการขุดค้น Sra Morakot, an archaeological site where the Lord Buddha’s Footprints have been found has been dated back to the 6th century B.E. (Amaravati period of India) or the 13-15th century B.E. (Dvaravati period of Thailand).
The purpose of this thesis is to study about the archaeological evidences excavated from the habitation area of Sra Morakot ancient site in order to explain the habitation, cultural sequences, social and economical history of this ancient society. The information used in this research in obtained from the archaeological excavation, the materials from the renovation of ancient monuments and relevant documents.
The relics discovered from the excavation can be classified into 4 groups. According to their material. They are metal, stone, bone and pottery. Potsherds of unglazed wares are mostly found. Glazed wares from Northeast Thailand, China and Persia are also found. These materials can reveal different aspects of this society and its relationship with the other sites near around and Northeast Thailand as well as the sites oversea.
The result of this research indicates that this site was occupied atleast 2 periods starting from the beginning of the 14th century B.E. under the influence of Dvaravati style. Then, the second period was between the 17-18th century B.E. under the Khmer influence. These dates are supported by the date in the inscription and the materials uncovered from the ancient monument. None of material indicates the date later than the 19th century B.E.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (โบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531 Thesis (M.A. (Oriental epigraphy))--Silpakorn University, 1988)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์
Collections:
Total Download:
147